21614 : โครงการสำรวจข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและสังคม และจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจและสังคม โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายยมนา ปานันท์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/5/2567 16:25:44
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
05/06/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  250  คน
รายละเอียด  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่โครงการ 11 หมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 หมู่บ้าน และ ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 250 ตัวอย่าง
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)) 2567 180,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ดร. วีร์  พวงเพิกศึก
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุรชัย  กังวล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 5. การสร้างความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Budget and Resource Sustainability)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 5.1.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 5.1.2.3 เพิ่มรายได้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการเอื้อหรือส่งเสริมให้มีการใช้องค์ความรู้ของคณาจารย์และบุคลากรหน่วยงานในการสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานนั้น
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.6 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.6.1 สอบถามความต้องการของชุมชนเป้าหมายเพื่อบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดทางภาคเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 12,566,911 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 1,854,294 ไร่ ได้แก่พื้นที่ปลูกข้าว 556,649 ไร่ พืชไร่ 251,129 ไร่ พืชผัก 111,084 ไร่ ไม้ผล 612,148 ไร่ ไม้ยืนต้น 92,276 ไร่ มีครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 181,371 ครัวเรือน โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทาน 419,479 ไร่ และพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขต ชลประทาน 1,434,815 ไร่ ใน 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ (https://www.opsmoac.go.th/chiangmai-dwl-files-441891791322) โดยจากการรายงานภาวะเศรษฐกิจเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2566 ที่ผ่านมาเห็นได้พบว่ามีการขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน สภาพอากาศ ปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำขนาดต่างๆ ที่เอื้อต่อการผลิตภาคการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีวิถีชีวิตในการทำการเกษตร ได้แก่ การเพาะปลูกข้าว การทำสวนลำไย และการเลี้ยงวัว โดยตำบลนาคอเรือ ประกอบด้วย 9 หมู่บ้านและตำบลฮอด ประกอบด้วย 2 หมู่บ้านรวมทั้งสิ้นจำนวน 11 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ที่มีการใช้น้ำจากห้วยแม่ป่าไผ่สำหรับทำการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายและไม่ได้คุณภาพ เกษตรกรขาดรายได้ซึ่งส่งผลวัยแรงงานจำเป็นต้องเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ทางกรมชลประทานจึงได้มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งการดำเนินโครงการในลักษณะนี้มักก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยกระทบด้านลบเกิดในพื้นที่หัวงาน พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ถนนเข้าหัวงาน และบ่อยืมดินซึ่งเป็นพื้นที่ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ในการเป็นที่อยู่อาศัย ทำการเกษตร และอื่นๆ เมื่อนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินโครงการ จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่และที่ทำกิน และต่อเนื่องไปถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมของราษฎรในพื้นที่ชลประทาน ในแง่ของการมีน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อบรรเทาอุทกภัย เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำประมง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการติดตามตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความคิดเห็นของราษฎรที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนแก้ไขผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม และแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ในปีงบประมาณ 2567 ส่วนเศรษฐกิจสังคมและประเมินผลโครงการ สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจและสังคม ตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยจำนวนบุคลากรและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการติดตามตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ ได้ตามข้อกำหนดของแผนฯ ดังกล่าว ดังนั้นส่วนเศรษฐกิจสังคมและประเมินผลโครงการ สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจ้างบุคคล/สถาบันที่มีความชำนาญในการติดตามตรวจสอบและประเมินสภาพเศรษฐและสังคม ของครัวเรือนตัวอย่างในพื้นที่โครงการฯ ตามแผนการติดตามตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในการนี้ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานวิจัยและให้บริการวิชาการแก่สังคม ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านการเกษตร สังคม และสิ่งแวดล้อม และเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการสำรวจและประเมินโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิการประเมินกึ่งกลางแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ การจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง กรณีการก่อสร้างปั้มน้ำมัน PT ลำพูน 7 เทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โครงการสำรวจและประเมินความสัมพันธ์ การรับรู้ ความคิดเห็นของชุมชน ต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่และการประเมินผลการจัดงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร อาหาร สุขภาพ ดังนั้นศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร จึงได้จัดทำข้อเสนอโครงการสำรวจข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและสังคม และจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจและสังคมโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามตรวจสอบถึงผลกระทบสถานภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ รวมถึงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อการดำเนินการก่อสร้างดังกล่าวต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนอยู่ในเขตพื้นที่โครงการ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นและผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบของประชาชนที่มีต่อโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการสำรวจด้านสังคม เศรษฐกิจและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
KPI 1 : รายได้จากโครงการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
54000 126000 บาท 180000
KPI 2 : รายงานผลการสำรวจสังคม สิ่งแวดล้อมและความคิดเห็นของประชาชนต่อการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เล่ม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการสำรวจด้านสังคม เศรษฐกิจและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
ชื่อกิจกรรม :
การสำรวจข้อมูล ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและความคิดเห็นของประชาชนต่อการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ป่าไผ่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/06/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายยมนา  ปานันท์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางสาวอัณณ์ชญา  สาหร่าย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม (จำนวน 250 ชุดๆละ 350 บาท) รวมเป็นเงิน 87,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 87,500.00 บาท 0.00 บาท 87,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูลแบบสอบถาม (จำนวน 250 ชุดๆละ 50 บาท) เป็นเงิน 12,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมัน (จำนวน 5 วันๆละ 2,500 บาท จำนวน 1 คัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน (1 เล่ม) รวมเป็นเงิน 45,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม จำนวน 250 ชุดๆละ 18 บาท รวมเป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าสาธารณูปโภค 10%
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 180000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล