21930 : โครงการการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหม้อห้อมดับกลิ่น (แมวนำโชค น้องเหมียวมู)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/9/2567 13:48:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  31/03/2568
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน (ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.8 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.3 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.3 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 67-6.3.5 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-6.3.5.1 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและโลก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ผู้ขอยื่นบริการคูปองวิทย์ นางหทัยรัตน์ ขันแก้ว ปีที่ยื่น 2567 ยื่นทางออนไลน์ สถานะของผู้ยื่น ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ โดยวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ เลขที่ 137/1 หมู่ที่ 11 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีสมาชิกจำนวน 37 คน โดยมีนางหทัยรัตน์ ขันแก้ว เป็นประธานกลุ่มฯ ดำเนินการผลิตและแปรรูปสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น พวงกุญแจ ตุ๊กตาดับกลิ่น งานฝีมือต่าง ๆ และผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ เป็นต้น โดยสมาชิกทุกคนมีบทบาทในการร่วมกันกำหนด วิเคราะห์ วางแผนและดำเนินกิจกรรมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และมีการให้สมาชิกทุกคนได้มีการพัฒนาตนเอง โดยการอบรม ศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถ และนำกลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ ต่อไป โครงสร้างของกลุ่ม ประกอบด้วย 1. นางหทัยรัตน์ ขันแก้ว (ประธาน) 2. นางรัตนา ยุทธนา (รองประธาน) 3. นางสาวทิพย์ทัย สุภาแก้ว (เลขานุการ) 4. นางแสงเงิน ปัญญาดี (เหรัญญิก) 5. นางทองสุข พิมเสน (การตลาด) 6. นางศรีนวล อุ่นอารมณ์ (ประชาสัมพันธ์) 7. นางกรรณิการ์ กาญจนวัฒนพงษ์ (ประชาสัมพันธ์) 8. นางสาวเรณู นาระกันทา (ปฏิคม) 9. นางดุรณี แก้วดำ (กรรมการ) 10. นางจันทร์บาน จันทร์แก้ว (กรรมการ) 11. นางสาวตรี ดวงตาดำ (กรรมการ) 12. นางสาวอุสา ปัญญาดี (กรรมการ) ฝ่ายผลิต จำนวน 23 คน ฝ่ายธุรการ/บัญชี/ การเงิน จำนวน 2 คน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ 1. ผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ ราคา 3,900 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 24 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 93,600 บาท 2. ตุ๊กตาถ่านชาโคล ราคา 99 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 20 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,980 บาท 3. กระเป๋าย่าม ราคา 250 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 30 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 7,500 บาท 4. พวงกุญแจ (คละแบบ) ราคา 35 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 500 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 17,500 บาท 5. ต่างหูผ้า ราคา 35 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 30 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,050 บาท 6. ไม้กวาด ราคา 30 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 50 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,500 บาท 7. พรมเช็ดเท้าราคา 35 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 20 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 700 บาท 8. อื่น ๆ ราคา 35 บาท ปริมาณในการผลิตต่อปี 500 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อปีประมาณ 17,500 บาท โดยมีตลาดเป้าหมาย คือ ลูกค้าทั่วไป และแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คือ หน้าร้านชุมชนผลิตภัณฑ์ และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ และทางออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ค Lanna crafts ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ มาตรฐานที่ได้รับ คือ เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานเลขที่ มผช.412/2558 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากเศษผ้า ออกให้ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สิ้นอายุ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2568 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะทำการพัฒนาในโครงการนี้ คือ ผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหม้อห้อมดับกลิ่น (แมวนำโชค น้องเหมียวมู) ซึ่งผลิตมาจากเศษผ้า ดังนั้นมาตรฐาน มผช. ที่ได้รับจึงครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหม้อห้อมดับกลิ่น (แมวนำโชค น้องเหมียวมู) นี้ด้วย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาดับกลิ่นได้รับความนิยมและถือเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่ม แต่ปัจจุบันใช้สารเคมีในการย้อม ดังนั้นจึงต้องการนวัตกรรมการย้อมผ้าแบบธรรมชาติมาทดแทน เพื่อลดการใช้สารเคมี เพราะปัจจุบันกระแสการเติบโตของตลาดสีเขียว (Green Market) ส่งผลให้ตลาดผ้าย้อมสีธรรมชาติมีการเติบโต ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และมีความคิดที่จะผสมผสานความเชื่อเรื่องการนำโชค สายมูให้เป็นเอกลักษณ์พิเศษสำหรับเฉพาะบุคคลโดยการคำนวณวันเดือนปีเกิด และธาตุ ให้เกิดรูปทรงและลวดลายรวมถึงสีให้ตรงกับบุคคลนั้นนั้นเพื่อความเป็นมงคล กระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์และส่งเสริมใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งการย้อมผ้าจากสีที่ได้จากธรรมชาติถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า แต่กลับไม่ได้รับความสนใจหรือได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร การใช้สีย้อมจากธรรมชาติยังมีการใช้อยู่เพียงบางท้องถิ่น และนับวันยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิต เนื่องจากหันมาใช้สารเคมีซึ่งใช้ได้ง่าย และสะดวกกว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิปัญญาในการย้อมสีธรรมชาติอาจเกิดการสูญหายได้ การย้อมผ้าดังกล่าวต้องใช้เวลาในการย้อมหลายครั้งและ หลายวันกว่าจะได้สีที่ติดทน สวยงามตามจินตนาการ และยังต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ย้อมอีกด้วย แต่ปัจจุบันความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นกรรมวิธีดังกล่าวล่าช้าและไม่ทัน ต่อความต้องการของผู้ประกอบการหลาย ๆ รายได้หันมาใช้สารเคมีในการย้อมซึ่งทั้งถูกกว่าและสีติดดีกว่า รวมทั้งยังใช้เวลาน้อยกว่าหลายเท่าตัว แต่ผลเสีย คือ สีที่ใช้ เป็นสีเคมีย่อมมีพิษต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นธรรมชาติ และสุดท้ายภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมมาอาจสูญหาย หรือลางเลือนไป น้ำหมักของห้อมน่าจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถช่วยกระบวนการย้อมผ้าหม้อห้อม ในน้ำย้อมห้อมแบบธรรมชาติมีเชื้อจุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนสีอินดิโกบลู ไปเป็นลิวโคอินดิโก โดยส่วนใหญ่เป็น Bacillus sp. และแม้ว่าปัจจุบันจะมีการคัดแยกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูมากขึ้น แต่กระบวนการศึกษา ถึงกลไกการทำงานของแบคทีเรีย ดังกล่าวยังมีไม่มากนัก เช่น Compton et al. (2005) รายงานว่า Clostridium isatidis สามารถเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโกได้จากการเข้าไปจับกับอนุภาคของอินดิโกบลูแล้วทำการย่อยไปเป็นลิวโคอินดิโก ในทางกลับกัน Takahara and Tanabe (1960) กล่าวว่าปฏิกิริยารีดักชั่นที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการส่งถ่ายอิเล็กตรอนในระบบ ดังนั้น การศึกษาการคัดแยก การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโก จึงยังเป็นที่สนใจ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม (Sarethy et al., 2011) เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีร่วมกับกระบวนการย้อมสีผ้าประกอบกับ ปัจจุบันความนิยมทางด้านผ้าย้อมธรรมชาติมีมากขึ้น จึงทำให้อุตสาหกรรมการย้อมสีห้อมแบบธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถนำไปผลิตเป็นหัวเชื้อสำหรับประยุกต์ใช้ ในกระบวนการย้อมสีห้อมแบบธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีในอนาคต ซึ่งอาจช่วยลดระยะเวลาของการหมักน้ำย้อม อาจช่วยให้กระบวนการย้อมผ้าให้สั้นลง สามารถควบคุมคุณภาพของสีย้อมที่ได้อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผ้าหม้อห้อมได้ และช่วยดำรงรักษาภูมิปัญญาการย้อมผ้าหม้อห้อมของชาวทุ่งโฮ้ง ให้ยั่งยืนสืบไป ณัฐพร (2562) กล่าวว่าปัจจุบันใช้ผงครามหรือครามเกล็ดที่ได้จากกระบวนการทางเคมี (สารเคมี) มาก่อหม้อเพื่อใช้ในการย้อมผ้าแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในครั้งนี้ จะเป็นการใช้ห้อมผงที่ได้จากธรรมชาติ มาทำให้เป็นผงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาคุณภาพของการให้สีและการติดสีในผ้าด้วยวิธีการทางชีวเคมีร่วมกับจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้จากน้ำก่อหม้อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีอินดิโก (Indigo) เป็นลิวโคอินดิโก (Leuco-indigo) ที่ดีที่สุด พร้อมส่งไปจำแนกสายพันทางชีวโมเลกุล ด้วยเทคนิค 16S rRNA คือ สายพันธุ์ Bacillus cereus MJUP09 ที่มีความเหมือนกับ Bacillus cereus 99% โดยมีปริมาณ Leuco-indigo ที่สร้างขึ้นเท่ากับ 9.5688 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มาพัฒนาให้อยู่ในรูปของเชื้อแห้งในกระดาษกรองพร้อมใช้งาน ซึ่ง รศ. ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย เป็นผู้ที่มีความรู้และนวัตกรรม โดยมีผลงานที่ได้รับ การจดสิทธิบัตร คือ 1. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและวิธีการผลิต. วันที่ขอ 22 กุมภาพันธ์ 2563. เลขที่คำขอ 2001001102. 2. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น. วันที่ขอ 27 กุมภาพันธ์ 2563. เลขที่คำขอ 200300405. 3. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโก (Leuco indigo) แบบแห้ง. วันที่ขอ 11 มีนาคม 2563. เลขที่ คำขอ 2001001405. 4. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ชุดมัดย้อมหม้อห้อมและกรรมวิธีการผลิต. วันที่ขอ 7 มิถุนายน 2564. เลขที่คำขอ 2103001572. 5. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ ชุดสีน้ำระบายจากห้อมธรรมชาติ. ดังนั้นจึงต้องการนำนวัตกรรมที่มีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้วิสาหกิจชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาและออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหม้อห้อมแมวนำโชค (น้องเหมียวมู) และผสมผสานความเชื่อเรื่องการนำโชค สายมู
2 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในการใช้สีธรรมชาติย้อมผ้าหม้อห้อม ลดการใช้สารเคมี และทำเป็นเฉดสีไทยโทน
3 เพื่อให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯคนอื่น ๆ มีความรู้เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นวัตกรรมและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหม้อห้อมดับกลิ่น (แมวนำโชค น้องเหมียวมู)
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 2 : การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
150000 บาท 150000
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วยชีวนวัตกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นวัตกรรมและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหม้อห้อมดับกลิ่น (แมวนำโชค น้องเหมียวมู)
ชื่อกิจกรรม :
อบรมพัฒนาและออกแบบตุ๊กตาหม้อห้อมแมวนำโชค (น้องเหมียวมู) และทดสอบความพึงพอใจต่อรูปแบบ สีสัน ของตุ๊กตาแมวนำโชคแบบใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,400.00 บาท 10,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 34,000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 20,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 54,300.00 บาท 54,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 69500.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมด้วยชีวนวัตกรรม และให้คำแนะนำในการบำบัดน้ำเสียจากการย้อมผ้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
3. ค่าจ้างเหมาเคลือบนาโน จำนวน 1 งาน ๆ ละ 20,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 26,400.00 บาท 26,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 4,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 31200.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนคนอื่น ๆ มีความรู้เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการปฏิบัติงาน เป็นเงิน 23,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,900.00 บาท 27,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภคของสถาบันการศึกษา (ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินโครงการ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49300.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล