21333 : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้เทคนิคไมโครเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (Micro-XRF) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ชนิดฟิลด์อิมิชชั่น (FE-SEM) ในการวิเคราะห์โครงสร้างชิ้นงานระดับไมโครและนาโนเมตร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.สุชัญญา โกจินอก (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/02/2567  ถึง  28/02/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจต้องการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการทำงาน และการประยุต์ใช้เครื่อง Micro-XRF และ FE-SEM การบรรยายและปฏิบัติ 30 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท แอบโซเทค จำกัด 2567 12,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. สุชัญญา  โกจินอก
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรผกา  อรรคนิตย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.4 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ฝ่ายห้องปฏิบัติการ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานให้บริการด้านห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ และบริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการวิจัย การเรียนการสอน และการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แอบโซเทค จำกัด จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อให้ความรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เทคนิค Micro-XRF และ FE-SEM ในการวิเคราะห์ชิ้นงานที่มีโครงสร้างระดับไมโครและนาโนเมตร ให้กับนักวิจัย นักศึกษา อาจารย์ ผู้ประกอบการ และบุคลากรที่มีความสนใจ ซึ่งจะสามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปประยุกต์ใช้หรือขยายผลในการทำวิจัย การเรียนการสอน และการทำงานได้ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และเทคนิคการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์แก่นักวิจัย นักศึกษา คณาจารย์ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจที่ต้องการศึกษาตัวอย่างด้วยเครื่อง Micro-XRF และ FE-SEM
2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ร้อยละของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการฝึกอบรม
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ร้อยละของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการฝึกอบรม
ชื่อกิจกรรม :
การบรรยายและฝึกปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/02/2567 - 28/02/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.สุชัญญา  โกจินอก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางริมฤทัย  พุทธวงค์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ผริตา  วงศ์ไชยลึก (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายจุมพล  ศรีอุดมสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันจำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คนๆละ 4 มือๆละ 30 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้ทำการถ่ายทอดสดให้ผู้เข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ได้รับชมการสาธิตการและการแสดงการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งทางคณะผู้จัดอบรมไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์สำหรับการใช้งานที่เหมาะสมได้ จึงใช้โทรศัพท์มือถือในการถ่ายภาพและบันทึกวีดีโอแทน จึงทำให้ผู้เข้าร่วมการอบรมแบบออนไลน์ไม่ได้รับความสะดวกในการรับชมบางช่วงของการบรรยายภาคปฏิบัติการได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ในการจัดการอบรมรูปแบบออนไลน์ในครั้งต่อไป จะต้องพิจารณาและคำนึงถึงอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายทอดสดแบบออนไลน์ให้ดีขึ้น เช่น อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพเคลื่อนไหว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล