21868 : SAS-67 โครงการการวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสุขภาพครบวงจรบ้านดงเจริญชัยสู่ความยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางนิตยา ไพยารมณ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/08/2567  ถึง  15/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  อาจารย์ นักศึกษา ชุมชนบ้านดงเจริญชัย และกลุ่มวิสาหกิจบ้านดงเจริญชัย จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ งบบริการวิชาการ 2567 19,300.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร  แสงสุโพธิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.4 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (3) บริการวิชาการด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-68 (3.1) มีผลงานบริการวิชาการตามจุดเน้นของวิทยาลัย
ตัวชี้วัด SAS 67 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ SAS 67 ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อการดำเนินงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “โครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเชิงบูรณาการอย่างเป็นระบบบนฐานพื้นที่อำเภอสันทราย” หรือ เรียกชื่อย่อว่า “โครงการสันทรายโมเดล” ในปี 2561 – 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้นำในทุกภาคส่วนในอำเภอสันทราย เกิดกลุ่มองค์กรความร่วมมือ ทั้งกลุ่มด้านการเกษตร กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ่มสุขภาพชุมชน กลุ่มชุมชนต้นแบบ และเกิดโมเดลในการพัฒนา 10 โมเดล ตลอดจนเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ทั้งนี้ทุกภาคส่วนต่างมีโอกาสได้ร่วมกันทบทวน วางแผนการพัฒนา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาอำเภอสันทราย โมเดลสุขภาพชุมชน หมอในบ้านอาหารเป็นยา เป็น 1 ใน 10 โมเดลที่ชุมชนบ้านดงเจริญชัย ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เกิดการต่อยอดในการดูแลสุขภาพชุมชน โดยการผลิตอาหารสุขภาพ การแปรรูปสมุนไพรท้องถิ่น การ นวด กัวซา ดูแลสุขภาพคนในชุมชน จนเป็นแหล่งเรียนรู้และมีผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงาน ในปี 2565 ชุมชนบ้านดงเจริญชัย ได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสุขภาพครบวงจรบ้านดงเจริญชัย โดยมีการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของชุมชน และการมีพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพชุมชน ปัจจุบันชุมชนบ้านดงเจริญชัย ต้องการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสุขภาพครบวงจรบ้านดงเจริญชัยให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ในการนี้ คณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการ จึงเห็นควร จัดโครงการ “การวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสุขภาพครบวงจรบ้านดงเจริญชัยสู่ความยั่งยืน” ในวันที่ 1 กันยายน 2567 เวลา 08.00 น. – 16.00 น. ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสุขภาพครบวงจรบ้านดงเจริญชัย ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยจะมีการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน ส่งเสริมจุดแข็งและโอกาส พัฒนาจุดอ่อนและอุปสรรค ตลอดจนวางแนวทางในการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจฯ สู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้นำนักศึกษาในรายวิชา รป412 การจัดการวิสาหกิจเพื่อสังคม เข้าร่วมโครงการเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้เครื่องมือในด้านการจัดการวิสาหกิจเพื่อพัฒนาชุมชนสังคม และแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ซึ่งโครงการนี้ได้ตอบสนองความต้องการของหลักสูตรและมุ่งเน้นตอบโจทย์ PLOs ข้อ 3 ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจในการจัดการวิสาหกิจเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน
ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสุขภาพครบวงจรบ้านดงเจริญชัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน
KPI 1 : บุคลากรและนักศึกษาเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนร่วมกับกลุ่มกวิสาหกิจชุมชนฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
เวทีเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิเคราะห์ศักยภาพและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืนและทดลองปฏิบัติผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/09/2567 - 01/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร  แสงสุโพธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 100 บาท x 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 คน x 35 บาท x 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าวิทยากรชุมชน จำนวน 1 คน x3 ชั่วโมงx 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19300.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล