21338 : โครงการ “ธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม; สร้างฝายมีชีวิตเพื่ออนุรักษ์คน น้ำ ป่า และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจําปี 2567”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.อุรัชชา สุวพานิช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
05/02/2567  ถึง  05/05/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  1. ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 2 คน 2. ผู้แทนจากหน่วยงาน/องค์การ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน จำนวน 20 คน 3. วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน - สันเกี๋ยง 2 จำนวน 20 คน 4. ชาวชุมชนบ้านแม่ปาน และบ้านสันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 58 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณสนับสนุนจากเงินบริจาคสนับสนุนหน่วยงานเพื่อศึกษา วิจัยและบริการวิชาการ โครงการ “ธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม: สร้างฝายมีชีวิตเพื่ออนุรักษ์คน น้ำ ป่า และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566” 2567 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
น.ส. อุรัชชา  สุวพานิช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านบริการวิชาการ)
เป้าประสงค์ 67Info-2.5 บริการวิชาการและชี้นำแนวทางต่อการพัฒนาสังคม
ตัวชี้วัด 67Info-2.17 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67Info-2.5.1 คณะฯ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดผลงานตามความเชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านสื่อดิจิทัลและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในกิจกรรมของชุมชนที่มีการใช้สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกในการพัฒนาชุมชนสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม; แม่ปาน – สันเกี๋ยง โมเดล ของคณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร (รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์) โดยการน้อมนำและสืบสานพระราชดำริและศาสตร์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การระเบิดจากข้างใน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา บนรากฐานของ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผสานกับรากเหง้าขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน ส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ให้ดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ และสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง ใช้ระบบประชาธิปไตยร่วมตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมต่อหลักปฏิบัติ ในการใช้หลักธรรมนำความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงให้กับผืนป่า น้ำ และชุมชน ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขที่ยั่งยืน รวมถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจากการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ชุมชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของการฟื้นฟูป่า รักษา พัฒนา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อกักเก็บรักษาน้ำไว้ใช้ทั้งบริโภคและการเกษตร จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนนำแนวคิดการแก้ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ในโอกาสนี้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เห็นถึงความสําคัญของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นสืบสาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษา สืบทอดประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตรร่วมกับท้องถิ่นชุมชน จึงได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด, ชุมชนบ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้โครงการ “ธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม; สร้างฝายมีชีวิตเพื่ออนุรักษ์คน น้ำ ป่า และอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในการสนับสนุนและผลักดันการมีส่วนร่วมสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมไปกับการดำรงรักษา ถ่ายทอดและเผยแพร่ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร เพื่อการสร้างอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การภาครัฐบาลและภาคเอกชน ในการสืบสานและสืบทอดประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเน้นวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ พันธ์ุพืช และสัตว์น้ำ
3. เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และการท่องเที่ยววิถีชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงท้องถิ่นชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
KPI 1 : เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กับท้องถิ่นและชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 หน่วยงาน 5
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่
KPI 1 : 1. ร้อยละของชุมชนบ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ท้องถิ่นชุมชนมีอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และการท่องเที่ยววิถีชุมชน
KPI 1 : ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ค่าเฉลี่ย 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงท้องถิ่นชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
ชื่อกิจกรรม :
สํารวจพื้นที่ในการจัดสร้างฝายชะลอน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/02/2567 - 11/02/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน (บุคลากร)
- เช่าที่พัก จำนวน 2 ห้อง x 600.- บาท x 2 คืน = 2,400.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2400.00
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ และการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการน้ำ เพื่อการอนุรักษ์คน น้ำ ป่า (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) สู่อาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/02/2567 - 13/02/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน (บุคลากร)
- เช่าที่พัก จำนวน 2 ห้อง x 600.- บาท x 2 คืน = 2,400.- บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 100.- บาท x 1 มื้อ = 4,000.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6400.00
ผลผลิต : ท้องถิ่นชุมชนมีอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และการท่องเที่ยววิถีชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
นำความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมสู่การปฏิบัติจริง : จัดสร้างฝายชะลอน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/02/2567 - 15/02/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางปฏิบัติงาน (บุคลากร)
- เช่าที่พัก จำนวน 2 ห้อง x 600.- บาท x 1 คืน = 1,200.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล