21324 : โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/01/2567  ถึง  09/02/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  1. สุนัขและแมว จำนวน 50 ตัว
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน วัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์
-อุปกรณ์การแพทย์ และเวชภัณฑ์
2567 550.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 5. การสร้างความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Budget and Resource Sustainability)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 5.1.1 มหาวิทยาลัย ร้อยละของงบประมาณเงินรายได้ต่องบประมาณทั้งหมด (ส่วนงาน: ร้อยละของงบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับจริงต่อประมาณการเงินรายได้)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 5.1.1.1 พัฒนาระบบการจัดทำคำของบประมาณและบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก(MOC)
เป้าประสงค์ มุ่งพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรม และบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการเพื่อสนองงานตามพระราชดำริ
ตัวชี้วัด 3.05 ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ สร้างงานวิจัยจากความต้องการของชุมชน ผู้ใช้ประโยชน์ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาการวิจัยผ่านรูปแบบการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonosis) โดยมีสัตว์พาหะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ สุนัข แมว หนู และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยโรคนี้มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ในคนและสัตว์ โดยในสัตว์ เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะแสดงอาการภายใน 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน โดยแสดงอาการแตกต่างกันขึ้นกับสัตว์แต่ละตัว โดยแสดงอาการแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย (furious form) สัตว์จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ดุร้าย และตื่นตระหนก แบบที่สองคือ แบบซึม (paralysis form) สัตว์จะป่วย ซึม กลืนลำบาก น้ำลายไหล และช่วงท้ายของการป่วย สัตว์จะเป็นอัมพาต ชัก ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยพระองค์ทรงมีความห่วงใยถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชาติและทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย จึงเป็นที่ีมาโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามวาระแห่งชาติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน ในการนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า จึงจัดการทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567 ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมวที่อาศัยอยู่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมวที่อาศัยอยู่ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2.เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าแก่บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนสุนัขและแมวเข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567
KPI 1 : จำนวนสุนัขและแมวที่ได้รับการฉีดวัคซีน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ตัว 50
KPI 2 : ร้อยละของสุนัขและแมวที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามกำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนสุนัขและแมวเข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567
ชื่อกิจกรรม :
โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/01/2567 - 09/02/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงพิชญา  แสนอุบล (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฐธนะนันท์  เอี่ยมตะกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งเรือง  โพธิ์สิงห์ทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กรประภา  ปัญญาวีร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นงค์รัก  คนดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์
-อุปกรณ์การแพทย์ และเวชภัณฑ์
- กระบอกฉีดยา 1 กล่อง กล่องละ 130 บาท
- เข็มฉีดยา no.21 จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 55 บาท เป็นเงิน 110 บาท
- เข็มฉีดยา no.24 จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 55 บาท เป็นเงิน 110 บาท
- ถุงมือไซส์ S จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 100 บาท
- ถุงมือไซส์ M จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 550.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 550.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 550.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. อันตรายจากสัตว์รับบริการฉีดวัคซีน เช่น โดนกัด ข่วน เป็นต้น 2. สัตว์บางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีนหลังฉีดวัคซีน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ให้ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้พาสัตว์เข้ารับบริการและจับบังคับสัตว์ในการฉีดวัคซีน 2. ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้สังเกตอาการแพ้หลังจากสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หากสัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีนรุนแรง เช่น หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว อ่อนแรง เดินเซ ตัวร้อน มีอาการบวมรอบดวงตา ปาก ใบหน้า มีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามตัว คัน อาเจียน ถ่ายเหลว ให้รีบพาสุนัขหรือแมวมาที่คลินิกรักษาสัตว์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในเวลาทำการ วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9.00 น. ถึง 17.00 น. หากเกิดอาการแพ้วัคซีนนอกเวลาทำการคลินิก ให้พาไปพบสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ใกล้เคียง และให้สังเกตอาการแพ้อย่างต่อเนื่องภายใน 48 ชั่วโมง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล