21740 : โครงการ อบรม “กลยุทธ์การบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education Institution Brand Model)”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.กะรัต เทพศิริ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/7/2567 16:08:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/07/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  23  คน
รายละเอียด  ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 22 คน วิทยากร จำนวน 1 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 15,420.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณภัทร  เรืองนภากุล
น.ส. กะรัต  เทพศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.5 มีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.5.2 ร้อยละของบุคลากรที่มีผลการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐาน
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.5.2.1 สนับสนุนบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม Training Roadmap ของแต่ละตำแหน่ง ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานหรือสูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านบริหารจัดการ)
เป้าประสงค์ 67Info-2.7 บุคลากรมีทักษะระดับมืออาชีพและเหมาะสมต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67Info-2.21 ระดับความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากร (คณะ)
กลยุทธ์ 67Info-2.7.1 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายให้เป็นผู้ที่คิดเป็น ปฏิบัติได้ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างผลงานในความรับผิดชอบได้อย่างมืออาชีพ และมีส่วนร่วมในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

องค์กรยุคใหม่ใช้กลยุทธ์เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ และมีการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อน และมีการกำหนดโครงการต่าง ๆ เพื่อใช้ขับเคลื่อนแผนในภาคปฏิบัติ การบริหารแบรนด์ (Brand Management) คือ กระบวนการในบริหารจัดการและสร้างความสัมพันธ์ให้กับแบรนด์ทุกด้านและทุกช่วงของการพัฒนา (Life Cycle) ให้เหมาะสม ซึ่งสภาวการณ์ปัจจุบัน การแข่งขันในการจัดการศึกษาสูงขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพและราคา การจัดการศึกษาในปัจจุบันถูกผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร และสิ่งต่าง ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษา จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สถาบันการศึกษาเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงได้นั้น ได้แก่ คุณภาพของการจัดการศึกษา และความสามารถ ในการบริหารจัดการสถาบันการศึกษาในเชิงคุณภาพ ซึ่งการบริหารแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการกำหนดกลยุทธ์และใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์ ทั้งกลยุทธ์การกำหนดทิศทางการบริหารและกลยุทธ์การบริหารแบรนด์ขององค์การ จึงจะสามารถประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษาได้ ซึ่งถือเป็นวิธีการจัดการสมัยใหม่รูปแบบหนึ่งที่เหมาะต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารหรือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ตระหนักถึงการบริหารจัดการและการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ภายในองค์การให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาองค์การให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ที่องค์การได้วางไว้ จึงได้จัดโครงการอบรม “กลยุทธ์การบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education Institution Brand Model)” ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการในการบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้สามารถนำไปใช้กำหนดแนวทางการทำงานของบุคลากรหรือองค์กร และสามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ หลักการในการบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สามารถนำไปใช้กำหนดแนวทางการทำงานของบุคลากรหรือองค์กร และสามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้
2. เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากร ได้จัดทำ ฝึกปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการกำหนดทิศทางของ แบรนด์องค์กร เพื่อผลักดันเป้าหมาย/ผลลัพธ์ของงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ความรู้ ความเข้าใจ หลักการในการบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สามารถนำไปใช้กำหนดแนวทางการทำงานของบุคลากรหรือองค์กร และสามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้ รวมถึง ได้ทิศทางของแบรนด์องค์กร (Corporate Brand) ที่ทุกฝ่ายสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้
KPI 1 : ทิศทางแบรนด์ขององค์กร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ทิศทาง 1
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ความรู้ ความเข้าใจ หลักการในการบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สามารถนำไปใช้กำหนดแนวทางการทำงานของบุคลากรหรือองค์กร และสามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้ รวมถึง ได้ทิศทางของแบรนด์องค์กร (Corporate Brand) ที่ทุกฝ่ายสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้
ชื่อกิจกรรม :
อบรม “กลยุทธ์การบริหารทิศทางของแบรนด์สำหรับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education Institution Brand Model)”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร  เรืองนภากุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.กะรัต  เทพศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 23 คน x 120 บาท = 2,760 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,760.00 บาท 2,760.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 23 คน x 35 บาท x 2 มื้อ) = 1,610 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,610.00 บาท 1,610.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ (วิทยากร) (ประมาณการ)
- เครื่องบินโดยสาร (จำนวน 1 คน x 3,000 บาท x 2 เที่ยว (ไป-กลับ) = 6,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักวิทยากร (1,450 บาท x 1 คืน) = 1,450 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,450.00 บาท 1,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร
(จำนวน 1 คน x 600.- บาท x 6 ช.ม. = 3,600.- บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15420.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล