21198 : พัฒนายกระดับพืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Medical Tourism”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางสาวณัจฉรียา ชัยประภา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ประชาชน / ผู้ประกอบการ / กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน งบประมาณประจำปี 2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย  ยมเกิด
อาจารย์ ดร. ประยงค์  คูศิริสิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 MJU-IC มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 MJU-IC 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67 MJU-IC 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67 MJU-IC ส่งเสริมและผลักดันผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ท่องเที่ยวจากข้อมูล Global Wellness Institute รายงานว่านักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีค่าใช้จ่ายต่อหัว ประมาณ 50,000 กว่าบาท ต่อการเที่ยวหนึ่งครั้ง ซึ่งสูงกว่านักท่องเที่ยวแบบปกติถึง 53 % และแน่นอนว่า เมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จบลง หลายประเทศจะหันมาผลักดันตลาด การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กันมากขึ้น ซึ่งจากการประเมินของ Global Wellness Institute การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปีนี้ไปอีกหลายปี โดยเติบโตเฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% และในปี 2567 มูลค่าสาขานี้จะทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และจากการจัดอันดับของ Wellness Tourism Initiative 2020 ประเทศเป้าหมายที่อยากคนอยากมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พบว่า ประเทศไทย อยู่อันดับ 5 ของโลก โดยไทยเป็น Medical Hub ในการให้บริการทางการแพทย์ระดับโลก และมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สูง ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก จังหวัดเชียงใหม่ มีสัดส่วนการเติบโตของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอย่างมาก การกระจายรายได้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มาจากจุดแข็งในเรื่องของเอกลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณี อาหารไทย โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบการเยี่ยมชมและชิมอาหาร เข้าเรียนทำอาหารรับประทานอาหารแบบท้องถิ่น และการซื้อทัวร์ท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอาหารพื้นถิ่นอาหารพื้นถิ่น เป็นอาหารที่สามารถบอกถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่ เช่น อาหารแปรรูปสุขภาพต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบางกลุ่มต้องการท่องเที่ยวภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์ นวดแผนโบราณ เพื่อลดความเครียดและผ่อนคลายสุขภาพจิต เช่น การใช้สมุนไพรในการนวดไทย แพทย์แผนไทยแช่น้ำพุร้อน ลูกประคบเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เป็นต้น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ ชุมชนท้องถิ่น สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น อันจะนำมาสู่การพัฒนาของประเทศโดยการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการการท่องเที่ยว โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอสันทรายกลุ่ม 1 ในด้านการพัฒนาองค์ประกอบการเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาตลอด ซึ่งจากผลการดำเนินการพบว่า อำเภอสันทราย มีจุดแข็งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลายประการ ประการแรกคือ มีต้นทุนเป็นแหล่งวัตถุดิบสมุนไพรไทยที่มีชื่อเสียงและมีการแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบอินทรีย์หลักภายในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งมียุทธศาสตร์หลักในการผลิตและพัฒนาปรับปรุงสินค้าในการท่องเที่ยวควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมทั้งสินค้านั้นจะต้องมีคุณค่าและประสิทธิภาพควบคู่กันไป ประการต่อมาคือ มีการส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์สอดคล้องกับกระแสสนใจอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มั่นใจได้ว่า อาหารและผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นที่แปรรูปมีความปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปตลอดกลางน้ำและปลายน้ำ ประการต่อมาคือ ชุมชนในพื้นที่อำเภอสันทรายมีการสร้างอัตลักษณ์ของอาหารเพื่อการท่องเที่ยวที่มีความชัดเจนเป็นอย่างมาก ซึ่งเกิดการสร้างอัตลักษณ์ผ่านรากฐานทางวัฒนธรรมและสังคม อันเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์อาหารพื้นถิ่นและเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวผ่านวัฒนธรรมทางอาหาร อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่นในการพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแต่ละชุมชน และอีกประการหนึ่งคือ การที่มหาวิทยาลัยได้น้อมนำแนวพระราชดำริ หลักเศรษฐกิจพอเพียง มาส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก ทั้งในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงอย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ชุมชนในพื้นที่ยังประสบปัญหาบางประการ เช่น การพัฒนาแปรรูปอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์และทันสมัยให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ตลอดจน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างจริงจังสอดคล้องกับนโยบายและปัญหาการขาดการเชื่อมโยงให้เป็นมูลค่าและความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแง่การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว จากเหตุดังกล่าวข้างต้น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนายกระดับพืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Medical Tourism” เพื่อพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เน้นคุณค่า สร้างความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ของประเทศด้านการผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนายกระดับพืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Medical Tourism”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 50 คน
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่นำองค์ความรู้ไปต่อยอด/สร้างอาชีพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปพืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 7 : สร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เส้นทาง 1
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการวิชาการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริหารวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จาการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 50 คน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนายกระดับพืชสมุนไพรอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/12/2566 - 26/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่มิใช่บุคคลากรภาครัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท คน ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17300.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปพืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/12/2566 - 26/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่มิใช่บุคคลากรภาครัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท คน ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Medical Tourism”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/12/2566 - 26/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่มิใช่บุคคลากรภาครัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท คน ๆ ละ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17000.00
ผลผลิต : เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรอินทรีย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
mju1 67-02จิระชัย28.11.65.doc
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล