21232 : โครงการการสำรวจองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/1/2567 16:29:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ผู้ให้ข้อมูลไม่น้อยกว่า จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละสาขา โดยมีเป้าหมายผู้รับบริการเป็น นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เชษฐ์  ใจเพชร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 TDS 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 TDS 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 TDS 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 TDS ส่งเสริมให้บุคลากรสร้างผลงานบริการวิชาการโดยใช้แหล่งทุนจากภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีความพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับหนึ่ง เนื่องจากไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะทางศิลปะที่สืบทอดต่อกันมาผ่านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่กล่าวว่า “ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ ที่เน้นการสนับสนุนการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ คุณค่าของสินค้าและบริการ” เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ในแผนพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน อย่างไรก็ดีประเทศไทยยังขาดความพร้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการถ่ายทอดมีการปรับประยุกต์และเปลี่ยนแปลงจนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (งามนิจ กุลกัน,2556 : 22) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, (2541 : 20) ได้แบ่งภูมิปัญญาเป็น 2 ระดับ คือระดับชาติ และระดับท้องถิ่น โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ในอดีต การเสริมสร้างความเจริญให้กับชาติ การเสียเอกราช เช่น การป้องกันตนเองมิให้ตกเป็นเมืองขึ้นสมัยยุคล่าอาณานิคม การกอบกู้เอกราชของพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น 2. ภูมิปัญญาระดับท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือบางแห่งเรียกว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน(Indigenous Knowledge) เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง หรือสติปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ได้สะสม และการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ยาวนานของคนในท้องถิ่น โดยใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติรอบตัว เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดที่เกิดจากชาวบ้าน ภูมิปัญญาระดับท้องถิ่นมีพื้นฐานมาจากความรู้เฉพาะถิ่น เป็นกระบวนการที่มีการสะสมความรู้ที่สืบทอดกันมาจากการทำกิจกรรม การประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ในทุกด้าน โดยเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์ที่ได้สะสมมาเป็นเวลานานจนเกิดเป็นความชำนาญ เพื่อแก้ปัญหาของตนเองให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ในพื้นที่ตำบลควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีอาชีพทำนา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ซึ่งเป็นที่ขึ้นชื่อของตำบลบ้านควนไม่ว่าจะเป็นเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง ลางสาด และไม้ต่าง ๆ อีกมากมาย ต่อมาได้มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่มีราคาสูง ทำให้ประชากรให้มาล้มพืชเศรษฐกิจเดิมเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่นี้มากขึ้นส่งผลให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาโดยตลอด วิถีวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบล มีงานประเพณีลอยกระทงแข่งเรือ 8 ฝีพาย มโนราห์ กลองยาวบ้านห้วยตาสิงห์ กลองยาวบ้านเขาวอ เรือยาว 32 ฝีพาย และกลองยาวผู้สูงอายุที่มีชื่อเสียงในตำบล อีกทั้งยังมีหมอพื้นบ้าน (ยาสมุนไพร) ที่ชาวบ้านเข้าไปรักษา จึงเห็นได้ว่าภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในชุมชนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างจริงมีสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งไม่ให้สูญหายไป ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา เพื่อสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลบ้านควน และจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาและสำรวจองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
เพื่อรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน จำนวน 10 ภูมิปัญญา และมีการจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 200 เล่ม
KPI 1 : ร้อยละของจำนวนเงินที่เบิกจ่ายทันเวลา
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 3 : ผลตอบรับในเชิงบวกจากกลุ่มเป้าหมาย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ปราชญ์ชาวบ้าน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 5 : หนังสือรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 เล่ม 200
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน จำนวน 10 ภูมิปัญญา และมีการจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 200 เล่ม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 สำรวจองค์ความรู้จากชุมชนในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จากชุมชนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านและชาวบ้าน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนทำงานนอกเวลา (หัวหน้าโครงการ) จำนวน 1 คน x 6 ครั้ง x 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน (กระดาษ A4, ปากกา,ดินสอ,แฟ้ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ (หมึกปริ้นเตอร์) จำนวน 2,000 บาท x 2 ตลับ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร แบบรูปเล่ม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำหนังสือรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 200 เล่ม x 125 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 รายงานสรุปโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เล่ม x 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล