21445 : โครงการถวายเทียนพรรษา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/3/2567 14:43:51
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/03/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ และประชาชนทั่วไปโดยรอบ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2567 2,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ภิญโญ  ผลงาม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.2.1 พัฒนาแผนและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-4 เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 67-4.1 การเป็นสถาบันที่เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 67-4.1.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-4.1.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม วันเข้าพรรษาเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน มีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน ประโยชน์ของการเข้าพรรษาของพระภิกษุที่มีต่อพุทธศาสนิกชน คือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานั้น จะมีการจัดพิธีการต่าง ๆ เช่น พิธีหล่อและแห่เทียนเข้าพรรษา พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น พิธีหล่อเทียนเข้าพรรษา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เพราะเมื่อสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างในปัจจุบัน เวลาพระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์ท่องจำตำรับตำรา ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ ตะเกียง และเทียนไข ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนถวาย โดยการเรี่ยไรขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธา เมื่อมีมากพอแล้วจึงทำการหล่อที่วัดหรือสถานที่จัดงาน ทำการตกแต่งประดับประดาและแกะสลักลวดลายสวยงาม มีการประกวดประชันความสวยงามกันเป็นที่ครื้นเครง ก่อนถึงวันเข้าพรรษา 1 วัน จะจัดให้มีการฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพสมโภช นิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งพิธีการเหล่านี้สุดแล้วแต่จะเห็นสมควร พอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษา จึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายพระตามวัดต่าง ๆ แม้ในปัจจุบันบ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองมีไฟฟ้าใช้กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมประกอบพิธีหล่อเทียนและแห่เทียนเข้าพรรษากันอยู่ บางจังหวัดจัดเป็นงานประเพณียิ่งใหญ่ระดับประเทศ เช่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์ ถือว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่ส่องสว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจวัตรของสงฆ์ ฝ่ายทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามนี้ ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกับชมรมพุทธศาสตร์และองค์การนักศึกษาจัดทำโครงการแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ร่วมกันทำบุญไหว้พระตลอดจนได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีการแห่เทียนเข้าพรรษา รวมทั้งเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงานร่วมกันซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคีภายในมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามนี้ให้คงอยู่ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งประเพณีการแห่เทียนเข้าพรรษาให้มีสืบต่อไป
2. เพื่อให้นักศึกษาทุกชั้นปี คณาจารย์และบุคลากร ในมหาวิทยาลัยได้ทำบุญแห่เทียนเข้าพรรษาร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ถวายเทียนพรรษา
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 คน 200
KPI 3 : จำนวนกิจกรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กิจกรรม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ถวายเทียนพรรษา
ชื่อกิจกรรม :
ถวายเทียนพรรษาเนื่องในวันเข้าพรรษา ประจำปี 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายภิญโญ  ผลงาม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น เทียนพรรษา จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 1,250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002โครงการถวายเทียนพรรษา.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล