21785 : ยุวชนอาสาเพื่อพัฒนาสมุนไพรในท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาตรฐาน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายฉัตรชัย ก๋าเร็ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2567  ถึง  30/11/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  อาจารย์, นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร, นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2567 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กัญญ์พัสวี  กล่อมธงเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA67-G-6 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด BA67-KPI-19 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ BA67-S-19 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เทศบาลเมืองแม่โจ้ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลแม่โจ้เป็นเทศบาลตำบลแม่โจ้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 และมีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมืองแม่โจ้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 มีฐานะเป็นนิติบุคคล ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่ที่ 15 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเทศบาลเมืองแม่โจ้ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 19.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,155 ไร่ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือตำบลหนองหาร ตำบลป่าไผ่ และตำบลหนองจ๊อม และประกอบด้วย 19 ชุมชน จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นว่าชุมชนแห่งนี้เป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็งตัวอย่าง ด้วยการส่งเสริมการมีส่วนของ คนในชุมชนด้วยกันเอง เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ ทางมหาวิทยาลัแม่โจ้จึงมีความต้องการในการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ที่มี และยังเป็นการสร้างทักษะของนักศึกษาให้สามารถนำองค์ความรู้จากศาสตร์ของตนไปพัฒนาพื้นที่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแม่โจ้ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน และเพื่อปลูกและผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ซึ่งมีปัญหาของการดำเนินการจากการสอบถามสมาชิกของกลุ่ม พบว่า ทางกลุ่มยังขาดความรู้ความเข้าใจการเกี่ยวกับมาตรฐานที่ถูกต้องสำหรับพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ยังขาดความหลากหลายของการสร้างสรรค์ผลผลิต การตั้งราคา และโอกาสการสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพื่อพัฒนาตัวสินค้าให้มีความน่าสนใจ การประชาสัมพันธ์ตัวสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้นและขยายแหล่งการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มให้มีความหลากหลายช่องทางทั้งในรูปแบบที่เป็นการขายแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทีมทำงานโครงการ ทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้น ในการพัฒนาส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตสมุนไพรท้องถิ่น โดยร่วมกันบูรณาการศาสตร์สาขาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร และสาขานวัตกรรมธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ จึงจะนำองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ได้มาตรฐาน การตั้งราคาขาย และการต่อยอดทั้งด้านการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education) เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่มั่นใจได้ว่าจะสามารถทำงานท่ามกลางการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะต้องพัฒนาเฉพาะบุคคล ในการดำเนินโครงการยุวชนอาสาร่วมกับการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่อง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และเกิดการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน
เพื่อพัฒนายุวชนอาสาพัฒนาชุมชน ในการนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติจริง
เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์สมุนไพรท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ยกระดับให้ชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่น ก่อเกิดความเข้มแข็ง และมีรายได้ให้กับชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชน
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6 ผลิตภัณฑ์ 6
KPI 2 : กิจการของชุมชนในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อจำหน่ายให้ชุมชน และผู้สนใจ ทั้ง ช่องทาง Online Marketing กับ Offline Marketing ที่มาตรฐาน OTOP
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กิจการ 1
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 4 : พัฒนากำลังคนด้านการทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 6 : ช่องทางตลาดสมุนไพรออนไลน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ช่องทาง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ยกระดับให้ชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่น ก่อเกิดความเข้มแข็ง และมีรายได้ให้กับชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
บริหารจัดการโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/07/2567 - 30/11/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญ์พัสวี  กล่อมธงเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภค จำนวน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาสมุนไพรในท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาตรฐาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/07/2567 - 30/11/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญ์พัสวี  กล่อมธงเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน 100 บาทต่อมื้อ x 6 วัน x 30 คน เป็นเงิน 18,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาทต่อมื้อ x 2 มื้อ x 6 วัน x 30 คน เป็นเงิน 12,600 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ 1,000บาทต่อชิ้น x 6 ชิ้น เป็นเงิน 6,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและสมุนไพรแก่ผู้บริโภค 500 บาทต่อชิ้น x 6 ชิ้น x 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมาผลิตโลโก้และบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับการยกระดับ 3,000 บาทต่อชิ้น x 6 ชิ้น x 1 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท
6. ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,500 บาทต่อวัน x 1 คัน x 6 วัน เป้นเงิน 15,000 บาท
7. ค่าจ้างเหมาจัดทำข้อมูลในการจัดทำระบบจัดทำตลาดออนไลน์ เป็นเงิน 10,000 บาท
8. ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เป็นเงิน 5,000 บาท
9. ค่าตรวจสารบนเปื้อนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกระดับ 2,500 บาทต่อชิ้น x 6 ชิ้น x 1 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 102,600.00 บาท 102,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
- ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
- ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x 300 บาท x 4 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกเครื่องพิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุการเกษตร เช่น เมล็ดพันธ์ผัก กล้าพันธุ์ไม้ ดิน กากมะพร้าว ปุ๋ย ฟาง เชือก ยูเรีย กากน้ำตาล สมุนไพร ฯลฯ เป็นเงิน 8,000 บาท
3. ค่าวัสดุสารเคมี เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ ดีไฮควอท-เอซี พาราฟิน ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตระกร้า ผ้าขาวบาง ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
5. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 135000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล