21619 : SAS-67 โครงการอบรมเพื่อเสริมสร้างให้บัณฑิตบรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาตาม PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางสาวสุไรรัตน์ มั่นคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
05/06/2567  ถึง  31/07/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  674  คน
รายละเอียด  1 นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 200 คน 2 นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 167 คน 3 นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 181 คน 4 นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 126 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 45,150.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. รุจาดล  นันทชารักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.2.1 พัฒนาและสนับสนุนนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-68 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-68 ร้อยละนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (ตามระยะเวลาของหลักสูตร)
กลยุทธ์ SAS ให้คำปรึกษาและแนะแนวการศึกษาในหลักสูตรตลอดจนการศึกษาเสริมหลักสูตรและการใช้ชีวิตให้แก่นักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพ อดทนสู้งาน เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรื่องวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และความต้องการที่จะเป็นมหาวิทยาลัยการเกษตรชั้นนำในระดับนานาชาติ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จึงมุ่งเน้นผลิตบุคคลที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการบริหาร การจัดการ แนวคิดทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสมรรถนะในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ มีคุณธรรม จริยธรรมในการบริหารจัดการที่ดี ที่สนองความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของสังคม ชุมชน และท้องถิ่นได้ รวมไปถึงการดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตได้ออกแบบหลักสูตรภายใต้ปรัชญา ความสำคัญ คือการเป็นนักปฏิบัติการทางสังคมและนักบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพสูงและมีบรรทัดฐานทางจริยธรรมอันแบบอย่าง โดยมีเป้าหมายนำเอาความรู้ด้านการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อไปพัฒนาทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเน้นหนักไปที่ชุมชนและท้องถิ่นของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน บนรากฐานของการเมืองแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนและชุมชน อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยแบบไตร่ตรอง (Deliberative Democracy) และความเข้มแข็งของภาคประชาชนในโดยเฉพาะในระดับชุมชนซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการเมืองในระดับประเทศสังคมการเมืองที่เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบไปด้วยการที่สมาชิกในสังคมมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ประกอบกับการมีกลไกของรัฐที่เอื้ออำนวยให้เกิดการส่งเสริมการสร้างความรู้ ความเข้าและกระบวนการการมีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมภายใต้บริบทสังคมที่มีความซับซ้อน หลากหลาย และ ไม่หยุดนิ่ง ฉะนั้น หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์จึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเพื่อให้มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบข้อเสนอเพื่อนำไปปฏิบัติ อันมีเป้าหมายที่ก่อให้การพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและชาติอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ บนฐานของความรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งในรากฐานทางปรัชญาทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์อื่น ๆ อาทิเช่น ภาษาและเทคโนโลยี เพื่อขยายโลกทัศน์ในการมองปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ หลักสูตร ฯ ได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs) ดังนี้ 1. มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างดี 2. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างดี 3. มีความเข้าใจและสามารถอธิบายความรู้ทางรัฐศาสตร์ได้ 4. มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมด้วยองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ 5. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์เพื่อนำเสนอแนวทางอันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมการเมือง อีกทั้งหลักสูตร ฯ ได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่ดากหวังของแต่ละชั้นปี (YLOs) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ชั้นปีที่ 1 มีความเข้าใจและสามารถอธิบายองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ในระดับพื้นฐานได้ ชั้นปีที่ 2 มีความเข้าใจ และสามารถอธิบาย วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาทางสังคมการเมืองด้วยองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ได้ ชั้นปีที่ 3 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาทางสังคมการเมืองที่มีความซับซ้อนได้และชั้นปีที่ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์เพื่อนำเสนอแนวทางอันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมการเมือง ดังนั้น หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อเสริมสร้างให้บัณฑิตบรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาตาม PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2567 ในวันที่ 28 มิถุนายน และ 3 กรกฎาคม 2567 ณ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตมีความรู้และมีความเข้าใจต่อ PLOs สามารถเข้าใจและบรรลุผลการเรียนรู้ในแต่ระดับชั้นปีของตน YLOs ตามที่หลักสูตรฯ ได้กำหนด

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 มีความรู้และมีความเข้าใจต่อ PLOs ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 สามารถเข้าใจและบรรลุผลการเรียนรู้ในแต่ระดับชั้นปีของตน YLOs ตามที่หลักสูตรฯ ได้กำหนด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
KPI 1 : นักศึกษาเข้าใจ PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
ชื่อกิจกรรม :
- บรรยายให้ความรู้
- ตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/06/2567 - 03/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.รุจาดล  นันทชารักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน 200 คน ๆ ละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ
(วันที่ 28 มิถุนายน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 674 คน มื้อ ละ 30 บาท
-วันที่ 28 มิถุนายน 2567 (200 คน จำนวน 2 มื้อ =12,000 บาท )
-วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 (474 คน จำนวน 1 มื้อ =14,220 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 26,220.00 บาท 0.00 บาท 26,220.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40220.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล