21783 : SAS-67 โครงการเสริมสร้างทักษะการนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Presentation Skills)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายนัฐพล ภาคภูมิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/07/2567  ถึง  22/08/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์ จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณหลักสูตร รป.บ.รัฐประศาสนศาสตร์ 2567 19,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จริยา  โกเมนต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.3 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.3.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตเพื่อรองรับหรือเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงานระดับอาเซียนหรือนานาชาติ ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเน้นทักษะความเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-68 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-68 ร้อยละของบัณฑิต(ปริญญาตรี)ที่มีงานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ SAS สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ ตัวอย่าง กรณีศึกษา หรือ การศึกษาดูงาน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนหรือเป็นประเด็นทางสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล ฉะนั้นวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการเมืองการปกครองและการบริหารกิจการสังคม ผ่านการจัดการเรียนการเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ ที่สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ อีกทั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ก็ได้มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้มีความสามารถในการบริหารองค์กร เพื่อผลิตทรัพยากรมนุษย์ออกไปพัฒนาทุกภาคส่วนของประเทศ อีกทั้ง หลักสูตรรัฐประศาสตรบัณฑิต ได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) ดังนี้ 1) มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวมภายใต้ความขัดแย้งทางค่านิยม 2) มีความสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร การประกอบอาชีพ และมีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ 3) มีความสามารถอธิบายความรู้และหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ 4) มีความสามารถในการใช้เครื่องมือการบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์และเครื่องมือการวิจัยได้ และ 5) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ รวมทั้งได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (YLOs) ดังนี้ YLO 1 สรุปความรู้ระดับ พื้นฐานทั่วไป ตลอดจนความรู้และหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเบื้องต้นได้, YLO 2 สรุปความรู้ทางภาษา เทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนอธิบายหลักการทาง รัฐประศาสนศาสตร์ได้, YLO 3 มีความสามารถใช้ความรู้ หลักการและเครื่องมือการบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ และ YLO 4 ประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ประเด็นหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ จาก PLOs และ YLOs ของหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้นั้น นักศึกษาต้องบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ประเด็นหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ โดยบูรณาการความรู้ แนวคิด ทฤษฎีทาง รัฐประศาสนศาสตร์ในการปฏิบัติจริงได้ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ไปยังผู้อื่นได้ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ถือเป็นการนำเสนอความรู้ทางวิชาการไปยังผู้อื่น อาจกล่าวได้ว่าการนำเสนอผลงานทางวิชาการเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างนักวิจัย นักศึกษา หรือบุคลากรทางวิชาการ กับผลงานวิจัย ความรู้ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คนฟังเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม หลักสูตรรัฐประศาสตรบัณฑิต พิจารณาแล้วพบว่า นักศึกษาหลายคนมักประสบปัญหาในการนำเสนอผลงานทางวิชาการซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพ ความน่าสนใจ และความน่าเชื่อถือของผลงาน อาทิ เนื้อหาการนำเสนอไม่ชัดเจน ขาดความครบถ้วน ไม่ถูกต้อง สื่อประกอบไม่ดึงดูดความสนใจและไม่สอดคล้องกับปัญหา การพูดนำเสนอไม่ชัดเจน ภาษากายไม่เหมาะสม การจัดการเวลาไม่ดี นักศึกษามักขาดความมั่นใจ ตื่นเต้น ประหม่า หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ จากปัญหาที่กล่าวมา หลักสูตรรัฐประศาสตรบัณฑิต จึงกำหนดจัดโครงการเสริมสร้างทักษะการนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Presentation Skills) ในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ ห้องนรสิงห์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ได้รับความรู้และทักษะการจัดทำสื่อเพื่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการ และเป็นการพัฒนาทักษะบุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะให้แก่นักศึกษา อันเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความรู้การนำเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่นักศึกษา
เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะการจัดทำสื่อเพื่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่นักศึกษา
เพื่อพัฒนาทักษะบุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะให้แก่นักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับความรู้ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ทักษะการทำสื่อ และทักษะการพูดในที่สาธารณะ
KPI 1 : นักศึกษาได้รับความรู้การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะการจัดทำสื่อเพื่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะบุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะ ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับความรู้ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ทักษะการทำสื่อ และทักษะการพูดในที่สาธารณะ
ชื่อกิจกรรม :
บรรยายให้ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/08/2567 - 07/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จริยา  โกเมนต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิชญ์  จิตต์ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 คน x 300 บาท x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล