21597 : โครงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานให้แก่นักศึกษา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/5/2567 16:40:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
31/05/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากเงินพัฒนานักศึกษา (รับโอนระหว่างหน่วยงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 12,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. ธนันท์ฐิตา  สะปู
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.2.3 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.2.3.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
ตัวชี้วัด 67-6.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 67-6.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและส่วนงานให้มีผลงาน การให้บริการวิชาการที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เหตุการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพจากภัยพิบัติอุบัติเหตุหรือการป่วยรุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยง ต่อการเสียชีวิต สิ่งสำคัญเร่งด่วนคือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นสามารถทำการกู้ชีพและปฐมพยาบาล อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บที่หมดสติหยุดหายใจ หัวใจ หยุดเต้น จากสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน จากการทำงานในที่อับอากาศ ไฟฟ้าช็อต อุบัติเหตุทางท้องถนน หรือผู้ป่วยจาก อาการของโรคที่มีอาการรุนแรง ซึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงเวลาที่มี ความสำคัญมาก ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือสมองตายหากสมองขาดออกซิเจนนานเกิน 4 - 6 นาที การช่วยชีวิต ณ จุดเกิดเหตุอย่างถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต หรือยืดระยะเวลาให้ ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย หลักการของการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio Pulmonary Resuscitation:CPR) คือการช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเพื่อป้องกันภาวะสมอง หัวใจ และเนื้อเยื่อของอวัยวะสำคัญ ขาดออกซิเจน ด้วยการกดหน้าอกและการช่วยหายใจในช่วงที่ผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการกดหน้าอกจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ร้อยละ 3 – 5 กรณีที่ใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติหรือเครื่อง เออีดี(Automated External Defibrillator: AED) ร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 45-50 ปัจจุบันมักพบเครื่องเออีดี ติดตั้งอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที การช่วยฟื้นคืนชีพ การใช้เครื่องเออีดีและการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน จึงเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนคนไทยทุกคนต้องได้รับการอบรม หรือเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสรอดของผู้ป่วยผู้บาดเจ็บ (สภากาชาดไทย,2563) ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrest: OHCA) เป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ที่เกิดอาการควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จากรายงานสถิติทั่วโลกพบอัตราการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลประมาณ 20-140 คนต่อประชากรแสนคน และมีผู้รอดชีวิตเพียงร้อยละ 2-11ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกาและในทวีปยุโรปซึ่งทุก ๆ ปีมีประชากรประมาณ 275,000-420,000 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล อุบัติการณ์ของภาวะหัวใจหยุดต้น สถานการณ์ทั่วโลกประมาณ 55 ต่อ 100,000 คน/ปีและอัตราอุบัติการณ์สูงที่สุดในสหรัฐอเมริกา 180,000-450,000 ราย/ปี(American Heart Association, 2020) จากสถิติข้างต้นยังมีคาดการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ของประเทศไทยจากสถิติอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลเฉพาะที่ใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ปี2555-2560 จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่ามีแนวโน้มผู้เสียชีวิตนอกโรงพยาบาลที่ใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นจากจำนวน 7,776 คน (ปี2555) คิดเป็นอัตราเสียชีวิต 12.06 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มเป็นจำนวน 13,580 คน (ปี2560) หรือคิดเป็นอัตราเสียชีวิต 20.52 ต่อประชากรแสนคน (Injury Surveillance, 2018) ในประเทศไทยยังไม่พบข้อมูลสถิติการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ชัดเจน แต่คาดการณ์ได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราป่วยจากโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2559 - 2561 เช่นเดียวกัน โดยเพิ่มจาก 503.67คนต่อแสนประชากร เป็น 515.91คน ต่อแสนประชากร (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2563) และพบว่าในประเทศไทย ปีค.ศ. 2010 มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยอาการเจ็บหน้าอกและมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันถึง 6,391 ครั้ง และพบอัตราตายจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ร้อยละ 11.3 (Kiatchoosakun, 2012)ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่เหนือ กลาง ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแต่ละภูมิภาคจะมีโรงพยาบาลระดับตติยภูมิซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงเรียนแพทย์กระจายตัวอยู่ ทั้งนี้จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นและความพร้อมของระบบบริการสุขภาพของประชาชนไทยกระจายตามแต่ละภูมิภาคการจะเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินของแต่ละภูมิภาคอยู่ในระดับใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างไรที่เกิดผลต่อการได้รับการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งเกิดได้จากสภาพภูมิประเทศ รวมทั้งระบบการบริหารจัดการระบบให้บริหารแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะสอดรับกับแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562– 2564 ที่ว่า“ลดการเสียชีวิตและความพิการจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน” ทั้งนี้ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเกิดได้จากหลายกรณีสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เป็น 2สาเหตุหลัก ได้แก่สาเหตุด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด และสาเหตุทางด้านการขาดออกซิเจน พบว่าผู้ใหญ่ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นมักเกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือดซึ่งสัมพันธ์กับคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ ventricular fibrillation ซึ่งการรักษาหลักคือ การช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า วัยเด็กมักพบว่าการขาดออกซิเจน เช่น ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ความดันโลหิตลดลงทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เป็นต้น ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด ผู้ป่วยจมน้ำ ส่งผลให้ระบบหายใจล้มเหลวหรือมีเลือดไปเลี้ยงส่วนของร่างกายไม่เพียงพอทำให้อวัยวะของร่างกายขาดออกซิเจน (American Heart Association, 2006) และนอกโรงพยาบาลมีความสำคัญอย่างมากภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (OHCA: Out-of-hospital cardiac arrest) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกพบว่ามีอัตราการรอดชีวิตเท่ากับ 2% - 11% (Meaney PA, 2013, Berdowski J, 2010) ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตสูงซึ่งควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เวลาและความล่าช้าส่งผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก American Heart Association (AHA) ให้ข้อมูลสนับสนุนว่าห่วงโซ่การรอดชีวิต ประเด็นการโทรขอความช่วยเหลือผ่านเบอร์โทรฉุกเฉิน( the emergency telephone number)เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Sutter J, 2015, Field JM, 2010) สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าในในช่วงปีพ.ศ.2563-2564 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการระบาดของโรคตลอดทั้งปีส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโรคภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก ได้แก่การให้การช่วยเหลือที่ไม่เต็มที่ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ การเพิ่มขั้นตอนคัดกรองผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ และการปรับตัวของผู้ป่วยในยุควิถีใหม่ เป็นต้นการศึกษาเกี่ยวกับระบบการให้บริการแพทย์ฉุกเฉินภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลในประเทศอิตาลี่ พบว่าค่ามัธยมฐานของเวลาการมาถึงของรถปฏิบัติฉุกเฉินการแพทย์เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า (Baldi E, 2020) ในประเทศยังไม่ยังมีการศึกษาผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลจำกัดในช่วงสถานการณ์ยุควิถีใหม่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของประเทศไทยทั้งนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล เป็นปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่งของประเทศ ที่ยังไม่ค่อยมีข้อมูลและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในบริบทสภาวะของการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ยุควิถีใหม่และหาแนวทางการพัฒนาระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลในยุควิถีใหม่ เพื่อจะลดการสูญเสียทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ อันจะเกิดจากการให้ความช่วยเหลือไม่ถูกต้อง ไม่ทันท่วงที และการเข้าถึงทักษะผู้ช่วยเหลือชีวิต ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และเพื่อให้เข้าถึงทักษะผู้ช่วยเหลือชีวิตเพื่อมนุษย์ แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติ หากได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนคาดว่าจะสามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นได้ นอกจากนั้นประชาชนทุกคนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวและสังคม อันจะนำมาซึ่งการดูแลสุขภาพในยามฉุกเฉินและในภาวะวิกฤติได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นตามมาตรฐานสากล ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯเกิดการเรียนรู้และตระหนักในความสำคัญของการช่วยชีวิตเบื้องต้น
3. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และสร้างความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นตามมาตรฐานสากล
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 คน 60
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 ร้อยละ 60
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นตามมาตรฐานสากล
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/05/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ธนันท์ฐิตา  สะปู (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล