21709 : SAS-67 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ GenAI เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายนัฐพล ภาคภูมิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/9/2567 15:25:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/06/2567  ถึง  05/07/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  90  คน
รายละเอียด   บุคลากรสายวิชาการและสนับสุนวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะอื่น ๆ และบุคลลภายนอกที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จำนวน 8,964 บาท (เฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวิทยากร) ส่วนค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างและเครื่องดื่ม เบิกจ่ายคณะศิลปศาสตร์ จำวน 17,100 บาท 2567 8,964.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พิชญ์  จิตต์ภักดี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนาพร  ขันธบุตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นนท์  น้าประทานสุข
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุริยจรัส  เตชะตันมีนสกุล
อาจารย์ อาภาลัย  สุขสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.6 ผลการประกันคุณภาพภายใน
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.6.4 พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการด้านวิชาการออนไลน์ เพื่อการเป็น Digital university ที่สมบูรณ์ รวมทั้งการจัดทำหลักสูตรออนไลน์ หรือ MOOC ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 63-68 (1.3) คณาจารย์มีคุณภาพ
ตัวชี้วัด SAS 65-67 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัย
กลยุทธ์ SAS สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะและความต้องการของวิทยาลัยเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสายงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

AI คือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ระดับหนึ่งในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้ออกแบบให้มีระบบการทำงานเหมือนกับสมองของคน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกธุรกิจ ที่สำคัญยังมีการพัฒนาระบบแอปพลิเคชันในการทำงานด้วยระบบ AI in Education ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบแผนการสอน การออกแบบสื่อการสอน AI การตรวจงาน หรือการทำวิจัย รวมไปถึงการใช้งานของระบบฟังก์ชันในสมาร์ตโฟนที่สามารถใช้ได้ทุกวัน ในยุคปัจจุบันได้มีการนำมาเป็นตัวช่วยในการศึกษาและการวิจัยหรือการทดลองต่างๆ อาทิ การทดลองใช้ระบบ AI ร่วมกับการจัดการเรียนการสอน โดยจากการวิจัยพบว่า ผู้สอนสามารถดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจทานหรือการให้คะแนนงานที่มีการมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบ AI มีความสามารถในการเรียนรู้จึงช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับแต่งหลักสูตรรวมไปถึงเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับผู้เรียนในแต่ละระดับได้ ช่วยเพิ่มทักษะของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพได้ เรียกได้ว่าระบบ AI เป็นระบบที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้อย่างโดดเด่น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนและผู้สอนได้ ในการนี้ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยแก่ผู้สอนให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี วิทยาลัยบริหารศาสตร์จึงร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ GenAI เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย แก่บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่สนใจ โดยมี อาจารย์ ดร.พฤทธิ์ พุฒจร จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีก่อกำเนิด สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Generative AI ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Generative AI ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างเหมาะสม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Generative AI ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างเหมาะสม
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Gen AI ในการปฏิบัติงาน เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Generative AI ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างเหมาะสม
ชื่อกิจกรรม :
บรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Generative AI ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/06/2567 - 28/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พิชญ์  จิตต์ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางวิทยากร รถส่วนตัวหมายเลขทะเบียน กว 1013 เชียงราย ระยะทางจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปกลับ 208 กม.x2=416กม. x อัตรากิโลเมตรละ 4 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 1,664 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,664.00 บาท 0.00 บาท 1,664.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักวิทยากร 1 คืน 1,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมงๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8964.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล