21587 : โครงการอบรมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/5/2567 10:57:47
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
24/05/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  15  คน
รายละเอียด  ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน รายรับจากค่าลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คนๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท
2567 16,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วรวุฒิ  งามพิบูลเวท
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านทรัพย์สิน การเงิน และการลงทุน
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 5. การสร้างความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Budget and Resource Sustainability)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 5.1.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 5.1.2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.4 ความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Budget and Resource Sustainability)
ตัวชี้วัด 67-6.4.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการ
กลยุทธ์ 67-6.4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยการใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มจำนวนพืชหายากหรือพืชเฉพาะถิ่นซึ่งมีจำนวนประชากรในธรรมชาติน้อย ซึ่งเป็นข้อจำกัดหนึ่งในการนำพืชกลุ่มนี้มาศึกษาวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และการพัฒนาเป็นไม้ประดับ ที่จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างพืชค่อนข้างมากในการศึกษา การเพิ่มจำนวนพืชด้วยวิธีดังกล่าวจึงช่วยลดการนำพืชเหล่านั้นออกจากสภาพธรรมชาติ ประกอบกับปัจจุบันมีเทคนิคการใช้สารเคมี เช่น สารฟอกขาว ผสมลงในอาหารสังเคราะห์ที่ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อฆ่าเชื้อทดแทนการใช้หม้อนึ่งความดันไอซึ่งมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลงอย่างมาก ช่วยให้หน่วยงานการศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสามารถนำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปใช้ในการอนุรักษ์พืชท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและนำไปสู่การใช้ประโยชน์-สร้างรายได้จากฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง โดยนำชิ้นส่วนของพืชได้แก่ ลำต้น ยอด ตาข้าง ดอก ใบ มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาวะที่ควบคุมในเรื่องของความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ สามารถนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ โดยแบ่งประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดังนี้ 1) การขยายพันธุ์พืช (Micropropagation) ผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรคปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น เพิ่มปริมาณได้ 10 เท่า ต่อการย้ายเนื้อเยื่อลงอาหารใหม่ทุกเดือน เมื่อเวลา 2 เดือนสามารถผลิตต้นพันธุ์พืชได้ถึง 100 ต้น และต้นพันธุ์ที่ได้มีลักษณะตรงตามพันธุ์เหมือนต้นแม่ 2) การปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant improvement) การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (Embryo culture) เป็นการสร้างลูกผสมโดยช่วยชีวิตเอ็มบริโอ ซึ่งรอดชีวิตได้ยากในสภาพธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงอับละอองเรณูและละอองเรณู (Pollen and anther culture) เป็นการสร้างต้น Haploid plant เพื่อลดระยะเวลาในการสร้างพันธุ์แท้ การชักนำการกลายพันธุ์ (Induced mutation) โดยใช้สารเคมี หรือรังสี เพื่อให้ได้พืชกลายพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การรวมโปรโตพลาสต์ (Protoplast fusion) และเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (Genetic engineering) 3) การอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืช (Germplasm conservation, Gene bank)การเก็บรักษาพันธุ์พืชหายาก โดยชักนำ ให้พืชในขวดเพาะเลี้ยงมีอัตราการเจริญอย่างช้า ๆ สามารถคงสภาพและมีชีวิตได้ในเวลาที่ยาวนาน เป็นการประหยัดพื้นที่และแรงงาน และการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชในขวดเพาะเลี้ยง เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่มีสำรองตลอดเวลา 4) การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างประเทศ (International transfer)การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่อยู่ในสภาพปลอดเชื้อช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคพืช และ 5) การผลิตสารทุติยภูมิ (secondary metabolite production) การผลิตสารต่าง ๆ ที่ใช้ทางด้านการแพทย์ และการเกษตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้ผู้เข้าเรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักการ และขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น
2 เพื่อให้ผู้เข้าเรียนมีทักษะปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
3 เพื่อให้ผู้เข้าเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่การใช้ประโยชน์ และสร้างรายได้จากฐานทรัพยากร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการอบรมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนพืชเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนเงินรายได้ (กำไรสุทธิ) ที่นำส่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6000 บาท 6000
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15 คน 15
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการอบรมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการ "การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/05/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วรวุฒิ  งามพิบูลเวท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ประเจต  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์กษมา  ถาอ้าย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเปรมชัย  สุทธคุณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและคณะทำงาน จำนวน 25 คน ๆ ละ 4 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและคณะทำงาน จำนวน 25 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 7,500 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล