21618 : SAS-67 โครงการสร้างความเข้าใจในการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางสาวสุไรรัตน์ มั่นคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/6/2567 12:57:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
05/06/2567  ถึง  31/07/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  623  คน
รายละเอียด  1.นักศึกษาหลักสูตรรัฐปนะศาสนศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 จำนวน 200 คน 2.นักศึกษาหลักสูตรรัฐปนะศาสนศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 168 คน 3. นักศึกษาหลักสูตรรัฐปนะศาสนศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 จำนวน 160 คน 4 นักศึกษาหลักสูตรรัฐปนะศาสนศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 95 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 38,690.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เจตฑถ์  ดวงสงค์ถ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.2.1 พัฒนาและสนับสนุนนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-67 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-67 ร้อยละนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (ตามระยะเวลาของหลักสูตร)
กลยุทธ์ SAS ให้คำปรึกษาและแนะแนวการศึกษาในหลักสูตรตลอดจนการศึกษาเสริมหลักสูตรและการใช้ชีวิตให้แก่นักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพ อดทนสู้งาน เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรื่องวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน และความต้องการที่จะเป็นมหาวิทยาลัยการเกษตรชั้นนำในระดับนานาชาติ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จึงมุ่งเน้นผลิตบุคคลที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการบริหาร การจัดการ แนวคิดทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสมรรถนะในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ มีคุณธรรม จริยธรรมในการบริหารจัดการที่ดี ที่สนองความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของสังคม ชุมชน และท้องถิ่นได้ รวมไปถึงการดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้ออกแบบหลักสูตรและรายวิชาภายใต้ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และปรัชญาทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย และผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในทางวิชาการ เพิ่มเติมทักษะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญแก่ศาสตร์ทางด้านการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รวมถึงเข้าใจระบบการเมืองการปกครอง กฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ หลักสูตรได้นำความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Requirements) มาศึกษาวิเคราะห์และพบว่าตรงกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 จึงกำหนดกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวมภายใต้ความขัดแย้งทางค่านิยม 2. มีความสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร การประกอบอาชีพ และมีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ 3. มีความสามารถอธิบายความรู้และหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ 4. มีความสามารถในการใช้เครื่องมือการบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์และเครื่องมือการวิจัยได้ 5. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการทาง รัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ จากคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึ่งประสงค์ของหลักสูตรข้างต้น จึงได้ออกแบบรายวิชาที่สอดคล้องกับขอบเขตขององค์ความรู้ที่ครอบคลุมด้านองค์การและการจัดการด้านนโยบายสาธารณะ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และด้านการคลังและงบประมาณ รวมถึงวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ ทางหลักสูตร ฯ ได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (YLOs) รายละเอียดดังนี้ ชั้นปีที่ 1 สรุปความรู้ระดับพื้นฐานทั่วไป ตลอดจนความรู้และหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเบื้องต้นได้ ชั้นปีที่ 2 สรุปความรู้ทางภาษา เทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนอธิบาย หลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ ชั้นปีที่ 3 มีความสามารถใช้ความรู้ หลักการและเครื่องมือการบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ ชั้นปีที่ 4 ประยุกต์โดยใช้ความรู้ หลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ประเด็นหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต จึงได้จัดโครงการสร้างความเข้าใจในการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567 ในวันที่ 28 มิถุนายน และ 3 กรกฎาคม 2567 ณ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้นักศึกษาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มีความรู้และมีความเข้าใจต่อการศึกษาในหลักสูตร ทั้งปรัชญาการศึกษา ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) และรายชั้นปี (YLOs) รวมไปถึงกิจกรรมในหลักสูตร และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาบรรลุได้ตามแผนการศึกษาที่หลักสูตรกำหนดไว้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 มีความรู้และมีความเข้าใจต่อ PLOs ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 สามารถเข้าใจและบรรลุผลการเรียนรู้ในแต่ระดับชั้นปีของตน YLOs ตามที่หลักสูตรฯ ได้กำหนด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
KPI 1 : นักศึกษาเข้าใจ PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ PLOs และ YLOs ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
ชื่อกิจกรรม :
- บรรยายให้ความรู้
- ตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/06/2567 - 03/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เจตฑถ์  ดวงสงค์ถ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน 200 คน ๆ ละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ
(วันที่ 28 มิถุนายน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
623 คน ๆ ละ 30 บาท
-วันที่ 28 มิถุนายน 2567 (จำนวน 200 คน จำนวน 2 มื้อ =12,000 บาท )
-วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 (จำนวน 423 คน จำนวน 1 มื้อ =12,690 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 24,690.00 บาท 0.00 บาท 24,690.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 38690.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล