21609 : โครงการฉีดวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/5/2567 13:22:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/05/2567  ถึง  31/05/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  1. จำนวนสุนัขที่เข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนรวม 5 โรค
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณในการจัดโครงการ 2567 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว ทำหน้าที่ในการดูแลบ้านและเจ้าของ ช่วยผ่อนคลายความเครียด เฝ้าระวังและปกป้องภัยอันตรายให้แก่เจ้าของ ช่วยให้เจ้าของมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น การให้การเลี้ยงดู การดูแล และรักษาสุนัข จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้สุนัขมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี มีอายุยืนยาว สุนัขทุกตัวที่มีสุขภาพแข็งแรงจึงควรได้รับการทำวัคซีน โดยในปัจจุบันวัคซีนหลักที่สุนัขทุกตัวควรได้รับเพื่อป้องกันโรค มี 4 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) วัคซีนป้องกันโรคพาร์โวไวรัส-2 (Canine Parvovirus-2: CPV-2) วัคซีนป้องกันโรคไวรัสไข้หัดสุนัข (Canine Distemper Virus: CDV) และ วัคซีนป้องกันโรคอะดิโนไวรัส-2 (Canine Adenovirus-2: CAV-2) โดยเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกคือ วัคซีนรวมสุนัข 5 โรค เมื่อลูกสุนัขอายุ 2 เดือน และควรได้รับการฉีดกระตุ้นหลังจากเข็มแรกประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ และกระตุ้นซ้ำอีก 3 - 4 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนรวมเข็มที่สอง และกระตุ้นซ้ำปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นให้เพียงพอก่อการป้องกันโรค หรือเพื่อให้แสดงอาการป่วยน้อยลงเมื่อเทียบกับการไม่ได้รับวัคซีน หากสุนัขไม่ได้รับวัคซีนที่ถูกต้องและเหมาะสม การที่สุนัขสัมผัสกับเชื้อโรค จะทำให้เกิดอาการทางคลินิก และบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในการนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนรวมในสุนัขประจำปี โดยเฉพาะสุนัขที่อาศัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื่องจากสุนัขเหล่านี้ เคยได้รับวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคมาเป็นประจำทุกปี ในปีนี้จึงควรฉีดกระตุ้นซ้ำ เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคและไม่นำพาโรคมาสู่ผู้เลี้ยง จึงได้จัดทำโครงการฉีดวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567 ขึ้น เพื่อลดการระบาดของโรคติดเชื้อในสัตว์ ลดการระบาดโรคสัตว์สู่คน และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อฉีดวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคให้แก่สุนัขไม่มีเจ้าของที่อาศัยอยู่ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2. เพื่อให้สร้างความตระหนักในการทำวัคซีนรวม 5 โรคในสุนัขแก่ผู้เลี้ยงสุนัขภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการฉีดวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567
KPI 1 : ร้อยละของสุนัขที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : จำนวนสุนัขที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ตัว 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการฉีดวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567
ชื่อกิจกรรม :
ฉีดวัคซีนรวมสุนัข 5 โรคภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/05/2567 - 31/05/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงพิชญา  แสนอุบล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งเรือง  โพธิ์สิงห์ทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กรประภา  ปัญญาวีร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฐธนะนันท์  เอี่ยมตะกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นงค์รัก  คนดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. อันตรายจากสัตว์ที่มารับการฉีดวัคซีน เช่น โดนกัด ข่วน เป็นต้น 2. สัตว์บางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีนหลังฉีดวัคซีน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ให้ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้พาสัตว์เข้ารับบริการและจับบังคับสัตว์ในการฉีดวัคซีน 2. ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้สังเกตอาการแพ้หลังจากสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อย 30 นาที หากสัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีน เช่น มีอาการบวมรอบดวงตา ปาก ใบหน้า มีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามตัวและคัน อาเจียน ถ่ายเหลว หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว อ่อนแรง เดินเซ ให้รีบพาสุนัขไปยังสถานพยาบาลสัตว์ใกล้เคียง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล