21306 : โครงการผลของสารสกัด Aurisin A จากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการเจริญของรา Phytophthora palmivora (Butler.) (Effects of Aurisin A Extract from Bioluminescent Mushrooms (Neonothopanus nambi) using microwaves together on growth of Phytophora palmivora (Butler.))
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/1/2567 16:29:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ (วิจัยร่วม)
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรับฝากจากบริษัทแทนคุณลูกกตัญญูโฮลติ้ง กรุ๊ป จำกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.2 มีผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.2.6 จำนวนผลงานวิจัยที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/บัญชีนวัตกรรม/นวัตกรรมต้นแบบ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.2.5.1 ส่งเสริมและผลักดันวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-2 การสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมด้วยองค์ความรู้ทางการเกษตรที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
เป้าประสงค์ 67-2.1 การผลิตผลงานวิจัยที่มุ่งเน้นองค์ความรู้ทางการเกษตรเป็นฐานราก และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-2.1.6 จำนวนผลงานวิจัยที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/บัญชีนวัตกรรม/นวัตกรรมต้นแบบ
กลยุทธ์ 67-2.1.6.1 สนับสนุนการวิจัยที่ได้รับมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อมุ่งสู่การคุ้มครองสิทธิ์ผลงานวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรครากเน่าและโคนเน่า (Root and Foot Rot) ของทุเรียนสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora palmivora เป็นโรคที่สำคัญที่สุดเนื่องจากทำให้ต้นทุเรียนที่กำลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตยืนต้นตายได้การระบาดสร้างความเสียหายกับทุเรียนในทุกแหล่งปลูกของประเทศไทย จากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยมีฝนตกชุกติดต่อกันสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคตะวันออกประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทำให้ผลผลิตทุเรียนลดลงและผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ (สาลี่ และพูลสวัสดิ์, 2542) ลักษณะอาการเริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้น ใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูบริเวณรากจะพบรากฝอยแสดงอาการเน่า มีลักษณะเปลือกล่อน และรากเปื่อยยุ่ย เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้นทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย (สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 2562) จากการศึกษาการป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีสาเหตุจากรา P. palmivora สารเคมีป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มักนำมาใช้ คือ สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช Metalaxyl ซึ่งใช้ควบคุมเชื้อโรคเฉพาะในกลุ่ม Oomycetes มีรายงานมากเกี่ยวกับกรณีเชื้อโรคพืชดื้อต่อสารเคมี หรือความต้านทาน (ทนทาน) ของรา P. palmivora (อมรรัตน์ และคณะ, 2554) ในการศึกษาและพัฒนาวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการสนับสนุนการปลูกพืชอินทรีย์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในรูปแบบของน้ำหมัก รูปแบบก้อนเชื้อเห็ด รูปแบบเส้นใยละลายน้ำ เล้วนำมาผสมกับสีฝุ่นทาบริเวณต้นพืชที่มีการขูดถากเอาเนื้อไม้ออกเพื่อให้สารสำคัญเข้าสู่ท่อน้ำและท่ออาหารของพืช (กรมวิชาการเกษตร, 2565) โดยเห็ดเรื่องแสงสิรินรัศมีเป็นเชื้อรามีการสร้างสารออริซิน–เอ (aurisin A) ซึ่งเป็นสารที่มีผลในการยับยั้งการสร้างเส้นใยรวมถึงการขยายพันธุ์ของเชื้อรา P. palmivora จึงนำมาควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, 2566) แต่ก็ยังอยู่ในรูปของสารสกัดโดยรวมความบริสุทธิ์ต่ำ ขั้นตอนการใช้ยุ่งยาก ถ้าการสกัดสารสำคัญออริซิน-เอ (aurisin A) จากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีให้มีความบริสุทธิ์และพัฒนาด้วยนวัตกรรมในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเชิงการค้าน่าจะเป็นทางออกหนึ่งในการขยายช่องทางการตลาดซึ่งวิธีการสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ (microwave-assisted extraction) เป็นวิธีที่ง่ายและตัวทำละลายไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ยุพารัตน์ และชินกฤต (2564) สกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากดอกอัญชันด้วยไมโครเวฟ Microwave-Assisted Extraction (MWA) เปรียบเทียบวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม (90 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง) และสกัดด้วย อลตราโซนิกส์ พบว่า การสกัดด้วยไมโครเวฟที่ 150 วัตต์ เวลา 10 นาที มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี ABTS assay และ DPPH สูงสุดสูงสุด Boehlendorf et al. (2004) รายงานว่าสาร Aurisin A ที่แยกได้จากเห็ดในสกุล Panus sp. มีฤทธิ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ในประเทศไทย สุรีย์พร (2550) พบสาร Aurisin A ซึ่งสกัดได้จากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi โดยสาร Aurisin A มีผลออกฤทธิ์ต่อการตายของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ซึ่งเป็นไส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืช จากการศึกษาโดยทดสอบสาร Aurisin A กับสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมาย พบว่า ไม่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ เช่น เชื้อแบคทีเรีย Bacillus sp. กับ Rhizobium sp. นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ต่อเชื้อราชั้นต่ำสาเหตุโรคพืชในสกุล Pythium และ Phytopthora อีกด้วย มณีรัตน์ (2561) ทดสอบความสามารถในการก่อโรคของเชื้อ P. palmivora จำนวน 18 ไอโซเลท ที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน พบว่า ทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่อยู่ในระยะ เพสลาด ภายหลังการปลูกเชื้อเป็นระยะเวลานาน 7 วัน และสามารถก่อโรคให้กับทุเรียนได้เร็วที่สุดภายในระยะเวลา 2 วัน หลังจากปลูกเชื้อ สุรีย์พร และคณะ (2559) ได้ทำการทดสอบสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา P. palmivora บนอาหาร PDA พบว่าสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงทั้งในรูปแบบของสารสกัด Aurisin A และน้ำคั้นจากเชื้อเห็ด (culture filtrate) ทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. palmivora ได้ดี คือ เส้นใยของเชื้อรา P. palmivora ไม่สามารถแผ่ขยายเส้นใยและเจริญเติบโต ซึ่งไม่แตกต่างกับกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีเห็นได้จากเชื้อราหยุดการเจริญเติบโตไม่สามารถสร้างเส้นใยและ sporangium ได้เลย Getha et al. (2023) กล่าวว่า Aurisin A ที่แยกได้จาก N. nambi สามารถยับยั้ง Staphylococcus aureus ที่ทนต่อยาเมธิซิลินได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาการสกัดสาร Aurisin A ด้วยไมโครเวฟร่วมเพื่อนำสารสกัดดังกล่าวมาพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์ทางการเกษตร และขายในเชิงพาณิชย์ จากการที่สาร Aurasin A เป็นสารที่สามารถสกัดจากเห็ดเรืองแสงจึงนำไปสู่ความคิดที่จะใช้เห็ดเรืองแสง สิรินรัศมี เพื่อสกัดสาร Aurasin A การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีด้วยวิธี Microwave Extraction (MAE) หรือการสกัดสารด้วยไมโครเวฟโดยทำตามกรรมวิธีของยุพารัตน์ และชินกฤต (2564) โดยใช้วิธีการหาและคัดเลือกสภาวะที่เหมาะสมของการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารหยาบ Aurasin A โดยสิ่งที่ใช้ทดสอบสภาวะที่เหมาะ คือ ศึกษาผลกระทบความเข้มข้นของตัวทำละลาย ของระยะเวลา และกําลังไมโครเวฟ ต่อสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราจากผงเส้นใยเห็ด เพื่อนำผลที่ได้ไปวางแผนการทดลองวิธีพื้นผิวตอบสนองแบบ Box-Behnken Design ของปัจจัยการทดสอบ 3 ปัจจัย คือ กำลังไมโครเวฟ (วัตต์) เวลาที่ใช้ในการสกัด (วินาที) และความเข้มข้นของตัวทำละลาย (%) ของสารสกัดหยาบ Aurasin A ต่อฤทธิ์ต้านเชื้อรา Phytophthora palmivora และการวัดปริมาณสารสกัดหยาบ Aurisin A ที่ได้จากการทำนาย และการทดสอบจริง เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ทางการค้าต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและวิจัยคัดเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีด้วยวิธีการสกัดสารด้วยไมโครเวฟ
2. เพื่อนำผลการศึกษาและวิจัยที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ทางการค้าต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลของสารสกัด Aurisin A จากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการ เจริญของรา Phytophthora palmivora (Butler.)
KPI 1 : ร้อยละของผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลิตภัณฑ์ต้นแบบสารสกัดหยาบ Aurasin A
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 3 : โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลของสารสกัด Aurisin A จากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการ เจริญของรา Phytophthora palmivora (Butler.)
ชื่อกิจกรรม :
1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2) สกัดสาร Aurisin A จาก เห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการเจริญของรา Phytophthora palmivora (Butler.) 3) การวิเคราะห์ค่าความสามารถในการฤทธิ์ต้านเชื้อรา Phytophthora palmivora 4) การวัดปริมาณสารสกัดหยาบออริซิน-เอ (aurisin A) 5) การวิเคราะห์ผลทางสถิติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น เอทานอล ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ 30% คลอโรอสิติก แอสิด 99% เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล