21467 : โครงการบริการวิชาการเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน-สันเกี๋ยง สู่การเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน-สันเกี๋ยง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.อุรัชชา สุวพานิช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/3/2567 9:25:14
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/03/2567  ถึง  20/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  1) ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 5 คน 2) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน-สันเกี๋ยง จำนวน 90 คน และเกษตรกรในชุมชนบ้านแม่ปาน และบ้านสันเกี๋ยง 3) ผู้บริหาร/ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณสนับสนุนจากโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
น.ส. อุรัชชา  สุวพานิช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านบริการวิชาการ)
เป้าประสงค์ 67Info-2.5 บริการวิชาการและชี้นำแนวทางต่อการพัฒนาสังคม
ตัวชี้วัด 67Info-2.17 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67Info-2.5.1 คณะฯ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดผลงานตามความเชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านสื่อดิจิทัลและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในกิจกรรมของชุมชนที่มีการใช้สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกในการพัฒนาชุมชนสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานใหญ่ของประเทศ หรือที่เรียกว่า "เศรษฐกิจฐานราก" ซึ่งการจะทำให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางอาหาร และมีรายได้อย่างยั่งยืนบนพื้นที่ของตนเอง จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อบูรณาการนโยบายทางเศรษฐกิจที่ภาครัฐได้วางยุทธศาสตร์และเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ผลักดัน และพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติ ให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศีลธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน โดยการน้อมนำและสืบสานพระราชดำริและศาสตร์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การระเบิดจากข้างใน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา บนรากฐานของ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผสานกับรากเหง้าขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นที่มีอยู่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม คือ การร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตระหนักถึงความสําคัญในบทบาทของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการให้บริการวิชาการ จึงได้จัดโครงการ “บริการวิชาการเพื่อยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน - สันเกี๋ยง สู่การเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน - สันเกี๋ยง" เพื่อเชื่อมโยงและเผยแพร่ความรู้/องค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ สู่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับคนในท้องถิ่นชุมชน ด้วยการส่งเสริม สนับสนุน ขับเคลื่อน และผลักดันให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ได้รับการยกระดับเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น และบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และเพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นมีมาตรฐาน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งประโยชน์ที่ชุมชนท้องถิ่นจะได้รับจากการจัดตั้งเป็นสหกรณ์ คือ 1) การรวมกันเป็นสหกรณ์ทำให้มีผลในการต่อรอง ทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้าที่สมาชิกผลิตได้ 2) สร้างพื้นฐานแห่งคุณค่าของการช่วยตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเอง และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งพาตนเอง 3) ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ปรองดอง ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ 4) การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ 5) สหกรณ์เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก 6) สหกรณ์ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น 7) หลักการสหกรณ์ช่วยส่งเสริมความเสมอภาคกัน และเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการออกเสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์ 8) หลักการสหกรณ์ช่วยส่งเสริมความเที่ยงธรรม และความเป็นเอกภาพ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในคุณค่าทางจริยธรรมแห่งความสุจริต ความเปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น 9) สหกรณ์ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์ และสนับสนุนด้านเงินทุน การผลิตควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้น ๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับผู้ผลิตสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์การเกษตร รวมถึงท้องถิ่นชุมชน/ หน่วยงานหรือองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เกี่ยวกับการเตรียมการเบื้องต้น ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดตั้งสหกรณ์อย่างมีคุณภาพ
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น” สู่การเป็น “สหกรณ์วิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ กับท้องถิ่นชุมชน/ หน่วยงานหรือองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
KPI 1 : จำนวนบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ กับหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1
ผลผลิต : 2. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการเตรียมการเบื้องต้น ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดตั้งสหกรณ์อย่างมีคุณภาพ เพิ่มมากขึ้น
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 2 : ร้อยละของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการเตรียมการเบื้องต้น ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดตั้งสหกรณ์อย่างมีคุณภาพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : 3. วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการขอจัดตั้งเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนฯ ได้อย่างถูกต้อง
KPI 1 : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการขอจัดตั้งสหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ไม่น้อยกว่า 4 ขั้นตอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ระดับ 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ กับท้องถิ่นชุมชน/ หน่วยงานหรือองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/03/2567 - 31/05/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร  เรืองนภากุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : 2. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการเตรียมการเบื้องต้น ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดตั้งสหกรณ์อย่างมีคุณภาพ เพิ่มมากขึ้น
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน - สันเกี๋ยง สู่การเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน - สันเกี๋ยง"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 03/04/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าที่พัก(ผู้ปฏิบัติงาน) จำนวน 2 ห้อง x 500.- บาท x 2 คืน
- ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (สำหรับผู้ปฏิบัติงาน; ไป-กลับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ) จำนวน 1 คัน x 4.- บาท x 138 กม.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 4 มื้อ x 35.- บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 2 มื้อ x 120.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 41,104.00 บาท 0.00 บาท 41,104.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ภายนอกบุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน x 3 ชม. X 500.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ป้ายไวนิล 1,350.- บาท
- ค่าถ่ายเอกสาร (ประกอบการอบรม) จำนวน 1,546.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,896.00 บาท 0.00 บาท 2,896.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
ผลผลิต : 3. วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการขอจัดตั้งเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนฯ ได้อย่างถูกต้อง
ชื่อกิจกรรม :
ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการจัดตั้งเป็นสหกรณ์วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน - สันเกี๋ยง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 20/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การขอจัดตั้งสหกรณ์ มีระเบียบข้อบังคับและขั้นตอนสำหรับการสหกรณ์ค่อนข้างมาก และทุกขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมาก อาจดำเนินการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ไม่แล้วเสร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานและขอความอนุเคราะห์การดำเนินการจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เข้าไปให้ความรู้และร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจฯ ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้การดำเนินงานได้รับความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล