21438 : โครงการเสริมสร้างความรู้เชิงปฏิบัติในการจัดการธุรกิจประมง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/3/2567 15:46:28
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/03/2567  ถึง  29/03/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 21 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน อาจารย์ประจำคณะ จำนวน 3 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินสะสมเพื่อรองรับการขยายและหรือพัฒนางาน เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2567 แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมหลักจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แผนงานการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาเทคโนโลยีการประมงฯ กองทุนเพื่อการศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 60,000 บาท 2567 60,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.6 ผลการประกันคุณภาพภายใน
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.6.1 สนับสนุนให้มีการพัฒนา ผลักดันการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในที่เน้นการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์มาตรฐานระดับอาเซียน อย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.1 ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด FT-67-2.1.7.(7) ผลการประกันคุณภาพภายในของคณะ
กลยุทธ์ FT-67-2.1.4 กำกับติดตามการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง จึงได้จัดโครงการเสริมสร้างความรู้เชิงปฏิบัติในการจัดการธุรกิจประมงขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาในการนำไปใช้ประกอบอาชีพที่หลากหลายในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษา และพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLO) ที่กำหนดในแต่ละรายวิชา ได้แก่ 1) วิชา 10901110 เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง 2) วิชา 10901119 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงสมัยใหม่ 3) วิชา 10902332 การจัดการสินค้าประมงสำหรับธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 4) วิชา นป321 การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนประมงเชิงธุรกิจ 5) วิชา นป213 นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 6) วิชา จป323 การตลาดสินค้าประมงสำหรับเจ้าของธุรกิจ 7) วิชา นป323 การจัดการผลผลิตประมงเชิงธุรกิจ และ 8) วิชา นป324 การเป็นผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ 1) PLO 2 มีความรู้ ความเข้าใจ และอธิบายความสัมพันธ์ของหลักการ แนวคิดและทักษะต่าง ๆ ทางด้านการประมงและการจัดการธุรกิจประมง 2) PLO 3 การวิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานด้านธุรกิจประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3) PLO 4 วิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 4) PLO 5 สามารถนำความรู้ด้านการประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและธุรกิจ การจัดการธุรกิจประมงเพื่อใช้ประกอบอาชีพอิสระได้ ซึ่งประเมินได้จากผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (Course Learning Outcomes : CLO) การปรับปรุงกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ให้แก่นักศึกษาภายใต้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ให้ทันสมัยและตอบโจทย์ผู้ใช้บัณฑิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ด้วยเหตุนี้การศึกษาดูงานสามารถเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความสัมพันธ์ในการทำงานและการทำงานเป็นทีมช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองความคิดเห็นต่าง ๆ ร่วมกันในสถานการ์หรือเหตุการณ์เดียวกัน ช่วยเหลือกันและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เปิดมุมมองและประสบการณ์และนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และสามารถต่อยอดจากสิ่งที่เรียนรู้สู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) การอนุรักษ์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและหญ้าทะเล 2) การจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ การแปรรูปเบื้องต้น การจัดเก็บ การขนส่งสัตว์น้ำและการตลาด และ 3) การวิจัยและพัฒนา การแปรรูปขั้นสูง การจัดเก็บ และการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำและสาหร่าย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ การแปรรูปและการตลาดสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมงให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ การแปรรูปและการตลาดสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง
KPI 1 : ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 2 : ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 25 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ การแปรรูปและการตลาดสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง
ชื่อกิจกรรม :
โครงการเสริมสร้างความรู้เชิงปฏิบัติในการจัดการธุรกิจประมง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/03/2567 - 29/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 3 คัน ๆ จำนวน 4 วัน ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง (บุคลากร) จำนวน 3 คน ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,880.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,880.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก (บุคลากร) จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 คืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 25,920 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,920.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,920.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล