21318 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/1/2567 10:41:56
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
24/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการ ทั่วไป แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 40,000 บาท 2567 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. นงพงา  แสงเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 5. การสร้างความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Budget and Resource Sustainability)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 5.1.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 5.1.2.3 เพิ่มรายได้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการเอื้อหรือส่งเสริมให้มีการใช้องค์ความรู้ของคณาจารย์และบุคลากรหน่วยงานในการสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานนั้น
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-6 การพัฒนาตามอัตลักษณ์ของคณะ
เป้าประสงค์ FT-67-6.1 พัฒนาอัตลักษณ์ตามจุดเน้นของคณะ
ตัวชี้วัด FT-67-6.1.1.(3) จำนวนนักศึกษาที่กลับไปประกอบอาชีพทางการประมงในภูมิลำเนาของตนเอง
กลยุทธ์ FT-67-6.1.2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมง เพื่อต่อยอดการเป็น product champion ในอนาคต
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภคต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคคำนึงถึงมากที่สุด โดยต้องมีการออกแบบ ดำเนินการวิจัยให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐาน จนถึงการผลิตและขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าของผู้ผลิต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านี้ต้องมีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งเครื่องหมาย อย. ที่อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาลโรงงาน การบำรุงรักษาและทำความสะอาด ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ต้องเป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice; GMP) นอกจากนี้จะต้องได้คุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากที่ครบถ้วน จึงจะได้รับเครื่องหมายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อาคารนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการประมงเชิงพาณิชย์ เป็นต้นแบบการเรียนรู้การสร้างคุณค่าทรัพยากรประมงด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับนักศึกษา ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และผู้สนใจ ตลอดจนสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ตามความต้องการของตลาด และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ในระยะที่ผ่านมาคณะทำงานได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ภายในอาคารฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดและดำเนินการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา และได้รับการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการขอรับเครื่องหมาย อย. ในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการผลิตสินค้าแล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบของอาหารเพื่อลงรายละเอียดในฉลากผลิตภัณฑ์ และยื่นขอจดเลขสารบบอาหาร หรือเลข อย. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เพื่อพัฒนาสู่การหารายได้ โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ และเป็นต้นแบบการเรียนรู้การวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ประมง รวมทั้งการขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอาหารต่อไป โครงการฯ มีรายละเอียดดังนี้ 1) การกำหนดสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ตามเส้นทางการผลิตที่ได้รับอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายแล้ว จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องดื่มซุปปลาพาสเจอไรซ์และโจ้กปลากึ่งสำเร็จรูป 2) การตรวจวิเคราะห์คุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์โดยหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีวิธีวิเคราะห์ที่ใช้วิธี Reference Method 3) การยื่นขอจดเลขสารบบอาหาร หรือเลข อย. ไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำจะมีผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองมาตรฐาน สามารถต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เชื่อมโยงผลผลิตจากฟาร์มเพาะเลี้ยงภายในคณะและฟาร์มเกษตรกรที่เกี่ยวข้องเข้าสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับความรู้ในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ประมง รวมทั้งกระบวนเตรียมตัวและขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยมีคณาจารย์ บุคลากรที่มีความรู้ เครือข่ายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาหาร
เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้รับความรู้ในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ประมง และกระบวนการเตรียมตัวและขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นต้นแบบสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายที่รองรับการผลิตสินค้าอื่นๆ ที่ได้รับมาตรฐานต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
KPI 1 : จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 2 : ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ต่อการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 3 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 40 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของคณาจารย์และบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 10 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายงาน 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ชื่อกิจกรรม :
1. กิจกรรมการกำหนดสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์
2. กิจกรรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์
3. การยื่นขอจดเลขสารบบอาหาร หรือเลข อย.

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วาธิณี  อินทรพงษ์นุวัฒน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร  อมรเลิศพิศาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตรวจวิเคราะห์คุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีในผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 14,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 28,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าธรรมเนียมขอจดเลขสารบบอาหาร จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ๆ ละ 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว ได้แก่ ค่าเนื้อปลา ส่วนผสม เครื่องปรุง ภาชนะบรรจุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ ค่ากระดาษ สี ปากกา ป้ายพลาสติก เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
กระบวนการจดเลขสารบบอาหาร หรือเลข อย. มีความล่าช้า
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล