21173 : โครงการฐานเรียนรู้การส่งเสริมการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามระบบมาตรฐาน GAP พืชอาหาร และพืชสมุนไพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/12/2566 10:14:01
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  135  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจในจังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์
อาจารย์ ดร. ละออทิพย์  นะโลกา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.2.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
ตัวชี้วัด 67-6.1.2 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 67-6.1.2.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สภาวการณ์ผลิตพืชอาหารทางการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตพืชอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภคในประเทศ และการส่งออก เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งผลิตผลทางการเกษตรไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ที่มีข้อบังคับว่าด้วยสินค้าทางการเกษตรที่จะนำเข้าสู่ประเทศนั้นๆ ต้องผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรไม่ปลอดภัย ได้แก่ 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย 2) เกษตรกรขาดแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย 3) ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยมีจำกัด ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐจึงให้ความสำคัญและเป็นวาระแห่งชาติ เกี่ยวกับการนำการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP = Good Agricultural Practice) มาส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภาคการเกษตรของประเทศ ให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค การรับรองมาตรฐาน GAP ที่ผ่านมา ใช้มาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตรในการตรวจรับรองแปลง โดยที่ผ่านมา มกอช. (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) ได้พัฒนามาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2552) โดยปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2552 โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน Codex มาตรฐาน ASEAN และมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร และในปัจจุบันได้มีการใช้ มกษ. GAP พืชอาหาร (มกษ.9001 (G)-2556) ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN ซึ่งได้ประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศ และมกษ. GAP พืชสมุนไพร (มกษ.3502-2561) ผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เช่น 1) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 2) เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย 3) ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าทางการเกษตรของประเทศไทย 4) รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน เนื่องจากสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้มีความร่วมมือในการทำหลักสูตรสร้างผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับ มกอช. เพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายทอด และสื่อสารให้กับเกษตรกร การตั้งฐานเรียนรู้อบรมเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP ทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐาน GAP พืช โดยติดตามให้คำปรึกษาแนะนำเกษตรกรและดำเนินการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ซึ่งเกษตรกรจะได้ประโยชน์อย่างมากจากการเข้าร่วมปลูกพืชตามระบบมาตรฐาน GAP คือ ได้ความรู้เรื่องการผลิตพืชอย่างมีระบบ ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ผลผลิตมีคุณภาพ ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมี และศัตรูพืชเป็นที่ต้องการของตลาด ผู้ซื้อได้บริโภคพืชผัก ผลไม้ที่ปลอดภัย มีคุณภาพดี ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง และเกษตรกรมีรายได้จากการขายพืชผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรต่อไป สอดคล้องกับการนำแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์มาบริการวิชาการ คือเกษตรปลอดภัย ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีความยั่งยืน และตามนโนบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการเกษตร ด้าน Green University และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐาน GAP พืชอาหาร และพืชสมุนไพร
2. เพื่อยกระดับการผลิตพืชของเกษตรกรสู่ระบบการผลิตพืชปลอดภัย ถือเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร และให้เกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คุณภาพผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้า ผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน GAP พืชอาหาร และพืชสมุนไพร
KPI 1 : จำนวนฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐานเรียนรู้ 1
KPI 2 : จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐาน GAP พืชอาหาร และพืชสมุนไพรเพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.033 0.017 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
35 คน 35
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คุณภาพผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้า ผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน GAP พืชอาหาร และพืชสมุนไพร
ชื่อกิจกรรม :
1. ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเกษตรกรผู้สนใจ ในพื้นที่จังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
2. จัดเตรียมฐานเรียนรู้และทำสื่อการสอนเพื่อการถ่ายทอดความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์/ต้นกล้า ขุยมะพร้าว แกลบดำ ดินปลูก ปุ๋ย ถาดเพาะเมล็ด เป็นต้น เป็นเงิน 20,850 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา แฟ้ม เป็นต้น เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตะกร้า ถุงพลาสติก เป็นต้น เป็นเงิน 3,150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 33,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 33000.00
ชื่อกิจกรรม :
3. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐาน GAP พืชอาหารและพืชสมุนไพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 จำนวน 35 เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,050.00 บาท 0.00 บาท 12,050.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คนๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 150 บาท 1 วัน เป็นเงิน 750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,950.00 บาท 0.00 บาท 4,950.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
โครงการฐานเรียนรู้การส่งเสริมการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามระบบมาตรฐาน GAP พืชอาหาร และพืชสมุนไพร สอดคล้องกับรายวิชา ทพ308 ระบบมาตรฐานการผลิตพืช นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติแปลงสาธิตปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพร ตามมาตรฐาน GAP และมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐาน GAP พืชพืชอาหาร และพืชสมุนไพร จำนวน 25 คน
ช่วงเวลา : 01/11/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล