21453 : โครงการบริหารจัดการความเสี่ยง (จำนวน 2 โครงการ/กิจกรรม)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางวันทินี ปิ่นแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/3/2567 15:49:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  06/03/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน ประกอบด้วย 1. ผู้ช่วยอธิการบดี 2. ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี/หรือเรียกเป็นอย่างอื่นที่เทียบเท่า 3. ผู้ปฏิบัติงานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. บุคลากรกองพัฒนาคุณภาพ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ กองพัฒนาคุณภาพ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบยุทธศาสตร์ในความรับผิดชอบของผู้ช่วยอธิการบดี ปีงบประมาณ 2567 เงินรายได้ 2567 21,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. หนึ่งฤทัย  บุญตวย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดา  ศรีนฤวรรณ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองพัฒนาคุณภาพ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.6 ผลการประกันคุณภาพภายใน
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.6.1 สนับสนุนให้มีการพัฒนา ผลักดันการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในที่เน้นการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์มาตรฐานระดับอาเซียน อย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ด้วยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 79 โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง จึงได้กำหนดการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ทั่วทั้งองค์กร 2 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับมหาวิทยาลัย และ 2. ระดับส่วนงาน/หน่วยงาน ได้แก่คณะ วิทยาลัย สำนัก หน่วยงานวิสาหกิจ หรือเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีฐานเทียบเท่า และให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ ซึ่งการบริหารความเสี่ยงจะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อทุกส่วนงาน/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมีความเข้าใจตรงกัน สามารถปฏิบัติตามแนวทางและขั้นตอนที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมถึงสอดคล้องเชื่อมโยง มีเป้าหมายและทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์ และการบริหารความเสี่ยงยังสามารถส่งเสริมสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและส่วนงานบรรลุเป้าหมาย วิสยทัศน์ ตลอดจนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนในทุกระดับ รวมถึงยังสามารถเพิ่มมูลค่าความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในการบริหารงาน การกำกับดูแล และปกป้องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบงานอันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย ซึ่งในปีที่ผ่านมาผลจาการตรวจสอบระบบจากกองตรวจสอบภายใน และข้อสังเกตที่กองพัฒนาคุณภาพพบ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานในระดับส่วนงาน/หน่วยงาน ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ระหว่างการบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน, การกำหนดประเด็นความเสี่ยงไม่ครบประเภทความเสี่ยง ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด, การจัดทำแผนและการรายงานผล ข้อมูลไม่ตรงกัน, การระบุข้อมูลในการจัดวางการควบคุมภายใน (ระบบ ICS) ยังไม่สมบูรณ์, รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละรอบไม่ครบถ้วน/ขาดหายไปทั้งในส่วนของประเด็นความเสี่ยง และการดำเนินกิจกรรมควบคุม ดังนั้น มหาวิทยาลัย โดยกองพัฒนาคุณภาพ จึงได้จัดโครงการ “ซักซ้อมทำความเข้าใจแนวทางการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน” เพื่อให้ทุกส่วนงาน/หน่วยงานมีความเข้าใจตรงกันและสามารถปฏิบัติงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี่ยวกันทั่วทั้งองค์กร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
4.1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในคู่มือการบริหารความเสี่ยง และคู่มือการควบคุมภายใน ในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และจัดวางการควบคุมภายใน
4.2 เพื่อให้ทุกส่วนงาน/หน่วยงาน มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เทคนิค กระบวนการขั้นตอน และสามารถปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยง และการจัดวางการควบคุมภายใน เป็นไปตามนโยบาย คู่มือ แนวทางการดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4.3 เพื่อให้ทุกส่วนงานมีความรู้ ความเข้าใจ การบริหารความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับระบบการประกันคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาใน sub-criteria 8.7
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 5.1 ส่วนงาน/หน่วยงานสามารถดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการจัดวางการควบคุมภายใน ที่เป็นไปตามคู่มือ แนวการดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด
KPI 1 : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้ และเข้าใจในกระบวนการ/แนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระดับดี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.41 3.41 3.41
ผลผลิต : 5.2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง และการจัดวางการควบคุมเป็นไปตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน/หน่วยงาน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร
KPI 1 : 2. ผู้เข้าร่วมสามารถนำนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในของส่วนงาน ระดับดี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.41 3.41 3.41
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 5.1 ส่วนงาน/หน่วยงานสามารถดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการจัดวางการควบคุมภายใน ที่เป็นไปตามคู่มือ แนวการดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม ซักซ้อมทำความเข้าใจแนวทางการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/03/2567 - 06/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.หนึ่งฤทัย  บุญตวย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท
3. ค่าธรรมเนียมห้องประชุม จำนวน 1 วันๆละ 3,000 บาท
4. ค่าธรรมเนียมห้องอาหาร จำนวน 1 วันๆละ 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 17,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17200.00
ผลผลิต : 5.2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง และการจัดวางการควบคุมเป็นไปตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน/หน่วยงาน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม พัฒนาระบบ Internal Control System เพื่อการควบคุมภายใน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/11/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.หนึ่งฤทัย  บุญตวย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าล่วงเวลาการปฏิบัติงานนอกเวลานักวิชาการคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบ Internal Control System จำนวน 2 เดือนๆละ 2,200 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 4,400 บาท (ต.ค. - พ.ย. 2566)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล