21442 : โครงการนำร่องฟื้นฟูการอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพันด้วยวิธีการผสมเทียมเพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภาคใต้ตอนบน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายกฤษฎิ์ พลไทย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/3/2567 15:58:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  - นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จำนวน 100 คน - ประชาชนทั่วไป จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินเหลือจ่ายเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 >ผลงานการให้บริการวิชาการ > กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ > แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม > งานบริการวิชาการแก่ชุมชน > กอบงทุนบริการวิชาการ > งบเงินอุดหนุน 2567 50,220.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย กฤษฎิ์  พลไทย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 29. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.3.3 โครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยตามแนวทาง Well- Being @Chumphon
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 30. ขับเคลื่อนความเป็นอัตลักษณ์ของคณะให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างจุดแข็งให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปลาดุกลำพัน Prophagorus nieuhofii เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในครอบครัว Clariidae เช่นเดียวกับปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ลำตัวยาวเรียว มีสีคล้ำอมน้ำตาลแดง มีจุดสีเหลืองทองเป็นแนวตั้งตลอดลำตัว ขนาดทั่วไปความยาว 30-40 เซนติเมตร มีถิ่นที่อยู่อาศัยและดำรงพันธุ์ในแหล่งป่าพรุซึ่งสภาพน้ำเป็นกรดอ่อนๆ (pH 3.7-5.6) สามารถเติบโตได้ดีในแหล่งที่มีอินทรียวัตถุทับถมอยู่ใต้ท้องน้ำเท่านั้น ในอดีตที่ผ่านมาสามารถพบได้ในป่าพรุทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคยมีปริมาณประชากรชุกชุมในเขตภาคใต้แทบทุกจังหวัด โดยเฉพาะป่าพรุควนเคร็ง, ป่าพรุใหญ่ ตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ป่าพรุอำเภอปะทิว อำเภอพะโต๊ะ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร แต่ด้วยเหตุป่าพรุเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิมด้วยสาเหตุหลายประการ อาทิเช่น การถูกบุกรุกทางการเกษตร และอุตสาหกรรม อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้ดินป่าพรุยุบตัวเปลี่ยนสภาพ จนทำให้ปลาดุกลำพันเริ่มหมดไปจากธรรมชาติ สิ่งสำคัญเมื่อจำนวนประชากรลดลง ทำให้คุณค่าและราคาสูงขึ้น รสชาติเนื้อที่ดีกว่าปลาดุกชนิดอื่น กับลวดลายที่สวยงาม ทำให้ปลาดุกลำพันกลายเป็นสินค้าหายาก ทั้งในกลุ่มผู้ค้าเนื้อปลา และกลุ่มปลาสวยงาม ความแปรปรวนดังกล่าวถูกปล่อยผ่านข้ามมาหลาย พ.ศ. โดยไม่คาดคิดว่าวันหนึ่งปลาดุกลำพันกำลังจะสูญพันธุ์ จนกระทั่ง Humphrey และ Bain (1990) ได้ระบุว่า ปลาดุกลำพันเป็นปลาที่อยู่ในสภาวะที่ถูกคุกคาม ในขณะเดียวกันสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (2540) จัดให้ปลาดุกลำพันเป็นปลาที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable) ซึ่งอาจเกิดจากแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอย่างจำกัดถูกบุกรุกทำลาย และความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ ทั้งนี้หากนับถอยหลังไปเท่ากับหลาย 10 ปีที่มีสัญญาณบ่งบอกให้ทราบถึงการกำลังจะสูญเสียเผ่าพันธุ์ปลาดุกลำพันไป จึงทำให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนตื่นตัวเร่งอนุรักษ์ไว้ ควบคู่กับการศึกษาวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงอย่างจริงจัง แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกกิจกรรมค่อยๆ เบาบางไปด้วยปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น การขับเคลื่อนในระดับภาครัฐที่มีแรงกระตุ้นน้อยลง แต่ที่สำคัญที่สุดคือข้อจำกัดของสายพันธุ์ในด้านการสืบพันธุ์ และการปรับตัวในถิ่นอาศัยที่ถูกกำหนดขึ้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์น้อยลง จนในที่สุดเผ่าพันธุ์ปลาดุกลำพันยังตกในสภาวะวิกฤติเช่นเดิม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และข้าพเจ้าผู้ดำเนินโครงการ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความรับผิดชอบต่อการรักษาไว้ซึ่งพันธุกรรมปลาดุกลำพัน เพื่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ไปสู่การเชื่อมโยงเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศ เป็นแหล่งศึกษาวิจัยและอัตลักษณ์ของภูมิภาคเขตภาคใต้ตอนบน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จึงได้ริเริ่มศึกษาวิจัยเพื่อค้นพบวิธีการเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกลำพันด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนการปรับสภาพการดำรงพันธุ์ให้ปลาดุกลำพันสามารถดำรงพันธุ์ได้ในพื้นที่บ่อเลี้ยงเช่นเดียวกับพันธุ์ปลาน้ำจืดทั่วไป และได้ค้นพบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2550 และเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้มีโอกาสจัดนิทรรศการถวายต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรเยี่ยมชมเนื่องในวโรกาสเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ในปี พ.ศ. 2551 และทรงดำริว่าเห็นควรให้ช่วยกันเร่งอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพัน และปลาอีกหลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ด้วยตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณตามกระแสพระราชดำริ ข้าพเจ้าและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จึงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพันมาจนถึงปัจจุบันด้วยวิธีการผสมเทียม และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตป่าพรุคันธุลี รวมพื้นที่ 875 ไร่ และแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้เคียง ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา 4 โครงการดังนี้ 1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพัน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2. การศึกษาอัตราการรอดของปลาดุกลำพันวัยอ่อนที่เพาะฟักด้วยระบบน้ำไหล 3. การศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การเจริญพันธุ์ (GSI) ของปลาดุกลำพัน 4. การศึกษาการเจริญเติบโตของลูกปลาดุกลำพันที่เลี้ยงในระบบ จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร มีบ่อพ่อ-แม่พันธุ์ที่จำลองระบบนิเวศน์เลียนแบบป่าพรุโดยลดระดับความเหมือนลง 50% เพื่อพัฒนาด้านชีววิทยาและการดำรงพันธุ์ให้ปลาดุกลำพันขยายพันธุ์ได้ในสภาพที่ต่างจากเดิมสำเร็จได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านปัจจัยหลายๆ อย่าง อาทิเช่นงบประมาณ ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง และบุคลากร จึงทำให้กิจกรรมต่างๆ ใช้เวลาในการขับเคลื่อนค่อนข้างช้าตามสภาวะต่างๆ จนกระทั่งปัจจุบันคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร และข้าพเจ้าผู้ดำเนินโครงการเล็งเห็นว่าด้วยเร่งอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพันด้วยวิธีการผสมเทียม เพาะเลี้ยงในระบบเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ป่าพรุที่สมบูรณ์ ให้เป็นแหล่งอาหารแก่ชุมชน ตลอดจนการพัฒนารองรับการศึกษาวิจัยของบัณฑิตและประชาชนทั่วไป จนกระทั่งมีโอกาสพัฒนาให้ปลาดุกลำพันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจจากฟาร์มเพื่อทดแทนการคุกคามในธรรมชาติ จะทำให้วิกฤติดังกล่าวเป็นการแก้ไขที่ยั่งยืนและถาวร ทั้งในด้านระบบนิเวศน์ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการศึกษาอีกหนทางหนึ่ง อีกทั้งในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ยังคงมีผู้ดำเนินการเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยมาก จึงอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์และความสูญเสีย จึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นเพื่อดำเนินโครงการนำร่องฟื้นฟูการอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพันด้วยวิธีการผสมเทียม เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ภาคใต้ตอนบน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ซึ่งปัจจุบันได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมชนอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งรับผิดชอบการดูแลฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุคันธุลีเป็นอย่างดี ตลอดจนการสนับสนุนในภาคจังหวัดของจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้โครงการดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ เกิดประโยชน์ต่อภาคประชาชนอย่างยั่งยืน ภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร จึงได้เสนอโครงการดังกล่าวมาในครั้งนี้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาฟื้นฟูการเพาะเลี้ยงปลาดุกลำพัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพันในระดับภาคใต้ตอนบน
เพื่อผลิตลูกปลาดุกลำพันคืนสู่ธรรมชาติ สร้างสมดุลในระบบนิเวศน์ และเป็นแหล่งอาหารในชุมชน
เพื่อให้บริการด้านการศึกษาและวิจัยแก่นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
เพื่อพัฒนาเป็นรายได้แก่มหาวิทยาลัยจากการให้บริการวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพัน
KPI 1 : ผลิตลูกปลาดุกลำพันที่ผ่านการรอดตายในระบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15000 ตัว 15000
KPI 2 : ระยะเวลาที่โครงการแล้วเสร็จ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
8 เดือน 8
KPI 3 : ฐานเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกรำพัน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ศูนย์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุกรรมปลาดุกลำพัน
ชื่อกิจกรรม :
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ปลาดุกลำพัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 31/05/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษฎิ์  พลไทย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาเตรียมบ่อเลี้ยงพ่อ-แม่พันธ์ุปลาดุกลำพัน จำนวน 5 บ่อๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำโปสเตอร์ (ขนาด 100x60 ซม.) จำนวน 2 แผ่นๆ ละ 360 บาท เป็นเงิน 720 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,720.00 บาท 0.00 บาท 4,720.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ดินเหนียวเลี้ยงปลา จำนวน 100 กก.ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- อวน จำนวน 20 กก.ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 11220.00
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกลำพัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษฎิ์  พลไทย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- พ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกลำพัน จำนวน 50 ตัวๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- เนื้อไก่สับ จำนวน 25 กก.ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 23,000.00 บาท 0.00 บาท 23,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23000.00
ชื่อกิจกรรม :
อัตราการรอดของการอนุบาลปลาดุกลำพันจากการผสมเทียม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษฎิ์  พลไทย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกลำพัน จำนวน 40 วันๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ไรแดงแช่เข็ง จำนวน 20 กก.ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ความไม่สมบูรณ์เพศของพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกลำพัน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและใช้อาหารโปรตีนสูงเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกลำพัน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ศท 304/10700203 ศาสตร์และศิลป์แห่งปัญญาชน บูรณาการในหัวข้อ ศาสตร์ในการประกอบอาชีพ
ช่วงเวลา : 20/04/2567 - 27/04/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
กช 321 เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บูรณาการในหัวข้ เกษตรทฤษฎีใหม่
ช่วงเวลา : 20/07/2567 - 30/07/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
ศท 013 สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต บูรณาการในหัวข้อ ที่มาของอาหารเพื่อสุขภาพ
ช่วงเวลา : 15/02/2567 - 22/02/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล