21136 : การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการสภาพอากาศทางด้านการเกษตรโดยใช้แอพพลิเคชั่น UNT Agromet เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  จำนวนเกษตรกรกลุ่มปลูกพืชแปลงใหญ่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินสะสมเพื่อขับเคลื่อนโครงการยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการ โครงการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการสภาพอากาศทางด้านการเกษตรโดยใช้แอพพลิเคชั่น UNT Agromet เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2567 601,200.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภธิดา  อ่ำทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

1. ปัญหาจากการประเมินค่าความชื้นในดินทำได้ไม่สะดวก การวัดข้อมูลความชื้นในดินมักใช้เวลานานและมีราคาแพงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการครอบคลุมพื้นที่ที่ค่อนข้างใหญ่การวิเคราะห์ทางด้านชลศาสตร์และการประเมินหาความชื้นในดินของน้ำในดินส่วนใหญ่ประเมินจากอัตราการซึมน้ำในดิน สัมประสิทธิ์การซึมน้ำในดิน การกักเก็บน้ำในดิน และความสัมพันธ์การใช้น้ำของพืชซึ่งเป็นวิธีที่แม่นยำแต่มีความยุ่งยากทั้งทางวิธีการ เวลา ตลอดจนค่าใช้จ่าย อีกทั้งผู้วิเคราะห์หรือผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลต้องมีความรู้ทางด้านฟิสิกส์ดิน ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของสมบัติทางน้ำในดินและสมบัติที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของน้ำในดินซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับความพร้อมของธาตุอาหารที่พืชจะน้ำไปใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตพืช ตลอดจนไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้นโยเฉพาะการให้สำหรับพืช คณะผู้วิจัยจึงได้มีการพัฒนาแบบจำลองร่วมกับการใช้เทคนิค Pedotrans function (PTF) จะช่วยอำนวยความสะดวกให้จัดทำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำในดินได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น และยังสามารถนำไปใช้ได้แพร่หลายอีกด้วย โดยผ่านกระบวนการการประยุกต์การสร้างแบบจำลองการลักษณะน้ำในดินต่าง ๆ สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ และนำไปสู่การปรับเทียบและพัฒนาการสร้างแบบจำลองดังกล่าวสามารถพยากรณ์ค่าความชื้นในดินและดัชนีการขาดน้ำในดินได้ตลอดจนสภาพภูมิอากาศอย่างแม่นยำ โดยสื่อสารผ่านแอพพลิเคชั่น UNT Agromet เพื่อได้ข้อมูลที่ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้จริงโดยเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. สาเหตุจากภัยแล้งต่อการเกษตร ในปัจจุบันโลกเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสำคัญที่ส่งผลต่อระบบภูมิอากาศของโลกทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงที่ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์เช่น พายุฮอริเคน น้ำท่วมและภัยแล้ง (วรลักษณ์, 2563) นอกจากนี้ความแปรปรวนของอากาศยังสัมพันธ์กับปัจจุบันที่เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติได้แก่ ปรากฏการณ์เอลนิโญ่-ลานิญ่า ทำให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรงโดยเฉพาะภัยแล้ง ซึ่งเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีกระบวนการเกิดที่ยาวนานและมีความซับซ้อนอย่างมาก(Damberg and AghaKouchak, 2014) ประเทศไทยประสบปัญหาด้านทางทรัพยากรน้ำเป็นประจำทุกปี โดยเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายทรัพย์สิน ส่งผลต่อด้านการเกษตรคุณภาพผลผลิตและปริมาณลดต่ำลง และวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก จากสถิติความเสียหายจากภัยแล้งของประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2560 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้งอยู่ระหว่าง 29-72 จังหวัด ภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากและมีความเสียหายมากที่สุด คือในปี พ.ศ.2548 โดยมีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 71 จังหวัด มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 7,565,861,139 บาท รองลงมาคือในปี พ.ศ. 2556 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 58 จังหวัด มีมูลค่าความเสียหาย 2,914,986,854 บาท และในปีพ.ศ. 2542 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 58 จังหวัด มีมูลค่าความเสียหาย 1,520,500,651 บาทตามลำดับ สถานการณ์ภัยแล้งของประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2560 ยังสร้างความเสียหายพื้นที่การเกษตรในปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 17,923,817 ไร่ รองลงมาคือในปี พ.ศ. 2548 มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 13,736,660 ไร่ และในปี พ.ศ. 2535 มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 5,334,471 ไร่ตามลำดับ 3. พื้นที่ปลูกไม้ผลในภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัดกับปัญหาภัยแล้งและการจัดการน้ำ จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดิน (2563) ได้รายงานว่าพื้นที่ปลูกไม้ผลยืนต้นในภาคเหนือตอนบนในปี 2561 มีพื้นที่ประมาณทั้งหมด 2,344,202 ไร่ (ดังตาราง) ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวปรากฏอยู่ทุกจังหวัด โดยมีปัญหาเรื่องการความต้องการน้ำเพื่อการผลิตและปัญหาได้รับผลกระทบภัยแล้งบางช่วงเวลา ในส่วนของไม้ผลในไทยจัดอยู่ในกลุ่มของไม้ผลเมืองร้อนเป็นกลุ่มพืชเขียวตลอดปี การผลิตไม้ผลยืนต้นเมืองร้อนต้องการการจัดการน้ำที่เหมาะสมช่วง 8-10 เดือน แต่อย่างไรก็ตามภาวะแล้งก็อาจจะกระตุ้นการสร้างตาดอกของไม้ผล เช่นพืชตระกูลส้ม (สุภัทร์,2555) ภัยแล้งเป็นปัญหาการปลูกไม้ผลยืนต้นในเขตภาคเหนือมีผลกระทบโดยตรงมาจากการเกษตรและแหล่งน้ำ ส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ ภัยแล้งที่เกิดมีผลต่อการเกษตรมักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วงโดยแต่ละปีจะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน 4. ความสำคัญของน้ำในดินกับการผลิตไม้ผลยืนต้น ความสำคัญของปริมาณน้ำในดิน น้ำเป็นสารประกอบที่ปรากฏตัวและพบมากที่สุดในโลกทั้ง 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ (ไอน้ำ) ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 ของผิวโลก เป็นมหาสมุทร ทะเล และทะเลสาปมากที่สุด (96.5%) ในขณะเดียวกันน้ำฝนจะถูกดินกักเก็บไว้เพียง 0.001% เท่านั้น (ตารางที่ 1) น้ำและอากาศต่างก็อยู่ในส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างอนุภาคดิน ดังนั้นถ้าปริมาณน้ำในดินมีมากจะมีผลให้ปริมาณของก๊าซต่างๆ ในดินลดลง ดินที่ใช้ทำการเกษตรทั่วไปย่อมมีน้ำปรากฏตัวอยู่ในดินบ้างไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และเนื้อดิน โดยทั่วไปน้ำในดินจะปรากฏตัวในดิน 2 สถานะคือ สถานะของเหลว (liquid state) ที่เรียกว่าความชื้นในดิน (soil moisture) ซึ่งจะอยู่ในรูปของสารละลายในดินจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำฝนที่ถูกดินเก็บนั้นมีปริมาณเท่าปริมาณน้ำฝนที่เพื่อประโยชน์แก่โลก (Scott, 2000) การปลูกไม้ผลควรพิจารณาจากชนิดของดินซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการซึมน้ำของดิน ส่วนวิธีการใช้เครื่องวัดแรงดึงน้ำในดินเป็นการให้น้ำตามความเป็นประโยชน์ของน้ำในดินซึ่งตามคำแนะนำโดยทั่วไปวิธีการให้น้ำแบบนี้สูญเสียน้ำส่วนหนึ่งจากการซึมลงในดินชั้นล่าง ดังนั้นวิธีการนี้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกพืชที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ จะมีพื้นที่ว่างระหว่างแถวประกอบกับการให้น้ำในปัจจุบันใช้ระบบการฉีดพ่นฝอยหรือระบบน้ำหยดใต้ต้น ทำให้การใช้พื้นที่ปลูกทั้งหมดในการคำนวณอาจเกิดการประมาณค่าปริมาณน้ำที่ให้แก่ไม้ผลสูงเกินกว่าความเป็นจริง ดังนั้นวิธีการที่น่าจะเหมาะสม คือ การใช้พื้นที่ใต้ทรงพุ่มในการคำนวณปริมาณน้ำที่จะให้ต่อต้น แล้วจึงทำการคูณด้วยจำนวนต้นทั้งหมด จะทำให้ได้ค่าการให้น้ำแก่ไม้ผลที่เหมาะสมมากขึ้น ส่วนในไม้ยืนต้น เช่น ยางพาราและยูคาลิปตัส ควรพิจารณาการชนกันของทรงพุ่มประกอบการคำนวณ ถ้าทรงพุ่มของพืชชนกันสมบูรณ์คำนวณได้ความถี่ของการให้น้ำ (จำนวนวัน/ครั้ง) การลดลงของน้ำในดิน(soil water depletion) เป็นวิธีการที่ใช้คำนวณปริมาณน้ำสำหรับไม้ผลยืนจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสำหรับวัดความชื้นในดิน ซึ่งต้องสามารถวัดได้ลึกตลอดระดับความลึกของรากพืช ในไม้ยืนต้นบางชนิดเป็นพืชที่สามารถมีรากลึกมากกว่า 20 ม. ดังนั้น การวัดความชื้นในดินตลอดระดับความลึกของรากจึงถูกจำกัด (Nelson et al.,2006; Isarangkool Na Ayutthaya et al., 2010) แต่อย่างไรก็ตามน้ำในดินสามารถอาจเกิดการซึมลงในดินที่ระดับลึกเกินกว่าเครื่องมือที่ติดตั้งไว้ ทำให้ไม่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของน้ำในระดับที่ลึกได้ 5. ปริมาณความชื้นในดินและค่าดัชนีการขาดน้ำในดิน สำหรับข้อเสนอโครงการนี้การใช้แนวทางการคาดการณ์ของปริมาณความชื้นในดินและดัชนีการขาดน้ำในดินเพื่อใช้ความชื้นในดินเป็นตัวบ่งชี้การจัดการน้ำและรับมือกับความแห้งแล้ง ดัชนีทั้งสองนี้มีการคำนวณโดยใช้ปริมาณน้ำในดินของอาณาบริเวณรากพืชหลายๆจุดจากพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งหมายถึงความลึกของดินด้วยนั้น เมื่อพิจารณาคำจำกัดความของความแห้งแล้งทางการเกษตรโดยพิจารณาจากคำว่าการขาดแคลนน้ำในดิน ดังนั้น การพิจารณาจากความชื้นของดินซึ่งเริ่มจากเกณฑ์ความชื้นในดินที่เหมาะสมไปจนถึงระดับการขาดแคลน จึงดัชนีความแห้งแล้งชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสำหรับการประเมินภัยแล้งทางการเกษตร (Allen et al., 1998) การคาดการณ์น้ำในดินและดัชนีการขาดน้ำในดินอยู่กับปริมาณน้ำในดินทีมีความพร้อมมีความประโยชน์สำหรับพืช ซึ่งใช้ปริมาณน้ำที่ความจุภาคสนาม (FC) เป็นระดับอ้างอิงสำหรับการเกิดภัยแล้ง สำหรับดัชนีการขาดน้ำในดินถูกนำไปใช้และทดสอบในเกษตรกรรมกึ่งแห้งแล้งของพื้นที่บริเวณยุโรปตอนใต้ (ทะเลเมดิเตอเรเนียน) และแสดงผลลัพธ์ออกมาในทิศทางที่ดี ซึ่งดัชนีนี้ถูกเปรียบเทียบกับดัชนีอุตุนิยมวิทยาพบว่ามีความง่ายกว่ามากเพื่อประเมินฐานทางกายภาพและสามารถสะท้อนความเป็นไปได้ในการระบุคุณลักษณะของเหตุการณ์ภัยได้ (เช่นจุดเริ่มต้นระยะเวลาและความรุนแรง) แต่อย่างไร การทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะความล่าช้าของข้อมูลของดัชนีเพราะจากกระบวนการเคลื่อนที่และการดูดยึดของน้ำในดิน SWDI เป็นดัชนีความแห้งแล้งทางการเกษตรที่มีวิธีการที่เข้าใจง่ายและมีความถูกต้องโดยอาศัยหลักการมาจากใช้สมบัติของดินเป็นตัวกำหนดขอบเขตความเป็นประโยชน์ของน้ำในดิน นอกจากนี้มีการคำนวณง่ายและสะดวกสำหรับในการใช้งาน ดังนั้น การคาดการณ์ปริมาณน้ำในดินและดัชนีการขาดน้ำในดิน (SWDI) ควรเป็นแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับการจัดการน้ำสำหรับการปลูกไม้ผลทางภาคเหนือเป็นอย่างยิ่ง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสภาพอากาศและการขาดน้ำในดินสำหรับการเกษตรโดยผ่านแอพพลิเคชัน UNT Agromet
2. การจัดทำข้อมูลสมบัติของดินที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำในดินสำหรับเกษตรกรที่ได้รับการอบรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 จำนวนเกษตรกรกลุ่มปลูกพืชแปลงใหญ่ได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ใหม่
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.6012 ล้านบาท 0.6012
KPI 2 : จำนวนเกษตรกรกลุ่มปลูกพืชแปลงใหญ่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 คน 200
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 2 ข้อมูลสมบัติของดิน
KPI 1 : ข้อมูลสมบัติของดิน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 ตัวอย่าง 200
KPI 2 : แนวทางในการเฝ้าระวังสภาพการขาดน้ำในดินในพื้นที่การปลูกพืชและการจัดการดิน น้ำ และปุ๋ยสำหรับพืช
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 จำนวนเกษตรกรกลุ่มปลูกพืชแปลงใหญ่ได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ใหม่
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง สมบัติของดิน น้ำ และปุ๋ยเพื่อการเกษตรโดยใช้แอพพลิเคชั่น UNT Agromet และแอพพลิเคชั่นต่างๆ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา  อ่ำทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าสถานที่อบรม 2 วันๆ ละ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 2 วันๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันในกิจกรรมการถ่ายทอดทอดองค์ความรู้ จำนวน 200 คนๆละ 120 บาท (จำนวน 2 วันๆ ละ 100 คน) รวมเป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมทั้งสิ้น 200 คน ๆละ 35 บาท (จำนวน 2 วันๆ ละ 100 คน) รวมเป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (4 คน x 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 วัน รวมเป็นเงิน 19,200)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน รวมเป็นเงิน 51,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 51,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 51,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ รวมเป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ 2 ครั้งๆ ละ 12,200 บาท รวมเป็นเงิน 24,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเชื้อเพลิง 2 ครั้งๆ ละ 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 193300.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 จ้างเหมาสร้างสื่อประกอบการบริการวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา  อ่ำทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำหนังสือประกอบการอบรม เรื่อง การจัดการปุ๋ยกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (200 เล่ม ๆ 480 บาท) รวมเป็นเงิน 96,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 96,000.00 บาท 96,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำหนังสือประกอบการอบรม เรื่อง คาร์บอนในดิน (200 เล่ม ๆ ละ 480 บาท) รวมเป็นเงิน 96,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 96,000.00 บาท 96,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำหนังสือประกอบการอบรม เรื่อง การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (200 เล่ม ๆ 390 บาท) รวมเป็นเงิน 78,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 78,000.00 บาท 78,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 270000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 การบริหารจัดการโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา  อ่ำทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาติดตามประเมินผลโครงการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 60,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 2 ข้อมูลสมบัติของดิน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดวิเคราะห์แบบพกพาสำหรับเกษตรกรเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการปุ๋ย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา  อ่ำทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ รวมเป็นเงิน 77,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 77,900.00 บาท 0.00 บาท 77,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 77900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
- การประสานกับตัวแทนเกษตรกรที่เป็นตัวแทนในกิจกรรมการถ่ายทอดอาจมีปัญหาในการสื่อสาร ที่เกิดจากไม่กล้าตัดสินใจ
- เข้าสู่เวลาการเริ่มต้นฤดูการเพาะปลูกแล้ว การเข้าไปอาจทำให้ประสบปัญหาเกษตรกรไม่ว่าง
- การแพร่ระบาดของโควิค ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่จะต้องมีการเตรียมพื้นที่ที่กว้างกว่าเดิม หรือมีผลต่อจำนวนเกษตรกรที่ลดลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
- ประสานไปยังสมาชิกท่านอื่น หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพื่อสอบถามการเข้าร่วมอบรม
- เข้าไปอบรมให้แก่เกษตรกรบ่อยขึ้น และจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านทาง Line/Facebook/ Youtube
- จัดสถานที่อบรมให้เหมาะสมต่อมาตราการการควบคุมการระบาดอย่างเคร่งคัด และประสานไปยังหน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าร่วมอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล