21134 : โครงการแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร ครั้งที่ 2
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์ประสาทพร กออวยชัย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/1/2567 9:54:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/06/2567  ถึง  30/06/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2567 5,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ประสาทพร  กออวยชัย
อาจารย์ ปิยนุช  จันทรัมพร
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
อาจารย์ ปณิดา  กันถาด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
อาจารย์ วิชชุดา  เอื้ออารี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.67 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.67 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.67 : 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.67 : 19. ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร คือ การแข่งเพื่อวัดระดับความรู้ตามหลักวิชาการแต่ละศาสตร์ และความชํานาญในวิธีปฏิบัติการ โดย สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จะมีการจัดแข่งขัน จำนวน 4 ประเภท และได้มอบหมายให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยกำกับดูแลกติกาการวัดคุณภาพความสามารถของนักศึกษาให้สอดคล้องกับกติกาทักษะที่ใช้ในการแข่งขัน งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ 1. การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน (เจ้าภาพเตรียมไว้ให้ 1. ถุงเพาะชำขนาดกว้าง 2.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว ที่เจาะรูเรียบร้อยแล้ว 60 ใบต่อทีม 2. วัสดุปลูกพีทมอส 3. นาฬิกาจับเวลา 4. อุปกรณ์ตีกรอบและขอบเขต 5. ป้ายหมายเลขทีม 6. นกหวีด 7. ถุงมือ กติกาที่ใช้ในการแข่งขัน 1. ผู้เข้าแข่งขันสถาบันละ 2 คน (ชาย 1 คน และหญิง 1 คน) 2. จัดวัสดุปลูกที่ทำให้ชื้นและคลุมด้วยพลาสติก ทีมละ 1 กอง ที่มุมใดมุมหนึ่งของพื้น 3. จัดสถานที่เป็นพื้นปูนหรือพื้นราบเรียบ ในพื้นที่ร่ม ทีมละอย่างน้อย 4 ตารางเมตร สำหรับวัสดุปลูกและวางถุงเพาะชำ 4. ตีเส้นกรอบที่จะวางถุงเพาะชำจำนวน 60 ถุงต่อทีม 5. ก่อนเริ่มการแข่งขัน ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขันตรวจเช็คอุปกรณ์เอง แต่จะมีกรรมการจับเวลาตรวจอุปกรณ์ ให้ผู้แข่งขัน ยกเว้น ถุงมือที่ให้ผู้เข้าแข่งขันตรวจสอบเอง (ถ้ามีอุปกรณ์ไม่ครบ หรือไม่ถูกต้องให้แจ้งทางคณะกรรมการก่อนเริ่มการแข่ง) 6. กรรมการเป็นผู้ให้สัญญาณเริ่มการแข่งขันและเริ่มจับเวลา โดยใช้เวลาในการแข่งขันทั้งหมด 20 นาที (ถ้าทำไม่เสร็จภายใน 20 นาที จะได้รับคะแนนในส่วนเวลาเท่ากับ 0 คะแนน) 7. เมื่อกรอกเสร็จแล้วต้องกระแทกถุงเพื่อให้วัสดุปลูกทรุดลง และแน่นพอสมควร พร้อมทั้งปรับให้เสมอ ปากถุง ถ้าใส่ไม่เต็มหรือเกินปากถุง จะหักถุงละ 1 คะแนน 8. การกรอกวัสดุปลูก 30 ถุงแรก ไม่ต้องพับปากถุง ส่วนอีก 30 ถุงที่เหลือ จะต้องพับปาก 0.5 ถึง 1 นิ้ว โดยจัดเรียงเป็นแถวให้เรียบร้อย จำนวน 6 แถวๆ ละ 10 ถุง 9. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด 10. ตัวแทนเจ้าภาพขอสละสิทธิ์ในการเป็นกรรมการตัดสิน 11. เจ้าภาพจะดำเนินการรวบรวมคะแนนในการตัดสินและแจ้งผลการตัดสิน หลักเกณฑ์การให้คะแนน (รวมคะแนนเต็ม 80 คะแนน แล้วคิดเป็น 100 %) 1. คะแนนความรวดเร็ว ทำเสร็จในเวลาที่กำหนด คะแนนเต็ม 20 โดยที่ 1.1 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 1 ได้ 20 คะแนน 1.2 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 2 ได้ 19 คะแนน 1.3 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 3 ได้ 18 คะแนน 1.4 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 4 ได้ 17 คะแนน 1.5 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 5 ได้ 16 คะแนน 1.6 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 6 ได้ 15 คะแนน 1.7 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 7 ได้ 14 คะแนน 1.8 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 8 ได้ 13 คะแนน 1.9 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 9 ได้ 12 คะแนน 1.10 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 10 ได้ 11 คะแนน 1.11 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 11 ได้ 10 คะแนน 1.12 ทีมที่ทำเสร็จลำดับที่ 12 ได้ 9 คะแนน หมายเหตุ: ถ้าทำไม่เสร็จภายใน 20 นาที จะไม่ได้รับคะแนนส่วนนี้หรือ 0 คะแนน 2. คะแนนความเรียบร้อย 60 คะแนน 2.1 ในกรณีการพับปากถุง ถ้ามีถุงที่ยังไม่พับ หรือพับถุงไม่เรียบร้อย หรือวัสดุปลูกไม่เสมอปากถุง หรือมีถุงวัสดุปลูกฉีกขาดหรือแตก จะถูกหักคะแนน ถุงละ 1 คะแนน การประเมินผลการแข่งขัน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.0 ขึ้นไป ได้รับเหรียญทอง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.0-79.9 ได้รับเหรียญเงิน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.0-69.00 ได้รับเหรียญทองแดง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 60.0 ไม่ได้รับเหรียญ หมายเหตุ : ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 ไม่นำมาคิดคะแนน 2. การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน (เจ้าภาพจัดเตรียมไว้ให้) 1. จอบถาก 1 เล่ม 2. จอบขุด 1 เล่ม 3. ด้ามจอบ 2 ด้าม 4. ไม่ทำลิ่มและยางรองลิ่มทีมละ 2 ชุด 5. พื้นที่แปลงขนาด 1 เมตร x 4 เมตร ที่ระบุหมายเลขแปลง 6. มีด 1 เล่ม 7. เลื่อยลันดา 1 ปื้น 8. เขียงไม้ 1 อัน 9. ไม่เมตรหรือตลับเมตรสำหรับตรวจวัดแปลง 10. ไม่ไผ่ปลายแหลมยาว 1 เมตรสำหรับกรรมการ กติกาที่ใช้ในการแข่งขัน 1. ผู้แข่งขันสถาบันละ 2 คน (ชาย 1 คน หญิง 1คน) 2. แต่ละทีมจับฉลากแปลง 3. กรรมการให้สัญญาณเริ่มการแข่งขันพร้อมกันทุกทีม 4. ผู้เข้าร่วมแข่งขันทำตามลำดับดังนี้ 4.1 เข้าด้ามจอบจำนวน 2 เล่ม (ด้ามใดด้ามหนึ่งเสร็จก่อนก็สามารถขึ้นแปลงได้) 4.2 ดายหญ้าบริเวณแปลงออกให้หมด 4.3 ขุดดินขึ้นแปลงเป็นรูปสามเหลี่ยมก่อนแล้วล้มแปลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยให้ด้านบนของแปลงมีขนาดความกว้าง 0.80 เมตร ยาว 3.8 เมตร สูง 1 หน้าจอบ ทีมละ 1 แปลง 4.4 เมื่อยกแปลงเสร็จแล้วให้วางจอบไว้ที่หัวแปลงแล้วยกมือบอกกรรมการ 5. กำหนดเวลาในการแข่งขัน 30 นาที 6. ถ้าด้ามจอบไหนหลุดให้หยุดการใช้จอบด้ามนั้น ถ้าจอบหลวมสามารถซ่อมแซมแล้วใช่ต่อได้ 7. กรณีผู้แข่งขันได้รับบาดเจ็บระหว่างการแข่งขันให้อยู่ในดุลยพินิจกรรมการว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้แข่งขันหรือไม่ ซึ่งจะพิจารณาจากความรุนแรงของบาดแผล 8. ไม่อนุญาตให้ใช้มือในการแต่งแปลง ยกเว้นการกำจัดวัชพืชก่อนขึ้นแปลงและการหยิบเศษซากวัชพืชออกจากแปลงในขณะเตรียมแปลง (เพิ่มเติมใหม่ย้ายจากกติกาในตารางขึ้นมา) 9. การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด หลักเกณฑ์การให้คะแนนการเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง 1. คะแนนแล้วเสร็จการเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง (ทีมที่เตรียมแปลงเสร็จก่อนเวลา 30 นาที จะได้คะแนน 10 คะแนน และลดลงทุกๆ 1 คะแนนตามลำดับที่เตรียมแปลงเสร็จ โดยที่ 3 ลำดับสุดท้ายได้ 1 คะแนนเท่ากัน ยกเว้นทีมใดที่ทำไม่เสร็จภายใน 30 นาที จะไม่ได้คะแนนส่วนนี้) 10 คะแนน 2. คะแนนความเรียบร้อยของแปลง (ไม่เอียง ไม่โย้ ไม่เบี้ยว ความสะอาดรอบแปลง) 15 คะแนน 3. คะแนนความละเอียดของเม็ดดิน และสม่ำเสมอทั่วแปลง 10 คะแนน 4. ความสูงของแปลง 20 ซม. และสุ่มความร่วนซุยของดินจำนวน 5 จุด 15 คะแนน 5. ความถูกต้องของขั้นตอนการเตรียมแปลง 20 คะแนน 6. ความถูกต้องของขั้นตอนการเข้าด้ามจอบ 10 คะแนน 7. ความเรียบร้อยของลิ่มและยางรองลิ่มเมื่อสิ้นสุดการเตรียมแปลง (ลิ่มไม่บิดเบี้ยว ยางรองเสมอกับด้ามจอบ) 10 คะแนน 8. สภาพจอบเมื่อเข้าสิ้นสุดการเตรียมแปลงต้องเรียบร้อย 10 คะแนน 9. การโกยดินขอบแปลงไม่เกินด้านละ 25 ซม. 4 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 104 คะแนน หมายเหตุ ปรับให้เป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน การประเมินผลการแข่งขัน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.0 ขึ้นไป ได้เหรียญทอง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.0-79.9 ได้เหรียญเงิน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.0-69.9 ได้เหรียญทองแดง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 60.0 ไม่ได้รับเหรียญ หมายเหตุ ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 ไม่นำมาคิดทุกทักษะ 3. การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อการส่งเสริมการเกษตร (Poster) ภายใต้หัวข้อเพื่อการแข่งขันผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์ “นวัตกรรมการเกษตรต่อการพัฒนาการเกษตรยังยืน” (แจ้งให้ผู้เข้าแข่งขันทราบวันที่แข่งขัน) อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน (เจ้าภาพจัดการแข่งขันเตรียมไว้ให้) 1. คอมพิวเตอร์ (PC) พร้อมโปรแกรมสําหรับออกแบบสถาบันละ 2 เครื่อง (โปรแกรมสําหรับออกแบบ ได้แก่ Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator) ซึ่งคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้จะมีคุณสมบัติแบบเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และสามารถใช้ทดแทนกันได้ 2.หัวข้อในการผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร ทุกทีมจะทราบพร้อมกันในวันแข่งขัน 3. บอร์ดจัดแสดงผลงานแผ่นประชาสัมพันธ์ของแต่ละทีม 4. เครื่องพิมพ์ (Printer) 5. กระดาษ A3 กติกาที่ใช้ในการแข่งขัน 1. แต่ละสถาบันเตรียมภาพถ่ายที่ใช้เป็นภาพประกอบในการแข่งขันสถาบันละ 15 ภาพที่มีขนาดความละเอียด ไม่น้อยกว่า 1000 พิกเซล โดยส่งหัวข้อและภาพประกอบในวันประชุมกติกาหรือในวันแข่งขันขึ้นอยู่กับมติของคณะกรรมการ เพื่อร่วมกันพิจารณาหัวข้อและคัดเลือกภาพประกอบเข้าสู่คลังภาพกลางสำหรับใช้ในการแข่งขัน 2. หัวข้อและคลังภาพกลางที่ใช้ในการแข่งขันจะแจ้งให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในห้องแข่งขันโดยผู้รับผิดชอบ/ ผู้ประสานงานกลางจากสถาบันเจ้าภาพ 3. แต่ละสถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขันส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขันทีมละ 2 คน (ไม่จำกัดเพศ) 4. ออกแบบแผ่นประชาสัมพันธ์ ขนาด A3 จำนวน 1 แผ่นแนวตั้ง (Portrait) ตามหัวข้อที่กำหนด โดยสามารถเลือกใช้โปรแกรม Adobe Photoshop หรือ Adobe Illustrator หรือทั้ง 2 โปรแกรม ร่วมกันในการผลิตชิ้นงาน ซึ่งภายในแผ่นประชาสัมพันธ์ต้องมีองค์ประกอบตามหลักการผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์ครบถ้วน 5. ภาพประกอบที่เป็นภาพถ่ายให้ใช้เฉพาะภาพจากคลังภาพกลางที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ นำภาพถ่ายจากภายนอกคลังมาใช้ 6. สามารถเลือกใช้ภาพตกแต่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักจาก Internet ได้เฉพาะภาพประเภท เวกเตอร์ หรือภาพพื้นหลังเท่านั้น และห้ามใส่สัญลักษณ์อื่นที่สื่อถึงสถาบันของตนเอง 7. ห้ามผู้เข้าแข่งขันใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด รวมถึงโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในระหว่างการแข่งขันเด็ดขาด หากพบว่ามีการใช้หรือติดต่อกับบุคคลภายนอกจะปรับแพ้ทันที 8. ใช้เวลาการแข่งขัน ผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร 3 ชั่วโมง (เริ่มจับเวลาภายหลังที่ผู้เข้าแข่งขันทราบแนวคิดในการผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์แล้ว และผู้เข้าแข่งขันทำการออกแบบจนถึงขั้นตอนส่งไฟล์เพื่อผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์) 9. เมื่อออกแบบแผ่นประชาสัมพันธ์เสร็จ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องบันทึก (Save) ไฟล์เป็นชนิด JPEG (*JPG,*JPEG,*JPE) พร้อมกับต้นฉบับ เพื่อส่งให้กับผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงานกลางนำไปพิมพ์ ให้คณะกรรมการพิจารณา และจัดแสดงผลงานที่บอร์ดแสดงผลงานต่อไป 10. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งแนวคิดในการออกแบบแผ่นประชาสัมพันธ์โดยพิมพ์เนื้อหาในโปรแกรม Microsoft Word ในแนวตั้ง (Portrait) และสั่งพิมพ์ในกระดาษ A4 เพื่อให้คณะกรรมการจำนวน 1 หน้า เพื่อประกอบการพิจารณาให้คะแนนส่วนการนำเสนอแนวคิด หมายเหตุ : พิมพ์โดยใช้แบบอักษร “TH SarabunPSK/TH SarabunNew” ขนาด 16 Point กำหนดระยะห่างด้านบน 1.5 นิ้ว ล่าง 1 นิ้ว ซ้าย 1.5 นิ้ว และขวา 1 นิ้ว 11. คณะกรรมการ คือ อาจารย์ตัวแทนของแต่ละสถาบัน จำนวน 1 คน โดยแต่ละสถาบันจะต้องส่ง รายชื่อคณะกรรมการ พร้อมรายชื่อผู้เข้าแข่งขันของแต่ละสถาบัน ในวันประชุมกติกา 12. คณะกรรมการและบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันไม่สามารถเข้าห้องแข่งขันในระหว่างการทำแผ่นประชาสัมพันธ์ได้ ยกเว้นผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงานกลาง 13. คณะกรรมการจะทำการตัดสินหลังจากเสร็จสิ้นทำแผ่นประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากตัวชิ้นงาน พร้อมทั้งไฟล์ต้นฉบับ และเอกสารนำเสนอแนวคิดพร้อมกัน ทีละชิ้นงาน ทั้งนี้ การตัดสินของ คณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด 14. การคิดคะแนนผลงานให้กรรมการจากทุกสถาบันกรอกคะแนนให้กับผลงานทุกชิ้น โดยการรวม คะแนนของผลงานแต่ละชิ้นจะไม่รวมคะแนนของกรรมการที่มาจากสถาบันเดียวกับผู้เข้าแข่งขัน หมายเหตุ : กรณีขณะทำการแข่งขัน มีปัญหาผิดพลาดทางระบบคอมพิวเตอร์จะได้รับการชดเชยเวลาให้เป็นพิเศษ (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงานกลาง) หลักเกณฑ์การให้คะแนน 1. องค์ประกอบ เนื้อหา องค์ความรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ 25 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 25 คะแนน 3. การออกแบบ (กราฟิก การใช้สี และการจัดวางตำแหน่ง) 25 คะแนน 4. การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความน่าสนใจ 20 คะแนน 5. การนำเสนอแนวคิด (เอกสารประกอบ A4) 5 คะแนน รวม 100 คะแนน การประเมินผลการแข่งขัน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.0 ขึ้นไป ได้รับเหรียญทอง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.00-79.9 ได้รับเหรียญเงิน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.0-69.9 ได้รับเหรียญทองแดง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 60.0 ไม่ได้รับเหรียญ 4. การพูดส่งเสริมทางการเกษตร กติกาที่ใช้ในการแข่งขัน 1. สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขัน ส่งรายชื่อเข้าแข่งขันสถาบันละ 1 คน (ไม่จำกัดเพศ) 2. การแข่งขัน มี 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 พูดตามหัวข้อที่กำหนดไว้ โดยใช้หัวข้อเดียวกันทุกสถาบัน กำหนดเวลาพูดคนละ 5 นาที ผู้แข่งขันจากสถาบันอื่นจะถูกเก็บตัวในห้องพักที่เตรียมไว้ รอบที่ 2 พูดแบบเฉพาะหน้า โดยจับฉลากหัวข้อการพูดและมีเวลาเตรียมตัวแข่งขันคนละ 5 นาที กำหนดเวลาพูดคนละ 3 นาที ผู้แข่งขันจากสถาบันอื่น จะถูกเก็บในห้องพักที่เตรียมไว้ 3. หัวข้อสำหรับการแข่งขันแต่ละสถาบันส่งหัวข้อการพูดรอบที่ 1 และรอบที่ 2 ในวันประชุมกติกา รอบที่ 1 ผู้เข้าแข่งขันทุกสถาบันจะทราบหัวข้อสำหรับพูดล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัว 1 วัน ก่อนการแข่งขันโดยใช้หัวข้อเดียวกัน (หัวข้อและผู้รับสารในการพูดจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการตัดสินจากหัวข้อที่แต่ละสถาบันส่งมา และคัดเลือกในวันประชุมคณะกรรมการ) รอบที่ 2 ผู้เข้าแข่งขันจับฉลากเลือกหัวข้อที่จะพูดและจะมีเวลาในการเตรียมตัว 5 นาที (หัวข้อในการพูดจะอยู่ในซอง เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันของแต่ละสถาบันเลือกหัวข้อที่จะพูด ทั้งนี้ หากสถาบันใด ได้หัวข้อของสถาบันตัวเองจะต้องเลือกซองหัวข้อใหม่) 4. ลำดับการแข่งขันจะทำการจับฉลากเลือกลำดับในการพูดแข่งขันแต่ละรอบ ในวันประชุมกติกา 5. การจับเวลาในการแข่งขันจะทำการจับเวลาโดยกรรมการกลางในการแข่งขัน 5.1. การจับเวลาในการแข่งขัน รอบที่ 1 และ 2 - ก่อนหมดเวลา 1 นาที จะมีเสียงกริ่งสัญญาณเตือน 1 ครั้ง - หมดเวลา จะมีเสียงกริ่งสัญญาณเตือน 3 ครั้ง 5.2. การจับเวลาในการเตรียมตัวแข่งขันรอบที่ 2 (5 นาที) - ก่อนหมดเวลา 1 นาทีจะมีเสียงกริ่งสัญญาณเตือน 1 ครั้ง - หมดเวลา พาผู้เข้าแข่งขันขึ้นสู่เวที 6. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแต่งการด้วยชุดนักศึกษาประจำสถาบันที่ถูกระเบียบเท่านั้น 7. รอบที่ 1 ห้ามมีกระดาษโน้ต รอบที่ 2 ผู้จัดจะจัดเตรียมกระดาษ Short Note ให้ 8. ไม่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์เสริมใด ๆ ในระหว่างการพูด 9. กรรมการตัดสินที่มาจากสถาบันเดียวกับผู้เข้าแข่งขัน จะไม่มีสิทธิ์ให้คะแนนผู้เข้าแข่งขันจากสถาบันเดียวกัน 10. การรวบรวมคะแนนตัดสิน ใช้วิธีการตัดคะแนนสูงที่สุด และคะแนนต่ำที่สุดของคณะกรรมการแต่ละท่านออกก่อนรวมคะแนน 11. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด หมายเหตุ : การพูดในรอบแรกสามารถมีอุปกรณ์ประกอบการแต่งตัวหรือการพูดได้ (ผู้แข่งขันต้องเตรียมเอง) แต่ไม่มีผลต่อการคิดคะแนน หลักเกณฑ์การให้คะแนน แบ่งเป็น 2 รอบ 1. เนื้อหา สอดคล้อง ตรงประเด็น 2. การจัดลำดับประเด็นการพูด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 3. บุคลิกภาพ 4. ความถูกต้องในการใช้ภาษา 5. การรักษาเวลา 6. การสร้างบรรยากาศและความน่าสนใจ รวมทั้งหมด 140 หมายเหตุ คะแนนในส่วนการรักษาเวลากรรมการกลางจะเป็นผู้ให้คะแนนทั้ง 2 รอบ ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนเวลานี้ ดังนี้ รอบที่ 1 จะได้คะแนนเต็ม เมื่อใช้เวลาในช่วง 4.30 – 5.00 นาที รอบที่ 2 จะได้คะแนนเต็มเมื่อใช้เวลา 2.30 – 3.30 นาที ในกรณีที่ใช้เวลาไม่ถึงหรือเกินเวลาที่กำหนดในแต่ละรอบการแข่งขัน จะถูกตัดคะแนน 1 คะแนน ทุก 30 วินาที การประเมินผลการแข่งขัน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.0 ขึ้นไป ได้เหรียญทอง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.00 -79.9 ได้เหรียญเงิน ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.00 -69.9 ได้เหรียญทองแดง ทีมที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 60.00 ไม่ได้รับเหรียญ กิจกรรมนี้ถือเป็นวาระที่ดีที่ทำให้นักศึกษาได้เชื่อมสัมพันธไ์มตรีภายในสาขาทุกชั้นปี ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นเป็นในศตวรรษที่ 21 อาทิ ทักษะการเรียนรู้และนวัตักรรม (Learning & Innovation Skills – 4Cs) = คิดสร้างสรรค์ (Creativity) แก้ปัญหาเป็น สื่อสารที่ดี (Communication) เต็มใจร่วมมือ (Collaboration) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลย(ี Information, Media & Technology Skills) = ฉลาดสื่อสาร ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and career skills) มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัวรู้จักเข้า สังคม หมั่นหาความรู้รอบด้าน เรียนรู้ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น และเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้นำนักศึกษาได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำรับผิดชอบหน้าที่การเลือกใช้สสื่อ สารสนเทศในการประสานงาน ดําเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
2 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากการร่วมพิธีกรรมทางศาสนา
3 เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาแข่งขันเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมงานประเพณี 4 จอบในครั้งต่อไป
4 เพื่อสานสัมพันธ์นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืชทุกชั้นปี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กิจกรรมแข่งขันทักษะเกษตร
KPI 1 : ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 3 : ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กิจกรรมแข่งขันทักษะเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
การแข่งขันทักษะเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/06/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปิยนุช  จันทรัมพร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปณิดา  กันถาด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
1. ถุงใส่ดิน จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
2. ตาจอบ จำนวน 6 ชิ้น ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมนันทนาการเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/01/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การเตรียมปลูกที่ถูกต้องได้มาตรฐาน การนำเสนอด้วยปากเปล่า การออกแบบโพสเตอร์เพื่อประชาสัมพันธ์สาขา
ช่วงเวลา : 20/06/2567 - 30/06/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล