21331 : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/03/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาล และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินเหลือจ่ายแผนงานบูรณาการ ปี 2561-2563 2567 127,465.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร  ปัญโญใหญ่
รองศาสตราจารย์ บัณฑิต  หิรัญสถิตย์พร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ มีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.6 EN67 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากปัญหาการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเตาเผาขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลบางแห่งไม่สามารถใช้การได้ ขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง และค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในระบบเผามีราคาแพง สำหรับเตาเผาขยะติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเพียง 13 แห่ง ก็เป็นเตาแบบเก่าที่ไม่สามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพมีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพ ส่วนเตาเผาขยะติดเชื้อขนาดใหญ่ของเอกชนมีเพียง 4 แห่ง ส่งผลให้โรงพยาบาลที่มีจำนวนกว่า 800 แห่ง ส่วนใหญ่ส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนนำไปกำจัดภายนอกโรงพยาบาล ร้อยละ 56 เผาด้วยเตาเผาในโรงพยาบาลร้อยละ 30 ส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำจัดร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 6 อีกทั้งยังพบแนวโน้มที่โรงพยาบาลจะส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนรับนำไปกำจัดมากขึ้น จากการสำรวจปริมาณขยะติดเชื้อโดยกระทรวงสาธารณสุขในปี 2555 พบว่า มีขยะติดเชื้อประมาณ 42,000 ตันต่อปี โดยแบ่งเป็นสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 28,000 ตัน และสถานบริการสาธารณสุขของเอกชน 14,000 ตัน ซึ่งขยะติดเชื้อที่กำจัดไม่ถูกวิธีจะแพร่กระจายเชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิ เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ โรคบิด บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ และโรคเอดส์ กรมอนามัยจึงร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมควบคุมมลพิษแก้ไขการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ โดยให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมจัดการประชุมสาธารณสุขรวมใจท้องถิ่นต้านภัยมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อควบคุมกำกับปริมาณขยะติดเชื้อในประเทศไทยให้เป็นระบบ นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลในขณะนี้ ได้มียุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ (Medical Hub) โดยกำหนดแนวทางการพัฒนา Medical Hub เป็น 4 ด้านคือ 1.เป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ Wellness Hub ที่เป็นการบริการอย่างครบวงจร 2.เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพ Medical Service Hub ที่ต่อยอดกับระบบสปา ระบบการทำงานเพื่อสร้างสุขภาพ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยและเป็นจุดหนึ่งที่หลายประเทศเข้ามาใช้บริการ 3.เป็นศูนย์กลางการศึกษา วิชาการและงานวิจัย Academic Hub ที่เกี่ยวกับสุขภาพ และ 4.เป็นศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ Product Hub ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของมูลฝอยติดเชื้อจะยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงควรมีการศึกษาวิจัยการทำลายมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้ถูกวิธี วิธีการทำลายมูลฝอยติดเชื้อนั้น โดยหลักการแล้ว ก่อนอื่นก็ต้องฆ่าเชื้อเสียก่อน เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่แหล่งชุมชนในบริเวณแหล่งกำจัดขยะ วิธีกำจัดเชื้อนั้นมี 3-4 วิธี ขึ้นอยู่กับอันตรายของมูลฝอยนั้น ได้แก่ การเผา เพื่อเป็นการทำลายเชื้อให้หมดไป เมื่อเผาเสร็จแล้ว ถ้ามีเถ้าเหลือก็ต้องเอาขี้เถ้าไปกำจัดต่อ การอบไอน้ำเป็นการฆ่าเชื้อโรค ด้วยการนึ่ง วิธีนี้จะมีมูลฝอยเหลือในปริมาณเท่าเดิมหรือมากกว่า เนื่องจากได้รับความชื้นจากไอน้ำ การใช้สารเคมี และการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือไมโครเวฟ การใช้เตาเผามูลฝอยติดเชื้อของสถานพยาบาลต่างๆ ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากมีขนาดไม่เพียงพอ การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ มีการชำรุดหรือใช้งานไม่ได้บ่อยครั้ง มีการร้องเรียนของประชาชนเนื่องจากมีกลิ่นและควันรบกวนจากเตาเผา สำหรับการทำลายเชื้อของมูลฝอยติดเชื้อด้วยไอน้ำ เป็นการใช้ไอน้ำร้อนภายในถังแรงดัน (มักเรียกว่า Steam Sterilizer หรือ autoclave หรือ retort) ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่เริ่มมีการนำมาใช้ในประเทศไทยเพราะไม่เกิดมลพิษทางอากาศ แต่มูลฝอยติดเชื้อที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้วควรนำไปทำการบดย่อยเพื่อแปรสภาพ ไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจต่อผู้พบเห็น จากการทำงานวิจัยเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อมาอย่างต่อเนื่องจึงเห็นว่าถ้ามีการนำมูลฝอยติดเชื้อที่ย่อยแล้วมาอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิง ก็จะทำให้มูลฝอยติดเชื้อที่ย่อยแล้วมีปริมาตรลดลงทำให้ใช้พื้นที่เก็บลดลง การเก็บง่ายขึ้นโดยสามารถจัดเรียงแท่งเชื้อเพลิงได้ และยังสามารถนำไปจำหน่ายให้แก่โรงผลิตปูนซีเมนต์ได้ โดยขณะนี้มีโรงผลิตปูนซีเมนต์รับซื้อในราคาตันละประมาณ 4,000 บาท เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการเผา โดยการเผาในลักษณะนี้จะเกิดมลพิษทางอากาศน้อยเพราะเผาในอุณหภูมิห้องเผาสูงประมาณ 1400oC จะเห็นได้ว่าถ้าสามารถทำได้ดังที่กล่าวมาแล้วจะทำให้มูลฝอยติดเชื้อถูกกำจัดจดหมดที่แหล่งกำเนิด นอกจากจะไม่ต้องทิ้งมูลฝอยติดเชื้อแล้วยังได้พลังงานหมุนเวียนอีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานพยาบาลใบจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานพยาบาล เข้าร่วมการอบรม
KPI 1 : ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ปี 1
KPI 2 : งบประมาณดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
127465 บาท 127465
KPI 3 : บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาลและประชาชนทั่วไป เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 4 : บุคลากรหรือประชาชนเข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานพยาบาล เข้าร่วมการอบรม
ชื่อกิจกรรม :
การติดต่อประสานงานและการประชาสัมพันธ์ และจัดเตรียมความพร้อมของโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมความพร้อมและจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเพื่อนำไปผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน x คนละ 150 บาท = 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำใบมีดของเครื่องย่อย 25 ชุด x ชุดละ 1,000 บาท = 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเตรียมฐานเรียนรู้ จำนวน 20 ชุด x ชุดละ 1,250 บาท = 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการถ่ายเอกสาร จำนวน 20 ชุด x ชุด ละ 50 บาท = 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมง ละ 600 บาท = 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน x คน ละ 200 บาท = 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน จำนวน 20 ชุด x 1274.65 บาท = 25,493 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,493.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,493.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 ชุด x 998.6 บาท = 19,972 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,972.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,972.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร จำนวน 20 ชุด x 750 บาท = 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า จำนวน 20 ชุด x 250 บาท = 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 127465.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล