21332 : โครงการการส่งเสริมการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/03/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และประชาชนในชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบเงินเหลือจ่ายแผนงานบูรณาการ ปี 2561-2563 2567 288,387.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร  ปัญโญใหญ่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพาพร  คำแดง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ มีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.6 EN67 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาและเป็นจุดอ่อนของการรักษา ฐานการผลิตและให้บริการ รวมทั้งการดำรงชีพที่ยั่งยืน ฐานทรัพยากรธรรมชาติถูกนำไปใช้ในการพัฒนาจำนวนมากก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ทรัพยากรน้ำยังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการ และมีความเสี่ยงในการขาดแคลนในอนาคต เกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นจากการเข้าถึงและการจัดสรรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและต้นทุนทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทวีความเข้มข้นทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับภาระในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กระแสการแข่งขันทางการค้า ขณะที่วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกหลัง ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในอีก ๑๕ ปี ข้างหน้า (ค.ศ. ๒๐๑๖-๒๐๓๐) จะส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น ประเด็นท้าทายที่ต้องเร่งดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้แก่ การสร้างความมั่นคง ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค พัฒนาระบบบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างมากขึ้น ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษให้มีคุณภาพดีขึ้น ด้วยการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้ำสำคัญของประเทศ และแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควัน การแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม ด้วยการเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ น้ำเสียและของเสียอันตรายที่เกิดจากการผลิตและบริโภค สร้างเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือเมืองสีเขียวเพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะตกค้างสะสมในพื้นที่วิกฤต ผลักดันกฎหมายและกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ สนับสนุนการแปรรูปเป็นพลังงาน ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้เกิดการลดปริมาณขยะ รวมทั้งสร้างวินัยคนในชาติเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยเร่งกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในพื้นที่วิกฤต ผลักดันการจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ส่งเสริมการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการร่วมลงทุนของภาคเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ สนับสนุนการจัดการขยะที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยลดปริมาณการผลิตขยะ และส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด ส่งเสริมการแปรรูปขยะมูลฝอยและวัตถุดิบที่เหลือจากกระบวนการผลิตเป็นพลังงาน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ ผลักดันการออกกฎหมายและมาตรการจัดการของเสียอันตรายชุมชน โดยเฉพาะซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วยมาตรการส่งเสริมและมาตรการบังคับตั้งแต่ต้นทางรวมไปถึงการควบคุมการนำเข้า จัดให้มีแหล่งรวบรวมและแหล่งรับกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ พัฒนาระบบควบคุมการขนส่งของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่ การจัดการที่ยั่งยืน โดยให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึก และสร้างความตระหนัก ให้ประชาชน นักเรียน เยาวชน มีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการน าเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการขยะ โดยใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ทบทวนเกณฑ์การเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการขยะที่เหมาะสม รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง นโยบายการจัดการขยะมูลฝอยนอกจากจะเป็นนโยบายของรัฐบาลแล้วกระทรวงศึกษาธิการ ก็เป็น 1 ใน 10 ในนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดในการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวหน่วยงานสถานศึกษา ได้ดำเนินการ มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รณรงค์คัด แยก ลดขยะ ใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้จำนวนขยะที่ต้องกำจัดลดลง มีการสร้างนิสัย จิตสำนึกการทิ้งขยะลงถังให้ถูกต้อง 4 ฐาน ฐานขยะย่อยสลาย ฐานขยะรีไซเคิล ฐานขยะทั่วไป และฐานขยะอันตราย มี Road Map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย มีคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายโดยมีการส่งเสริมการลด และการใช้ประโยชน์ขยะ โดยการนำกลับมารีไซเคิล ดัดแปลงเป็นสิ่งประดิษฐ์ออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ชุดรีไซเคิล การใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น ทำปุ๋ยหมัก ผลิตน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูปเพื่อผลิตพลังงาน ทำแก๊สชีวภาพจากการหมักเศษขยะ ผลิตก๊าซชีวภาพ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆตามมา ดังนั้น การบริหารจัดการระบบนิเวศของชุมชนที่เป็นระบบนั้น จะนำไปสู่การอนุรักษ์ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศชุมชน นั้น กระบวนวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ชุมชนและขยายผลในวงกว้างจึงจำเป็นในการดำเนินโครงการนั้น เช่น ด้านการวัดค่า การลดปริมาณฝุ่น และการกำจัดฝุ่น ด้านการลดปริมาณการผลิตขยะ ด้านการกำจัดขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ส่งเสริมการบริหารจัดการด้านระบบนิเวศในชุมชนมหาวิทยาลัย และพื้นที่ชุมชนรอบๆ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ด้านชีวมวลและการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและยั่งยืน
เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ไปถ่ายทอดให้กับ ชุมชนภายในมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบๆ สนับสนุนการจัดการระบบนิเวศที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยการส่งเสริมให้เกิดกลไกการกำจัด การนำกลับมาใช้ใหม่ และส่งเสริมการแปรรูปโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ต้นแบบเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมจากองค์ความรู้ด้านชีวมวลและวิศวกรรมศาสตร์
KPI 1 : ต้นแบบการจัดการระบบนิเวศในชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 ต้นแบบ 2
KPI 2 : บุคลากรหรือประชาชนเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 30 คน 60
ผลผลิต : เครือข่ายชุมชนสีเขียวต้นแบบเพื่อการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน โดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : เครือข่ายชุมชนต้นแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 2 เครือข่าย 3
KPI 2 : ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ปี 1
KPI 3 : บุคลากรหรือประชาชนเข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ต้นแบบเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมจากองค์ความรู้ด้านชีวมวลและวิศวกรรมศาสตร์
ชื่อกิจกรรม :
การติดต่อประสานงานและการประชาสัมพันธ์ และจัดเตรียมความพร้อมของโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมความพร้อมและฝึกอบรมให้ความรู้กับชุมชนในมหาวิทยาลัย และชุมชนโดยรอบ ในการปรับเปลี่ยนแนวความคิดด้านระบบนิเวศ ด้วยเทคโนโลยีที่ต้นแบบที่เหมาะสม สร้างการรวมกลุ่มเพื่อเป็นเครือข่ายชุมชนและอบรมให้ความรู้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน 150 บาท x 20 คน x 1 วัน x 3 ครั้ง = 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมชุดฝึกอบรมการจัดการชีวมวล 30 ชุด x ชุดละ 3,000 บาท = 90,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 90,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 90,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมชุดฝึกอบรมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าชีวมวล 20 ชุด x ชุดละ 1,500 บาท x 3 ครั้ง = 90,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 90,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 90,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 คน x คน ละ 2 ชั่วโมง x ชั่วโมง ละ 600 บาท x 3 ครั้ง = 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน จำนวน 20 ชุด x ชุดละ 416.45 บาท x 3 ครั้ง = 24,987 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,987.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,987.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 ชุด x ชุดละ 400 บาท x 3 ครั้ง = 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ชุด x ชุดละ 400 บาท x 3 ครั้ง = 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร จำนวน 20 ชุด x ชุดละ 200 บาท x 3 ครั้ง = 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 288387.00
ผลผลิต : เครือข่ายชุมชนสีเขียวต้นแบบเพื่อการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน โดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
การประเมินผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล