21373 : โครงการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากล
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/02/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 10700317 ภาษาอังกฤษเพื่อผู้ประกอบการทางการเกษตรสร้างสรรค์ และผู้ที่สนใจจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรับฝากจากผู้ประกอบการ "น้ำพริกกากหมูคุณแม่" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 1,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ อลิษา  อินจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.3 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 67-6.3.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 67-6.3.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มา ประยุกต์ใช้สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพร้อมรับปรับเปลี่ยนกับสถานการณ์โลก ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม แต่เกษตรกรกลับเป็นผู้มีรายได้ต่ำ เหตุจากราคาผลิตผลที่ผันผวนตลอดเวลา ในขณะที่นานาชาติได้สนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร (Agripreneur) ที่สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนและพึ่งพาตัวเองได้ในระยะยาวและเมื่อวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านการศึกษาพบว่าประเทศไทยอยู่อันดับท้ายๆ ในทุกด้านโดยเฉพาะทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ด้วยเหตุผลนี้ คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มทักษะความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางภาษา เพื่อขยายโอกาสทางการค้าหรือห่วงโซ่คุณค่าให้ก้าวไกลและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ด้วยการมอบโอกาสให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้ประกอบการทางการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จเพื่อเป็นกรณีศึกษา สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ จึงได้จัดโครงการ การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากล สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 10700317 ภาษาอังกฤษเพื่อผู้ประกอบการทางการเกษตรสร้างสรรค์ และผู้ที่สนใจจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ เพื่อของบประมาณสนับสนุนทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจตามเจตนารมย์ของมหาวิทยาลัยได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากล
2. เพื่อสร้างความเข้าใจ สนับสนุนและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรณีศึกษากับผู้ประกอบการที่ ประสบผลสำเร็จ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากล
KPI 1 : ดำเนินการโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1500 บาท 1500
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 5 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรและการใช้นวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากลเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากล
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเสวนาสร้างความรู้และทักษะเกี่ยวกับแนวทางการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตรและการใช้นวัตกรรมทางภาษาสู่การส่งออกระดับสากล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 17/02/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อลิษา  อินจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 700 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
วันธรรมดานักศึกษาไม่สะดวก อาจต้องจัดกิจกรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประชาสัมพันธ์โครงการล่วงหน้า
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา 10700317 ภาษาอังกฤษเพื่อผู้ประกอบการทางการเกษตรสร้างสรรค์
ช่วงเวลา : 17/02/2567 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล