21593 : โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่วัดหรือสถานธรรม 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/5/2567 19:12:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/01/2567  ถึง  31/05/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  5  คน
รายละเอียด  1.สุนัขและแมวจำนวน 5 ตัว
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่เบิกงบประมาณในการดำเนินงาน 2567 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมขององค์กร
เป้าประสงค์ เป็นคณะที่ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์ทางด้านสัตวแพทย์
ตัวชี้วัด 1 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตรบรูณาการกับกิจกรรมประจำปี
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในอดีตและปัจจุบันยังพบปัญหาการทิ้งสัตว์ เช่น สุนัขและแมว ไว้ที่วัดหรือสถานธรรมต่างๆ ก่อให้เกิดภาระแก่ทางวัดหรือสถานธรรมในการเลี้ยง การดูแลและการรักษาสัตว์เหล่านั้น อีกทั้งวัดหรือสถานธรรมยังเป็นศูนย์รวมของบุคคลทั่วไปในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ หากสัตว์ดังกล่าวไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและมีการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อกระจายของเชื้อจากสัตว์สู่สัตว์ และจากสัตว์สู่คนแพร่ไปสู่สังคมในวงกว้างอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่รุนแรง ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยจะไม่สามารถหายจากโรคได้ หากไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน ในสัตว์จะแสดงอาการ คือ มีไข้ ซึมหรือบางตัวดุร้ายและก้าวร้าว กลืนลำบาก น้ำลายไหล เป็นอัมพาต ชัก ระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ด้วยพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยพระองค์ทรงมีความห่วงใยถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชาติและทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย จึงเป็นที่ีมาโครงการ “สัตว ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามวาระแห่งชาติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน ในการนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัดหรือสถานธรรม จึงจัดทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่วัดหรือสถานธรรม 2567 ขึ้น เพื่อตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมวที่อาศัยอยู่ในวัดหรือสถานธรรมที่อยู่ห่างไกลออกไปจากตัวเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและไม่เป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคพิษสุนัขบ้า

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.พื่อตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมวที่อาศัยอยู่ในวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมภายในจังหวัดเชียงใหม่ 2.เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าแก่เจ้าหน้าที่ในวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมภายในจังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่วัดหรือสถานธรรม 2567
KPI 1 : ร้อยละของสุนัขและแมวที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 40 ร้อยละ 80
KPI 2 : การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 40 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนสุนัขและแมวเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 2 ตัว 5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่วัดหรือสถานธรรม 2567
ชื่อกิจกรรม :
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่วัดหรือสถานธรรม 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/01/2567 - 31/05/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งเรือง  โพธิ์สิงห์ทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฐธนะนันท์  เอี่ยมตะกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. อันตรายจากสัตว์รับบริการฉีดวัคซีน เช่น โดนกัด ข่วน เป็นต้น 2. สัตว์บางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีนหลังฉีดวัคซีน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ให้ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้พาสัตว์เข้ารับบริการและจับบังคับสัตว์ในการฉีดวัคซีน 2. ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้สังเกตอาการแพ้หลังจากสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หากสัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีนรุนแรง เช่น หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว อ่อนแรง เดินเซ ตัวร้อน มีอาการบวมรอบดวงตา ปาก ใบหน้า มีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามตัว คัน อาเจียน ถ่ายเหลว ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ใกล้เคียง และให้สังเกตอาการแพ้อย่างต่อเนื่องภายใน 48 ชั่วโมง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล