21300 : โครงการสวนสมุนไพรนานาชาติภายใต้ส่วนงานศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการเกษตรนานาชาติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางสาวณัจฉรียา ชัยประภา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/02/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษา นักเรียน เยาวชน บุคลากร เกษตรกร และผู้ที่สนใจในด้านสมุนไพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรับฝาก (เงินบริจาคสนับสนุนหน่วยงาน) 2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ระพีพันธ์  แดงตันกี
อาจารย์ ดร. กฤติยา  ทองคุ้ม
Dr. Prakash Murgeppa  Bhuyar
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 3. การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 3.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 3.1.3 จำนวนอาจารย์/นักวิจัยแลกเปลี่ยน หรือบุคลากรชาวต่างชาติ (Inbound/Outbound)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 3.1.3.1 เพิ่มจำนวนคณาจารย์และนักวิจัยแลกเปลี่ยนกับต่างชาติ (Visiting Professor) ทั้ง Inbound และ Outbound
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 MJU-IC มิติที่ 3 การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ 67 MJU-IC 3.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67 MJU-IC 3.1.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ
กลยุทธ์ 67 MJU-IC ส่งเสริมและผลักดันความสำเร็จของยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาประเทศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ที่กำหนดไว้ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนพัฒนาประเทศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ได้กล่าวถึงการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Culture) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย การพัฒนาประเทศตามแนวทางนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เป็น อุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการต่อยอดและสร้าง S-curve ตัวใหม่ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) ที่มีวิสัยทัศน์ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ ๒๑” และมียุทศาสตร์ในการบรรลุวิสัยทัศน์จำนวน 6 ยุทศาสตร์คือ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรรม เพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา จากแผนและนโยบายของรัฐบาลต่าง ๆ ที่นำไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จึงทำให้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่ต้องพัฒนาทรับพยากรณ์มนุษย์ การผลิตและพัฒนากำลังคน เพิ่มความสามารถในการแข่งขั้น รองรับการพัฒนา อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) และเป็นการผลิตและพัฒนากำลังคนในรูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning) โดยการเรียนรู้แบบทวิภาคี และสนับสนุนให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่เป็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) จนนำไปสู่ความยังยืนของประเทศ จากสถานการณ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องปริมาณ ราคา ความต้องการใช้ และผลทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตและใช้พลังงาน ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นประเทศเกษตรกรรม การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมสู่ระบบเกษตรกรรมอัจฉริยะจึงมีความสำคัญ รวมถึงการพัฒนาด้านอื่น ๆ ควบคู่กันพร้อมกันไป ทั้งเรื่องของการผลิตพลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงาน ระบบการเกษตรแบบอัจฉริยะ ระบบเศรษฐกิจหรือระบบ IT อัจฉริยะ รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม แนวความคิดในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ด้านพลังงานอัจฉริยะ - มองการพัฒนาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว - ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามแต่ศักยภาพที่ต้องการพัฒนา - เปิดกว้างในเรื่องของผู้เรียน ให้มีทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้สูงอายุ - ปรับรูปแบบการสอนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกช่วงอายุ - เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นการประสารการเรียนรู้พลังงานประชารัฐด้านการศึกษาและเป็นการเรียนรู้แบบทวิภาคี หรือแบบเน้นการปฏิบัติ การดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาฐานรากของเศรษฐกิจสู่โมเดล BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สามารเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว BCG Model รวบรวมห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของ 5 อุตสาหกรรม S-curves หลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร และการท่องเที่ยว บูรณาการเข้าด้วยกัน เป็นฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนใน GDP ถึงร้อยละ 21 และเกี่ยวข้องกับอาชีพและการจ้างงานของคนในประเทศมากกว่า 16.5 ล้านคน หัวใจสำคัญของ BCG Model คือการพัฒนาแบบคู่ขนาน ทั้งในส่วนที่อาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาการระดับสูงสำหรับผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง เช่น ส่วนประกอบอาหารสุขภาพ ชีววัตถุ สารออกฤทธิ์ทางการแพทย์ ฯลฯ และในส่วนฐานกว้างของปิรามิดที่เป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างมูลค่าให้คนจำนวนมาก และการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเสริมความเข้มแข็งของทุนทางสังคมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะขยายผลไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (from SEP to SDG) แนวคิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Model การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาส รายได้ และความเจริญ ไปสู่ประชาชนของประเทศอย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้เงื่อนไขการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ซึ่งต้องอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปยกระดับผลิตภาพของผู้ผลิตส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ฐานของปิรามิด ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและนวัตกรรมการจัดการที่จะนำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) ที่มีความพร้อมในส่วนยอดของปิรามิดให้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมุ่งเป้าสู่การเป็นประเทศที่เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในท้ายที่สุด ลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการเป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยี Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.สุวิทย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 (ข้อมูลจาก ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร (CBC)) เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดแนวทางการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยการดึงเอาศักยภาพของวัสดุที่เหลือใช้จากภาคการเกษตร และภูมิปัญญาของชุมชน สู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ภายใต้โมเดล BCG Model

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อศึกษารวบรวมและการเจริญเติบโตของสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศภายใต้แนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG.
เพื่อเป็นการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สมุนไพรให้เป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ โดยทฤษฎี ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
เพื่อลดการนำสมุนไพรออกจากป่าป้องกันการสูญพันธ์ของสมุนไพร
เพื่อศึกษาศักยภาพของสมุนไพรเด่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการสวนสมุนไพรนานาชาติภายใต้ส่วนงานศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการเกษตรนานาชาติ
KPI 1 : การเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดและโครงการมีการบริหารจัดการเวลาที่ดีและเหมาะสมใน
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200000 ร้อยละ 200000
KPI 2 : มีความรู้ทักษะและความชำนาญ การดำเนินการภายใต้ BCG Model
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : โครงการมีการบริหารจัดการเวลาที่ดีและเหมาะสมใน
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : จำนวนสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศ/ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปสมุนไพร/พื้นที่อนุรักษ์และรวบรวมสมุนไพร/โรงเรือนอนุบาลต้นกล้าสมุนไพร/หนังสือรวบรวมสมุนไพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 ชนิด 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการสวนสมุนไพรนานาชาติภายใต้ส่วนงานศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการเกษตรนานาชาติ
ชื่อกิจกรรม :
โครงการสวนสมุนไพรนานาชาติภายใต้ส่วนงานศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการเกษตรนานาชาติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์  แดงตันกี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
Dr.Prakash Murgeppa  Bhuyar (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กฤติยา  ทองคุ้ม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาปรับพื้นที่ (29ไร่) และกำจัดศัตรูพืช จำนวน 7 วัน ๆ ละ 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 49,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 49,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเดินระบบน้ำประปา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 8 เดือน ๆ ละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 80,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 80,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุการเกษตร เช่น ถาดเพาะกล้า,ปุ๋ยหมัก,ขุยมะพร้าว,แกลบ,พลาสติกคลุมดิน,สแลน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 36,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ท่อเหล็ก,ปูนซีเมนต์,เหล็กเส้น,ทราย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล