21692 : การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ประทีปชล ชัยเลิศ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/7/2567 10:09:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/06/2567  ถึง  03/04/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  55  คน
รายละเอียด  1. จำนวนบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (ตัวแทนสิทธิบัตรรวมสะสม) (คน) 2. คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 30 (คำขอ) 3. จำนวนประกาศของมหาวิทยาลัยที่รองรับข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 (ฉบับ) 4. จำนวนสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี/สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย (สัญญา)
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน สำนักงานมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง(Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567
กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม
ข้อเสนอโครงการที่ 1 : โครงการยกระดับศักยภาพการบริหารจัดการหน่วยบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO)
2567 2,000,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน  มะโนชัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ  ไชยชนะ
อาจารย์ ดร. กัลย์  กัลยาณมิตร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล  ทองมา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านกฏระเบียบ ข้อบังคับ
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านโครงสร้าง
นโยบายด้านทรัพย์สิน การเงิน และการลงทุน
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.4 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การจัดทำแผนพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย จากการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่สถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2 มหาวิทยาลัยได้วางกรอบแนวคิดการบริหารจัดการนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย โดยวางแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบเพื่อดำเนินการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรม เสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูง โดยวางแนวทางการมีส่วนร่วมดำเนินการภายใต้วงจรการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพโดยนักวิจัย คณะ สำนัก วิทยาลัย และสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมดำเนินการโดย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ร่วมดำเนินการโดยนักวิจัย คณะ สำนัก วิทยาลัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ตลอดจนกการบังคับใช้สิทธิ ร่วมดำเนินการโดยฝ่ายกฎหมาย นักวิจัย คณะ สำนัก วิทยาลัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ทั้งนี้สามารถกำหนดรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้ 1. การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพ (Creation) การมีผลงานวิจัยที่ดี มีศักยภาพ ย่อมเป็นพื้นฐานที่ดีของการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนักการใช้และการสร้างผลงานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นที่เข้าใจอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิจัย นักศึกษา และผู้ประกอบการ ที่มีบทบาทในฐานะเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้สร้างสรรค์ การสร้างความตระหนักในเรื่องของการละเมิดสิทธิ ข้อควรระวัง ตลอดจนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่การตลาดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละปี ดังนี้ 1) กิจกรรมคัดกรองงานวิจัยที่มีศักยภาพ (IP Audit) ร่วมกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำ IP Portfolio เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการ เพื่อต้องการทราบต้นทุนงานวิจัย ผู้มีส่วนร่วมนำไปสู่การดำเนินการด้าน IP Clearance และวางกลยุทธ์ IP Strategy ไปสู่การคุ้มครองอย่างเหมาะสม รวมไปถึงวางแนวทางใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี ทั้งในเชิงสังคม เชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ 2) กิจกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากทรัพย์สินทางปัญญา การฝึกทักษะการคิดที่นอกเหนือจากกรอบแนวคิดการวิจัยเดิมเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมได้แก่ คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่จะมาฝึกฝนทักษะการคิดแบบ นวัตกรโดยใช้ฐานความรู้จากทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองแต่ละประเภท   2. การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Protection) การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการโดยเลือกคุ้มครองตามความเหมาะสมของผลงานวิจัย ทั้งนี้ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ความแตกต่าง ความคุ้มค่าทั้งเวลาและงบประมาณ 2) การให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์/เครื่องหมายการค้า/พันธุ์พืชใหม่ ให้แก่ มหาวิทยาลัย นักศึกษา บุคลากร นักวิจัย อาจารย์ และผู้ประกอบการ 3) การติดตาม ตรวจสอบ สถานะของทรัพย์สินทางปัญญาจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจนจบกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสม 3. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Commercialization/Utilization) การผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้ 1) การประเมินศักยภาพของทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ และการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ด้านการใช้ประโยชน์ 2) การหาโมเดลธุรกิจสำหรับเทคโนโลยีแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับธุรกิจและการลงทุน 3) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการเจรจากับภาคเอกชนที่สนใจนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือการประเมินมูลค่าเพื่อการลงทุนในการปรับปรุง/พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม 4) การเจรจาต่อรองกับผู้ที่จะนำงานทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 5) การจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว 6) การจับคู่ธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการถ่ายทอดรวมทั้งการจัดทำต้นแบบเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด 7) การเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ แสดงผลงาน เพื่อหาผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือหาผู้ร่วมลงทุน ตลอดจนหาผู้ร่วมโครงการทำวิจัยเพื่อต่อยอดเพิ่มเติมจากองค์ความรู้เดิม 8) การพัฒนาแนวทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ประกอบการใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะกับอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วางแนวทางการพัฒนารูปแบบ (Business Model) ให้เกิดประโยชน์กับทั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยศึกษาความเป็นไปได้ของงานวิจัยที่มีศักยภาพและมีความพร้อมพัฒนาไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง จากนั้นจึงหาผู้ประกอบการใหม่ที่พร้อมรับงานวิจัยดังกล่าวไปสร้างธุรกิจใหม่ (Startup) โดยผู้ประกอบการรับอนุญาตใช้สิทธิจากมหาวิทยาลัยผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ โดยยกเว้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเปิดเผยการประดิษฐ์ในช่วงแรกที่ผู้ประกอบการต้องเข้ารับการบ่มเพาะจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ภายหลังผู้ประกอบการเข้มแข็งและ Spinoff ออกไปแล้วจึงค่อยจ่ายค่าธรรมเนียม (Royalty) ในอัตราที่พอสมควรในระยะเวลา หนึ่งกลับมาให้แก่มหาวิทยาลัย 4. การบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Enforcement) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะดูแลองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หากเกิดการละเมิดสิทธิ อาจโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ มหาวิทยาลัยจะดำเนินการปกป้องสิทธิ ทั้งในลักษณะการประสานสอบถามเบื้องต้น การสอบถามพูดคุยหารือในรายละเอียด การจัดทำหนังสือแจ้งเตือน หรือในท้ายที่สุด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องฟ้องร้องดำเนินคดีโดยฝ่ายกฎหมาย การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งเน้นให้เกิดความถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ได้ดำเนินการอบรม ให้ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน สร้างความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย แนวปฏิบัติต่างๆ ในด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้กับบุคลากรเป็นประจำในทุกๆ ปี ทั้งในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในนามมหาวิทยาลัยให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาหลัก 4 ประเภท ได้แก่ 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร 2. ลิขสิทธิ์ 3. เครื่องหมายการค้า 4. พันธุ์พืชใหม่ จากการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวข้างต้น จะพบได้ว่าการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีปัจจัยที่ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จ และหากพูดถึงอีกมุมของการดำเนินงานก็จะพบปัจจัยที่ผลกระทบต่อการดำเนินงานที่ไม่ประสบความสำเร็จของการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยวิเคราะห์แล้วจะเกิดขึ้นในปัจจัยหลัก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของเทคโนโลยี ที่ไม่สามารถยกระดับเทคโนโลยีได้จริงในระดับอุตสาหกรรมได้จริง และการวิเคราะห์ศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลทำให้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรพิสูจน์เทคโนโลยี (proof of concept) และวางแผนและวิเคราะห์แนวทางในการต่อยอดทางธุรกิจ (Industry Convergence) ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี (Technology) การวิเคราะห์คุณค่าของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี (Value Proposition Canvas) การวิเคราะห์ศักยภาพด้านตลาด (Market) การวิเคราะห์เส้นทางการยกระดับเทคโนโลยีสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ (Innovation Roadmap) การวิเคราะห์ศักยภาพด้านทีม (Combination Team) ตลอดจนการวิเคราะห์ด้านผลกระทบ (Impact) เพื่อให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถยกระดับสู่ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
การเสริมสร้างกลไก (Mechanism) ระบบการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างผู้ประกอบการใหม่
เพื่อผลักดันงานวิจัยที่อยู่ในมหาวิทยาลัยให้มีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผ่านการสร้างความตระหนักด้านการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคลากรและส่วนงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้ตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และการพัฒนาทักษะบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บุคลากรในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
KPI 1 : จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนสิทธิบัตร (Patent Agent) รุ่นที่ 28
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 คน 1
KPI 2 : จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการสิทธิบัตรอย่างมืออาชีพ(Patent Professional) รุ่นที่ 3
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 คน 1
ผลผลิต : เลขที่คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
KPI 1 : จำนวนเลขที่คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
13 13 13 13 ผลงาน 13
ผลผลิต : ประกาศที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย แม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565
KPI 1 : จำนวนประกาศที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 5 5 5 ฉบับ 5
ผลผลิต : สัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี/สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย
KPI 1 : จำนวนสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี/สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 5 5 5 สัญญา 5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บุคลากรในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
ชื่อกิจกรรม :
1. การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (TRIUP Act)
1.1 การรับมือและแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (TRIUP Act)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 1 คนๆ ละ 7,600 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 7,600 บาท
2. ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมจาก ม.แม่โจ้-ชุมพร (จำนวน 4 คนๆ ละ 7,600 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 30,400 บาท
3. ค่าที่พักวิทยากร (จำนวน 1 คนๆ ละ 1,200 บาท*1 คืน) เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ค่าที่พักผู้เข้าร่วมจากแม่โจ้แพร่ (จำนวน 4 คน*คนละ 800 บาท*1 คืน) เป็นเงิน 3,200 บาท
5. ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 120 คน*คนละ 200 บาท) เป็นเงิน 24,000 บาท
6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 120 คน*คนละ 50 บาท) เป็นเงิน 6,000 บาท
7. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง รับ-ส่งวิทยากร (จำนวน 2 วัน*วันละ 2,500 บาท*1 คัน) เป็นเงิน 5,000 บาท
8. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง รับ-ส่ง บุคลากรแม่โจ้แพร่ (จำนวน 3 วัน*วันละ 3,500 บาท*1 คัน) เป็นเงิน 10,500 บาท
9. ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพร้อมวิดิโอ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 97,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 97,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 1 คน* คนละ 6 ชั่วโมง* 1 วัน) เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 16,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 13,355 บาท


ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 29,355.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 29,355.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 132055.00
ชื่อกิจกรรม :
1. การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (TRIUP Act)
1.2 การประชุมประกาศที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 โดยคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเดินทาง (กรรมการ ภายนอก) (จำนวน 1 คนๆ ละ 7,600 บาท* 2 ครั้ง) เป็นเงิน 15,200 บาท
2. ค่าที่พัก (กรรมการ ภายนอก) (จำนวน 1 คนๆ ละ 1,200 บาท*1 คืน) เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 15 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท) เป็นเงิน 2,250 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 40 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท) เป็นเงิน 525 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,175.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,175.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนการประชุม (ประธาน) (จำนวน 1 คนๆ ละ 375 บาท*จำนวน 2 ครั้ง) เป็นเงิน 750 บาท
2. ค่าตอบแทนการประชุม (รองประธาน) (จำนวน 1 คนๆ ละ 300 บาท*จำนวน 2 ครั้ง) เป็นเงิน 600 บาท
3. ค่าตอบแทนการประชุม (กรรมการ ภายใน) (จำนวน 14 คนๆ ละ 300 บาท*จำนวน 2 ครั้ง) เป็นเงิน 4,200 บาท
4. ค่าตอบแทนการประชุม (กรรมการ ภายนอก) (จำนวน 1 คนๆ ละ 1,000 บาท*จำนวน 2 ครั้ง) เป็นเงิน 2,000 บาท
5. ค่าตอบแทนการประชุม (ผู้ช่วยเลขานุการ) (จำนวน 1 คนๆ ละ 100 บาท*จำนวน 2 ครั้ง) เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,950.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,950.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 5,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 37125.00
ชื่อกิจกรรม :
1. การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (TRIUP Act)
1.3 การวิเคราะห์ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TechnologyReadiness Level : TRL) ตามลักษณะของงานวิจัยและนวัตกรรม (จัดภายนอกมหาวิทยาลัย)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  ไชยชนะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 4 คนๆ ละ 6,500 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 26,000 บาท
2. ค่าที่พักวิทยากร (จำนวน 4 คนๆ ละ 1,450 บาท*1 คืน) เป็นเงิน 5,800 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 40 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 400 บาท) เป็นเงิน 16,000 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 100 บาท) เป็นเงิน 8,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน 2 วันๆ ละ 2,500 บาท) เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 60,800.00 บาท 0.00 บาท 60,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 1 คนๆ ละ 7 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท) เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 3 คนๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท) เป็นเงิน 5,400 บาท


ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 29,600.00 บาท 0.00 บาท 29,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
ผลผลิต : เลขที่คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
ชื่อกิจกรรม :
2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา
2.1 โครงการฝึกอบรมหลักสูตรตัวแทนสิทธิบัตร (Patent Agent)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าลงทะเบียนอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการสิทธิบัตรอย่างมืออาชีพ(Patent Professional) รุ่นที่ 3 จำนวน 30,000 บาท
2. ค่าลงทะเบียนอบรมหลักสูตรตัวแทนสิทธิบัตร (Patent Agent) รุ่นที่ 28 จำนวน 70,000 บาท
3. ค่าเดินทาง (จำนวน 1 คนๆ ละ 7,600 บาท* 10 ครั้ง) เป็นเงิน 76,000 บาท
4. ค่าที่พัก (จำนวน 33 คืน*คืนละ 800 บาท* 1 คน) เป็นเงิน 26,400 บาท
5. ค่าเบี้ยเลี้ยง (จำนวน 32 วัน*วันละ 240 บาท* 1 คน) เป็นเงิน 7,680 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
210,080.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 210,080.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 210080.00
ชื่อกิจกรรม :
2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา
2.2 การเข้าร่วมอบรม Upskill / Reskill / New Skills ของบุคลากร TLO หรือ TTO หรือพัฒนาบุคลากรตามการจัดการเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาโดยเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ (AIMs Internship Program)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเดินทาง (จำนวน 4 คน*คนละ 7,600 บาท* 3 ครั้ง) เป็นเงิน 91,200 บาท
2. ค่าที่พัก (ผู้บริหาร) (จำนวน 1 คน*คนละ 2 คืน*คืนละ 1,800 บาท* 3 ครั้ง) เป็นเงิน 10,800 บาท
3. ค่าที่พัก (บุคลากร) (จำนวน 3 คน*คนละ 2 คืน*คืนละ 1,450 บาท* 3 ครั้ง) เป็นเงิน 26,100 บาท
4. ค่าเบี้ยเลี้ยง (ผู้บริหาร) (จำนวน 1 คน*คนละ 2 วัน*วันละ 270 บาท* 3 ครั้ง) เป็นเงิน 1,620 บาท
5. ค่าเบี้ยเลี้ยง (บุคลากร) (จำนวน 3 คน*คนละ 2 วัน*วันละ 240 บาท* 3 ครั้ง) เป็นเงิน 4,320 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 134,040.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 134,040.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 134040.00
ผลผลิต : ประกาศที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย แม่โจ้ ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565
ชื่อกิจกรรม :
3. การพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัยและนวัตกรรมในมหาวิทยาลัย
3.1 การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมายกร่างคำขอรับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ค้างอยู่ในระบบ และนำมาบริหารจัดการโดย TLO* (จำนวน 50 คำขอๆ ละ 10,000 บาท) เป็นเงิน 500,000 บาท
2. ค่าเข้าร่วมสมาคมวิขาชีพนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นเงิน 20,000 บาท
3. ครั้งที่ 1 : ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 2 คน*คนละ 6,800 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 13,600 บาท
4. ครั้ง 2 : ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 1 คน*คนละ 6,800 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 6,800 บาท
5. ครั้งที่ 3 : ค่าเดินทางวิทยากร (จำนวน 2 คน*คนละ 6,800 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 13,600 บาท
6. ครั้งที่ 4 : ค่าเดินทาง (จำนวน 3 คน*คนละ 7,600 บาท*คนละ 2 ครั้ง) เป็นเงิน 45,600 บาท
7. ครั้งที่ 5 : ค่าเดินทาง (จำนวน 3 คน*คนละ 7,600 บาท*คนละ 2 ครั้ง) เป็นเงิน 45,600 บาท
8. ครั้งที่ 1 : ค่าที่พักวิทยากร (จำนวน 1 คืน*คืนละ 1,200 บาท* 2 คน) เป็นเงิน 2,400 บาท
9. ครั้งที่ 2 : ค่าที่พักวิทยากร (จำนวน 1 คืน*คืนละ 1,200 บาท* 1 คน) เป็นเงิน 1,200 บาท
10. ครั้งที่ 3 : ค่าที่พักวิทยากร (จำนวน 1 คืน*คืนละ 1,200 บาท* 2 คน) เป็นเงิน 2,400 บาท
11. ครั้งที่ 3 : ค่าที่พักบุคลากร (จำนวน 1 คืน*คืนละ 800 บาท* 5 คน) เป็นเงิน 4,000 บาท
12. ครั้งที่ 4 : ค่าที่พักผู้บริหาร (จำนวน 2 คืน*คืนละ 1,800 บาท* 1 คน* 2 ครั้ง) เป็นเงิน 7,200 บาท
13. ครั้งที่ 4 : ค่าที่พักบุคลากร (จำนวน 2 คืน*คืนละ 1,450 บาท* 2 คน* 2 ครั้ง) เป็นเงิน 11,600 บาท
14. ครั้งที่ 5 : ค่าที่พักบุคลากร (จำนวน 5 คืน*คืนละ 1,450 บาท* 3 คน* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 21,750 บาท
15. ครั้งที่ 4 : ค่าเบี้ยเลี้ยง (ผู้บริหาร) (จำนวน 1 คน*คนละ 2 วัน*วันละ 270 บาท* 2 ครั้ง) เป็นเงิน 1,080 บาท
16. ครั้งที่ 4 : ค่าเบี้ยเลี้ยง (บุคลากร) (จำนวน 1 คน*คนละ 2 วัน*วันละ 240 บาท* 2 ครั้ง) เป็นเงิน 1,920 บาท
17. ครั้งที่ 5 : ค่าเบี้ยเลี้ยง (บุคลากร) (จำนวน 3 คน*คนละ 5 วัน*วันละ 240 บาท* 1 ครั้ง) เป็นเงิน 3,600 บาท
18. ครั้งที่ 1 : ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 30 คน*คนละ 150 บาท* 1 มื้อ) เป็นเงิน 4,500 บาท
19. ครั้งที่ 2 : ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 30 คน*คนละ 150 บาท* 1 มื้อ) เป็นเงิน 4,500 บาท
20. ครั้งที่ 3 : ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 15 คน*คนละ 150 บาท* 1 มื้อ) เป็นเงิน 2,250 บาท
21. ครั้งที่ 1 : ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 30 คน*คนละ 50 บาท* 2 มื้อ) เป็นเงิน 3,000 บาท
22. ครั้งที่ 2 : ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 30 คน*คนละ 50 บาท* 2 มื้อ) เป็นเงิน 3,000 บาท
23. ครั้งที่ 3 : ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 15 คน*คนละ 50 บาท* 2 มื้อ) เป็นเงิน 1,500 บาท
24. ครั้งที่ 1 : ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง รับส่งวิทยากร (จำนวน 2วัน*วันละ 2,500 บาท*1 คัน) เป็นเงิน 5,000 บาท
25. ครั้งที่ 2 : ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง รับส่งวิทยากร (จำนวน 2วัน*วันละ 2,500 บาท*1 คัน) เป็นเงิน 5,000 บาท
26. ครั้งที่ 3 : ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง รับส่งบุคลากรแม่โจ้แพร่ (จำนวน 2 วัน*วันละ 3,500 บาท*1 คัน) เป็นเงิน 7,000 บาท
27. ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพร้อมวิดิโอ (จำนวน 3 ครั้ง*ครั้งละ 10,000 บาท) เป็นเงิน 30,000 บาท
28. ค่าเช่าสถานที่ (จำนวน 3 ครั้ง*ครั้งละ 5,000) เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 500,000.00 บาท 283,100.00 บาท 0.00 บาท 783,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ครั้งที่ 1 : ค่าตอบแทนวิทยากรของรัฐ (จำนวน 2 คน*คนละ 3 ชั่วโมง*1 วัน) เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ครั้งที่ 2 : ค่าตอบแทนวิทยากรของรัฐ (จำนวน 1 คน*คนละ 6 ชั่วโมง*1 วัน) เป็นเงิน 4,800 บาท
3. ครั้งที่ 3 : ค่าตอบแทนวิทยากรของรัฐ (จำนวน 5 คน*คนละ 6 ชั่วโมง*1 วัน) เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 33,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน (จำนวน 3 ครั้ง* ครั้งละ 15,000 บาท) เป็นเงิน 45,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (จำนวน 3 ครั้ง*ครั้งละ 10,000 บาท) เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 45,000.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 891700.00
ผลผลิต : สัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี/สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย
ชื่อกิจกรรม :
4. การยกระดับศักยภาพนำไปสู่การร่วมทุนต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือสาธารณะประโยชน์ ตาม Platform ของมหาวิทยาลัย
4.1 กิจกรรม Maejo Innovation Day 2024

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/06/2567 - 03/04/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กัลย์  กัลยาณมิตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 80 คน*คนละ 200 บาท*1 มื้อ) เป็นเงิน 16,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 80 คน*คนละ 50 บาท*1 มื้อ) เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดบูธแสดงผลงานพร้อมตกแต่งสถานที่ (จำนวน 20 ผลงาน) เป็นเงิน 400,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพนิ่งพร้อมตัดต่อวิดิโอ กิจกรรม Maejo Innovation Day เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 440,000.00 บาท 0.00 บาท 440,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 15,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 15,000 บาท
3. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 10,000 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 55,000.00 บาท 0.00 บาท 55,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 495000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 10 เดือน ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการดำเนินงานภายใต้ระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
การวางแผนการดำเนินงานจากผลงานที่มีความพร้อมใน pipe-line สู่การผลักดันไปใช้ประโยชน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล