21139 : โครงการเสริมสร้างพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/12/2566 15:14:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  เกษตรกร หรือประชาชนผู้สนใจ ต.ทุ่งแค้ว อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญจรัส  เชิงปัญญา
อาจารย์ ดร. อภิรดี  เสียงสืบชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์
อาจารย์ ดร. จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 67-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 67-3.1.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-3.1.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของส่วนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มุ่งเน้นคัดเลือกประเด็นการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงในการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ Hi-Value and Sustainable Thailand ในองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Value-Added Economy) 2) สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค (High Opportunity Society) 3) วิถีชีวิตที่ยั่งยืน (Eco-Friendly Living) และ 4) ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ (Key Enablers for Thailand’s Transformation) โดยภายใต้องค์ประกอบในแต่ละด้าน ได้มีการกำหนด “หมุดหมาย” (Milestones) ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงสิ่งที่ประเทศไทยปรารถนาจะ‘เป็น’ มุ่งหวังจะ ‘มี’ หรือต้องการจะ ‘ขจัด’ ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อสะท้อนประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญต่อการพลิกโฉมประเทศ สู่การเป็น Hi-Value and Sustainable Thailand ภายในปี 2570 ซึ่งประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง บนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการพัฒนาต่อยอด และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมกับการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต และการปรับเปลี่ยนประเภทของการผลิตจากการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด โดยส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาในการผลิต และการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ด้วยการสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็น รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกร (กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13, 2564) ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลิตผลและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากมายที่ถูกทิ้งเป็นขยะก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะมีการนำบางส่วนมาผลิตปุ๋ยแต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ หากสามารถนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้จะเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรและประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งยังช่วยลดปัญหาขยะ ตอบสนองต่อกระแสความต้องการของโลกที่ต้องการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม สอดคล้อง และสนับสนุนนโยบายภาครัฐในด้านการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยประเทศไทยนั้นจัดเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทำให้มีวัสดุเหลือใช้จากพืชผลทางการเกษตรและวัชพืชต่าง ๆ มากถึง 38 ล้านตันต่อปี โดย 3 ใน 4 ของจำนวนทั้งหมดนั้นมาจากภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญได้ส่งผลต่อปัญหาทางด้านขยะและการทำลายสิ่งแวดล้อม (ณัชธกาภรณ์และสาลินี, 2561) วัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรเป็นวัสดุที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร ซึ่งจะถูกทิ้งไว้ในสวนไร่นา เช่น ฟางข้าว ต้นถั่วเหง้ามันสำปะหลัง ต้นอ้อย ต้นข้าวโพด โดยวัสดุเหล่านี้ยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ (จำนง, 2556) สำหรับพื้นที่ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ลักษณะพื้นที่เป็นดินร่วน การใช้ที่ดินพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว และปลูกข้าวโพด ซึ่งข้าวโพดและฟางข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย แต่ส่วนที่ถูกนำมาใช้มีเพียงผลข้าวโพดและข้าวเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ จะเหลือเป็นวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรมักถูกปล่อยให้แห้งแล้วเผาทำลาย ทำให้มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผักตบชวา และจอกแหนในอ่างกักเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในการเสริมสร้างพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน จึงต้องมีกลไกการทำงานที่เกิดจากการร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรสามารถนำมาใช้จัดการกับความเสี่ยงและข้อจำกัดข้างต้น และยังเป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับรายได้ของเกษตรกร และผู้ประกอบการแปรรูป รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและทรัพยากรท้องถิ่น
2. เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและทรัพยากรท้องถิ่นโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชุมชนสามารถนำความรู้/เทคโนโลยีจากงานบริการวิชาการไปพัฒนาโครงการเพื่อหาแหล่งทุน/ต่อยอด
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและทรัพยากรท้องถิ่นเพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนครั้งในการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 ครั้ง 2
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.03236 0.01764 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : จำนวนเทคโนโลยีที่นำมาถ่ายทอด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 เรื่อง 2
KPI 10 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 คน 25
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชุมชนสามารถนำความรู้/เทคโนโลยีจากงานบริการวิชาการไปพัฒนาโครงการเพื่อหาแหล่งทุน/ต่อยอด
ชื่อกิจกรรม :
1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปทรัพยากรท้องถิ่นเป็นผลิตภัณฑ์”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 25 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 25 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 1,750 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1.2x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 540 บาท เป็นเงิน 540 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,540.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,540.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 2,700 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษ ปากกา แฟ้มใส เป็นต้น เป็นเงิน 2,720 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์สี เป็นต้น เป็นเงิน 1,600 บาท
3. ค่าวัสดุเกษตร เช่น ขี้วัว ฟางข้าว เป็นต้น เป็นเงิน 13,000 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงพลาสติกใส ถังน้ำ เป็นต้น เป็นเงิน 3,400 บาท
5. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 23,720.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 23,720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32360.00
ชื่อกิจกรรม :
2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการผลิตไบโอชาร์”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา  ซูแสวงทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 25 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 25 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1.2x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 540 บาท เป็นเงิน 540 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,540.00 บาท 0.00 บาท 3,540.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 2,700 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,100.00 บาท 0.00 บาท 5,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น แผงควบคุมเซนเซอร์ เป็นต้น เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ถังเหล็ก ท่อเหล็ก เป็นต้น เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17640.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
มีการถ่ายทอดประสบการณ์จากการบริการวิชาการในการเรียนการสอน รายวิชา ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต แก่นักศึกษาจำนวนประมาณ 60 คน และมีการกระตุ้นให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตรที่ลงเรียนรายวิชา Selected Topic สร้างโครงงานวิจัยจากปัญหาและความต้องการของชุมชน
ช่วงเวลา : 01/11/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล