21682 : โครงการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้รายวิชาในหลักสูตรฯ หัวข้อ "ด้านมืดของความคลั่งเจ้าของภาษาในบริบทการสอนภาษาอังกฤษ: เรื่องเล่าจากสยามเมืองยิ้ม"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์ภาคศิริ ปั้นลี้ ทองเสน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/6/2567 11:05:20
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  125  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนในรายวิชา ศอ421 นานาภาษาอังกฤษโลก
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาศิลปศาสตร์ กองทุนเพื่อการศึกษา งบเงินอุดหนุน 2567 11,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ภาคศิริ ปั้นลี้  ทองเสน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA67 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC):การผลิตบัณฑิต หลักสูตร และการพัฒนานักศึกษา
เป้าประสงค์ LA67 -2.2 เสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ตัวชี้วัด LA67-2.2.11 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ LA67 -3. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่นักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ด้วยคณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรมาโดยตลอด ปัจจุบันได้ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการบรรจุรายวิชา ศอ 421 นานาภาษาอังกฤษโลก เป็นรายวิชาบังคับ โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ (skills) และทัศนคติ ที่จำเป็นในการสร้างและเพิ่มศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะการคิด การสื่อสาร ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความฉลาดเฉลียวในการใช้ชีวิตและพัฒนาตนเองเพื่อความสุขสำเร็จ ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน การฝึกอบรม และการบรรยายพิเศษ นั้น รายวิชา ศอ 421 นานาภาษาอังกฤษโลก เป็นรายวิชาที่ศึกษาเปรียบเทียบนานาภาษาอังกฤษโลกในระดับเสียง คําศัพท์ และประโยค รวมทั้ง บทบาทและสถานะของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาระดับสากล รวมทั้งการแพร่ขยายของภาษาอังกฤษไปยังประเทศและดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้มีผู้พูดภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาจำนวนหลายร้อยล้านคนและมีจำนวนมากกว่าผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษา สำหรับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้น มีทั้งครูที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษาอยู่ในสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้น ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครองชาวไทยจำนวนไม่น้อยยังเชื่อว่าความเป็นเจ้าของภาษาสามารถรับประกันได้ว่าผู้สมัครงานในตำแหน่งครูชาวต่างชาติรายนั้นจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดีได้ และผู้เรียนรวมทั้งผู้ปกครองก็เชื่อว่าครูที่เป็นเจ้าของภาษาสามารถเป็นแม่แบบที่ดีในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ ทำให้เกิดความท้าทายต่อสถานะของครูที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาในทุกระดับชั้น การบรรยายพิเศษในครั้งนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับพลวัตรของภาษาอังกฤษผ่านกรณีศึกษาซึ่งเป็นงานวิจัยของวิทยากร ด้วยการนำเสนอฉากทัศน์ของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ข้อดีและข้อเสียของการจ้างครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของครูผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษาและพยายามสลายมายาคติและความคลั่งเจ้าของภาษาที่ฝังรากลึกอยู่ในบริบทของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับพลวัตรของภาษาอังกฤษในปัจจุบันและตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและร้อยละของนักศึกษาที่ได้คะแนนการทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ 3 คะแนนขึ้นไป
KPI 1 : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80
KPI 2 : ร้อยละของนักศึกษาที่ได้คะแนนการทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ 3 คะแนนขึ้นไป
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 70 70
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและร้อยละของนักศึกษาที่ได้คะแนนการทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ 3 คะแนนขึ้นไป
ชื่อกิจกรรม :
การบรรยายพิเศษในหัวข้อ ด้านมืดของความคลั่งเจ้าของภาษาในบริบทการศึกษา: เรื่องเล่าจากสยามเมืองยิ้ม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ภาคศิริ ปั้นลี้  ทองเสน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานของวิทยากร (ค่าพาหนะเดินทางและค่าที่พัก)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,200.00 บาท 9,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ (600 บาท * 3 ชั่วโมง = 1,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 11000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
พลวัตรของภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง ผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษา
ช่วงเวลา : 01/07/2567 - 20/10/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล