21186 : โครงการการพัฒนาสุขภาวะและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  450  คน
รายละเอียด  ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ผู้ประกอบการ ตัวแทนภาครัฐ และภาคเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้รับจริงสูงกว่ารายจ่ายจริง (เงินเหลือจ่าย) ประเภทเงินอุดหนุนจากรัฐบาล แผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2563 (เงินสะสมเพื่อขับเคลื่อนโครงการยุทธสาสตร์เชิงบูรณาการ) 2567 777,289.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรัญญู  รีรมย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 67-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 67-3.1.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-3.1.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของส่วนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ จากผลการศึกษาภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2552 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำหรับประชากรไทยกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า โรคที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียปีสุขภาวะ 5 อันดับแรก ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในผู้ชาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน และโรคมะเร็งตับ ส่วนเพศหญิง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อม และโรคซึมเศร้า ตามลำดับ สำหรับอุบัติการณ์โรคหรืออาการเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุไทย โดยการตรวจร่างกาย 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มอาการเมตาบอลิซึม โรคอ้วนลงพุง ภาวะอ้วน และโรคข้อเสื่อม ตามลำดับ การเกิดภาวะโรคไม่ติดต่อที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรุนแรงเป็นสาเหตุการตายส่วนใหญ่ของประชากรโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อการสาธารณสุขโลก ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้ตระหนักถึงปัญหานี้และทำการพัฒนายุทธศาสตร์โลกด้านอาหาร กิจกรรมทางกายและสุขภาพขึ้น โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้เสนอปัจจัยสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องต่อโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคอ้วนและโรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอาหารและกิจกรรมทางกาย ดังนั้น อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและขาดกิจกรรมทางกายจึงเป็นสาเหตุนำของโรคไม่ติดต่อโดยส่งผลให้ภาวะโรครวม การตายและความพิการเพิ่มขึ้น (สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2557) สำหรับ ปี พ.ศ. 2557 มีสัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 15.3 หรือประมาณ 10 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มติดสังคมร้อยละ 80-90 กลุ่มติดบ้านร้อยละ 10-20 และกลุ่มติดเตียงร้อยละ 1-2 สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า โรคเรื้อรัง 5 อันดับแรกคือ ความดันโลหิตสูง ตามมาด้วยกลุ่มอาการทางเมตาบอลิซึม อ้วนลงพุง ภาวะอ้วน และข้อเสื่อม ส่วนโรคที่ทำให้สูญเสียปีสุขภาวะ ของทั้งผู้สูงอายุชายและหญิงคือ โรคหลอดเลือดสมอง (กระทรวงสาธารณสุข, 2557) สถานการณ์ภาวะระบาด ปี พ.ศ. 2557 ที่เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเข้ารับบริการการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนจังหวัดแพร่ ประเภทผู้ป่วยนอกเกิดจากกลุ่มสาเหตุ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 อันดับ ดังต่อไปนี้ 1) ระบบไหลเวียนเลือด จำนวน 390,662 คน 2) โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิซึม จำนวน 323,566 คน 3) โรคระบบกล้ามเนื้อ รวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม จำนวน 221,816 คน 4) โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก จำนวน 177,577 คน 5) โรคระบบหายใจ จำนวน 175,625 คน (กระทรวงสาธารณสุข, 2557) จากการที่รัฐบาลไทยได้มีนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนของประเทศ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยก่อให้เกิดรายได้และเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล และยังก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ผลของการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยใช้กระบวนการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวชาวไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวโลกในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของประชากรในโลกที่ทำให้มีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มมากขึ้น จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอันหนึ่งที่จะส่งผลต่อแนวโน้มของการท่องเที่ยวในอนาคต (UNWTO 2005: 11-13; Hall 2006: 12-17) ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในศตวรรษที่ 21 จำนวนผู้สูงอายุในโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรในปัจจุบันและในอนาคตสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีผลิตภาพ (productivity) มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาวกว่าประชากรโลกในอดีต จากสถิติการเดินทางท่องเที่ยวจากคนทั่วโลกทั้งหมดประมาณ 840 ล้านคนต่อปี ประมาณร้อยละ 25 หรือ 200 กว่าล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มอาวุโสที่ยังแข็งแรง มีลีลาชีวิต (lifestyle) ที่รักการเดินทางท่องเที่ยว และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเดินทางและ มีความพร้อมที่จะใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลกับชีวิต และคาดการณ์ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยววัยนี้จะมีอัตราการเดินทางท่องเที่ยวสูงกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2302 06 มี.ค. - 08 มี.ค. 2551) จากสภาพปัญหาที่พบดังกล่าว การจัดโครงการการพัฒนาสุขภาวะและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่จะช่วยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยการขับเคลื่อนของผู้สูงอายุร่วมกับชุมชน ซึ่งมีองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะทั่วไประดับบุคคล เช่น เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่ม ภาวะสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ทัศนคติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการดูแลสุขภาพ การรับรู้อุปสรรค์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ แยกได้เป็น กิจกรรมทางกาย การรับประทานอาหาร การจัดการกับความเครียด ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ ปัจจัยเอื้ออำนวยและปัจจัยเสริมหรือสนับสนุนอื่น ๆ จากกลุ่มครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการมีบทบาทร่วมของชุมชนที่ช่วยดูแล กำหนดแนวทาง เพื่อให้เกิดการพัฒนา การจัดการของผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ การจัดโครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่าง เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการด้านผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการแก้ไขปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ และตรงตามเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้น และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ที่ได้มีการคาดการณ์แนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย สู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคต สิ่งเหล่านี้จะมุ่งไปสู่การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ต่อไปให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนเน้นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน และจัดการสังคมสุขภาวะสูงวัยด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จังหวัดแพร่
2. เพื่อต่อยอดเสริมศักยภาพและความสามารถในการสนับสนุนผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ ด้านการจัดการสุขภาวะ และด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวของ จังหวัดแพร่ ในการตอบสนองความต้องการของชุมชนสูงอายุต่อองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
3. เพื่อส่งเสริมและสร้างตัวแบบที่เหมาะสมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology and Innovation) กับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาสุขภาวะและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่
KPI 1 : จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างรายได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนเครือข่ายสุขภาวะผู้สูงอายุ/เครือข่ายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจในภาพรวมของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : จำนวนช่องทางการตลาด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ช่องทาง 1
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
450 คน 450
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 10 : ต้นแบบการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน หรือการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพผู้สูงอายุ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ต้นแบบ 1
KPI 11 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.327929 0.31772 0.13164 บาท 0.777289
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาสุขภาวะและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพัฒนาสังคมและชุมชนเน้นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการท้องถิ่น บนความหลากหลายของอาชีพหรือความชำนาญเข้ามาร่วมกันทำงาน การร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม และร่วมรับประโยชน์”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู  รีรมย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารโครงการ จำนวน 9 งวดๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 135,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 67,500 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 31,500 บาท
4. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 75 ชุด ๆ ละ 70 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 31,500 บาท
6. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
7. ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมและตกแต่งสถานที่ จำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 287,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 287,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 64,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละะ 200 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 70,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 28,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 26,029 บาท
3. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 5,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 59,629.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 59,629.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 417929.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การออกแบบพัฒนาสุขภาวะและแหล่งท่องเที่ยวผู้สูงอายุตามเป้าหมายการเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิต และโอกาส การเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู  รีรมย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 67,500 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 31,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 75 ชุด ๆ ละ 70 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 31,500 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
6. ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมและตกแต่งสถานที่ จำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
7. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เล่มๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 157,500.00 บาท 0.00 บาท 157,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 64,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละะ 200 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 70,800.00 บาท 0.00 บาท 70,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 24,420 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 44,420.00 บาท 0.00 บาท 44,420.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 272720.00
ชื่อกิจกรรม :
การติดตามและประเมินผล อย่างมีระบบ เพื่อความยั่งยืน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู  รีรมย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 8 งานๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 8 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานการติดตามและประเมินผล จำนวน 5 เล่ม ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
4.1 ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 4 คนๆ ละ 240 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,840 บาท
4.2 ค่าที่พัก จำนวน 4 คนๆ ละ 800 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 12,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 81,640.00 บาท 81,640.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 86640.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล