21988 : การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/2/2568 11:08:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/02/2568  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 5,040.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริกุล  ตุลาสมบัติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.7 จำนวนรายวิชาเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.7.1 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่สนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน หลักสูตรความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA68-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA68-G-2 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด BA68-KPI-10 จำนวนรายวิชาเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลยุทธ์ BA68-S-10 พัฒนาหลักสูตรทั้งระยะสั้นและระยะยาว ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA68-6 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ / อัตลักษณ์ / ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
เป้าประสงค์ BA68-G-15 มีการทำกิจกรรมร่วมกับศิษย์เก่า
ตัวชี้วัด BA68-KPI-41 ความสำเร็จในการทำกิจกรรมร่วมกับศิษย์เก่า
กลยุทธ์ BA68-S-35 สนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกับศิษย์เก่า
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

Lifelong learning หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ในยุคปัจจุบันเนื่องจากเราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างรอบตัวเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแบบรวดเร็ว ความรู้เดิมที่เราเคยมีหรือสิ่งที่เราเคยทำมา อาจจะไม่สามารถนำพาเราไปข้างหน้าได้อีกต่อไป คนที่จะสามารถก้าวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ จึงต้องเป็นคนที่มีนิสัยของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3R คือ Reading (อ่านออก), (W) Riting (เขียนได้), และ (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ - Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) - Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) - Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) - Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงาน เป็นทีม และภาวะผู้นำ) - Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) - Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร) - Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนให้ภาคการศึกษาพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และสามารถผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มุ่งมั่นส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งผลที่ได้รับนอกจากประสบการณ์ ทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพด้านต่าง ๆ ยังมีผลต่อตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร อีกทั้งยังสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนในหลาย ๆ วิชา ซึ่งในปีงบประมาณ 2568 สาขาวิชานวัตกรรมธุรกิจการตลาดและการตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงมีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 2 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตร ผู้ประกอบการเพื่อสังคม โดย อาจารย์ ดร.สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์ 2.หลักสูตร การเรียนรู้เพื่อทำ Marketing Infographic ทาง Online ด้วยตนเอง โดย อาจารย์อดิศร สิทธิเวช

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างและจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : หลักสูตรระยะสั้น เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 2 หลักสูตร
KPI 1 : จำนวนหลักสูตรระยะสั้น เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 หลักสูตร 2
KPI 2 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 4 : ระดับความสำเร็จในการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : หลักสูตรระยะสั้น เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 2 หลักสูตร
ชื่อกิจกรรม :
การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/02/2568 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริกุล  ตุลาสมบัติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 6 คน คนละ 30 บาท 4 ครั้ง 2 หลักสูตร เป็นเงิน 1,440 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 6 คน คนละ 150 บาท 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,040.00 บาท 0.00 บาท 5,040.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5040.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล