21866 : SAS-67 โครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนชุมชนบ้านแพะป่าห้า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางนิตยา ไพยารมณ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
09/08/2567  ถึง  09/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ผู้นำและชุมชนบ้านแพะป่าห้า อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในรายวิชาประมาณ 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ งบบริการวิชาการ 2567 20,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธรรมพร  ตันตรา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.2 ส่งเสริมกิจกรรมกศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-68 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-68 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ SAS ส่งเสริมการจัดกิจกรรมแก่นักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มียุทธศาสตร์ในการบริการวิชาการด้านการบริหารจัดการแก่สาธารณชน ในการถ่ายทอดชุดความรู้เพื่อการแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการขององค์กรและหน่วยงาน ประกอบกับวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กับเทศบาลเมืองแม่โจ้ และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ จำนวน 19 ชุมชนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการของเทศบาลเมืองแม่โจ้ และสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนแก่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2557 – 2566 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ แล้วทั้งสิ้น 10 กิจกรรมโดยการนำของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร ตันตรา ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเชิงบูรณาการ มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรชุมชนด้านการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง ตลอดจน นำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของสมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่” ซึ่งจะได้มาถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพในพัฒนาผู้นำและชุมชนท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้อย่างต่อเนื่อง วิทยาลัยบริหารศาสตร์มีนโยบายในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ประกอบกับชุมชนบ้านแพะป่าห้า ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ในการเป็นชุมชนด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิตอาหารปลอดภัย การจัดสวัสดิการชุมชน และยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการชุมชน และชุมชนต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ผศ.ดร.ธรรมพร ตันตรา และคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการจึงเห็นควรที่จะจัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนบ้านแพะป่าห้า ในเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนด้วยทุนชุมชนบ้านแพะป่าห้า” โดยการพัฒนาทุนชุมชน ทั้งในด้าน ทุนทางภูมิปัญญา ทุนทางสังคมและทุนทางทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน นำมาประกอบสร้างเพื่อพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง และพัฒนาให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแหล่งศึกษาดูงาน และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยจะจัดกิจกรรมขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้ลานบุญชุมชนแพะป่าห้า ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดโครงการครั้งนี้ ได้นำนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ในรายวิชา รป411 พฤติกรรมองค์กรสาธารณะ และนักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ในรายวิชา 21405013 การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ในองค์การภาครัฐ เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการพัฒนาชุมชนและประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนเพื่อวางแผนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งตอบสนองความต้องการของหลักสูตรและมุ่งเน้นตอบโจทย์ PLOs ข้อ 3 ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม และตอบสนอง PLOs ข้อ 4 ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการบริหาร ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารขององค์การสาธารณะได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนชุมชนบ้านแพะป่าห้า
เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์และพัฒนาชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ลานบุญชุมชนแพะป่าห้าให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน และ นักศึกษาได้เรียนรู้การนำความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาชุมชน
KPI 1 : นักศึกษาได้เรียนรู้การนำความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนชุมชนบ้านแพะป่าห้า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ลานบุญชุมชนแพะป่าห้าให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน และ นักศึกษาได้เรียนรู้การนำความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
เวทีเสวนาและระดมความคิดเห็น การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนด้วยทุนชุมชนบ้านแพะป่าห้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/08/2567 - 17/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมพร  ตันตรา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 100 บาท x 1 มื้อ รวมทั้งสิ้น 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 35 บาท x 2 มื้อ รวมทั้งสิ้น 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2คน x 3ชั่วโมง x 600 บาท รวมทั้งสิ้น 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กำหนดการ บ้านแพะป่าห้า 17 ส.ค. 67
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล