21122 : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.5 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ / อัตลักษณ์ / ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
ตัวชี้วัด 67-6.5.1 จำนวนงบประมาณโครงการบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายใน
กลยุทธ์ 67-6.5.1.1 ผลักดันให้บุคลากรแสวงหางบประมาณโครงการบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายในของส่วนงานและมหาวิทยาลัย อาทิเช่น โครงการสนองงานในพระราชดำริ/ โครงการอพ.สธ. /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง/โครงการภายใต้สน.วิจัย และอื่นๆ ในประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปี 2562 จังหวัดแพร่ได้จัดทำการขอขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในเรื่อง “ผ้าหม้อห้อมแพร่” โดยมีผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 37 คน และเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อม ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดย GI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ให้สามารถยกระดับสินค้าจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อม ย้อมสีธรรมชาติต้องการห้อมเปียกหรือเปรอะ (Indigo plast) ที่มีคุณภาพในปริมาณที่สูง สืบเนื่องจากการอบรมเรื่องการก่อหม้อห้อมให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 พบปัญหาเรื่องของปริมาณเนื้อห้อมเปียกที่ไม่เพียงพอต่อการก่อหม้อย้อมของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ เนื่องจากใบห้อมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดแพร่มีลักษณะใบบาง ความเข้มของการติดสีน้อย เปอร์เซ็นต์การให้เนื้อห้อมน้อย เกิดจากผู้ปลูกพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก และยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่ต้นห้อมมักเป็นโรคนี้กันค่อนข้างมากซึ่งส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นสูงทำให้ดินมีความชื้นสูง ตามไปด้วย จุลินทรีย์ร้ายต่าง ๆ ที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดีและเร็ว สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟทอฟโธรา (Phytophthora parasitica Dastur) เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปกติอยู่แล้ว รอเวลาที่ต้นพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟทอปโธราก็จะเข้าทำลาย สังเกตได้จากเวลาพบต้นห้อมเป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลงแต่จะพบเป็นบางต้นและค่อย ๆ ลุกลามไปยังต้นข้างเคียงแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟทอฟโธราจะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอมีภูมิคุ้นกันต่อโรคต่ำที่สุด แต่ถ้าดูแลให้ต้นห้อมแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดลงตามไปด้วย การแก้ปัญหาดังกล่าวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการปลูกห้อมควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกห้อมให้อาหารทางใบสำหรับต้นห้อมและการใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ บิวเวอเรีย เมธาไรเซียมป้องกันแมลง ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพิ่มความหนาของใบ และเม็ดสีของใบห้อมใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ราสนิมน้ำค้าง ซึ่งพบว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพหลายชนิด แต่ถ้าเกิดใช้เอนโดไฟติกเเบคทีเรียเพียงชนิดเดียวสามารถให้ประสิทธิผลครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน จากงานวิจัยการใช้เชื้อเอนโดไฟติกแบคทีเรียของ ณัฐพร (2561) สามารถทำให้ ต้นห้อมสามารถปลูกในพื้นที่ราบได้โดยควบคุมความชื้นให้อยู่ที่ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ห้อมให้ผลผลิตที่ดีมีขนาดต้นที่สูงขึ้น จำนวนกอและกิ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว อีกทั้งปริมาณเนื้อห้อมเพิ่มสูงขึ้น และให้การเปลี่ยนสีที่ดีขึ้นเมื่อใช้รวมกับเชื้อจุลินทรีย์ในการก่อหม้อ (ณัฐพร, 2562) และเนื่องจากจังหวัดแพร่ต้องการผลักดันผ้าหม้อห้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงบรรจุงานต่าง ๆ เรื่องห้อมไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยจะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ 1) ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า คือ 1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร 2) เกษตรปลอดภัย ให้ความรู้ สนับสนุนกลไกตลาด เปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอินทรีย์ 3) เกษตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมฐานทรัพยากรชีวภาพ 4) เกษตรแปรรูป เพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตรพรีเมียม 5) เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณห้อมและกำลังการผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ จึงต้องมีการนำชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมแพร่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ชีวนวัตกรรม คือ ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่สามารถพลิกฟื้นการเกษตรที่เป็นรากฐานของสังคมไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับอารยะประเทศ จากการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เข้ากับเกษตรแบบดั้งเดิม เพื่อให้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยสารชีวภัณฑ์ (Bio product) ที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยในการลดต้นทุน และสามารถควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ ความสำคัญของชีวนวัตกรรม คือ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สามารถช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เนื่องจากชีวนวัตกรรม ถือเป็นโมเดลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการยกระดับสินค้าเพื่อให้ออกสู่ตลาดสากล และลดต้นทุนในกระบวนการผลิตในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เป็นต้น โดยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) อีกทั้งสามารถผลักดัน และพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่า โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่มั่นคง ซึ่งผู้วิจัยมีองค์ความรู้ในด้านชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อมให้ทนต่อโรคเพิ่มการเจริญเติบโต เพิ่มคุณภาพสี ทั้งยังทำให้ได้ห้อมอินทรีย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาการใช้เอนโดไฟติกแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากรากห้อม และคัดแยกจุลินทรีย์ในน้ำหมักห้อม (หม้อย้อม) ที่มีคุณภาพสูงต่อการย้อมห้อมและได้จดสิทธิบัตรงานดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น สิทธิบัตรจุลินทรีย์อัดแท่งเพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สิทธิบัตรการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงต่อการก่อหม้อ สิทธิบัตรการใช้ห้อมผงเพื่อใช้ในการย้อม รวมทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากห้อมโดยการใช้ห้อมผง หัวเชื้อจุลินทรีย์ผง เป็นชุด Kit พร้อมย้อมให้กับชุมชน จากทุนสนับสนุนของ BEDO ทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ณัฐพร (2563) ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับหม้อห้อมทั้งสิ้น 3 เรื่อง คือ 1) กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโกแบบแห้ง เลขที่สิทธิบัตร 2001001405 2) การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น เลขที่สิทธิบัตร 2003000405 และ 3) ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและกรรมวิธีการผลิต เลขที่สิทธิบัตร 2001001102 ซึ่งเป็นชีวนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อม และได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ห้อมผงนาตอง หัวเชื้อจุลินทรีย์ในการสร้างสี Leuco Indigo แบบแห้งเพื่อใช้ในการก่อหม้อในการย้อมผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์ชุด Kit สีน้ำระบายสี และผลิตภัณฑ์ห้อมเปียกนาคูหา รวมทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ จากการสนับสนุนงบประมาณจาก BEDO และกำลังทำการวิจัยทดลองปลูกห้อมโดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วย เรื่องผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรีย PsenaloXanthomoras spadiX MJUP08 ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของห้อมในจังหวัดแพร่ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นโครงการต่เนื่องจากปี 2565 ที่ได้ทำการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามรอยพระราชดำริและพัฒนาปรับปรุง/ดูแลศูนย์เรียนรู้การปลูกห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ การเตรียมแปลง และดูแลแปลงปลูกห้อมและพืชให้สีคราม โดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการปลูก และขยายพันธุ์พืช และถ่ายทอดความรู้การปลูกห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ โดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการปลูก การใช้ประโยชน์จากห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ภายใต้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ) และได้ถ่ายทอดความรู้กระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อมด้วยวิธีชีวนวัตกรรม (การย้อมผ้าหม้อห้อมโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์) ในปี 2566 ได้ทำการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนาพฤกษเคมีพร้อมใช้จากห้อม และพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคในที่นี้ประกอบด้วยอาหารและเครื่องดื่มโดยต้องผ่านกระบวนการสกัดพฤกษาเคมีของห้อมให้บริสุทธิ์และนำมาประกอบสูตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้ แต่ในอดีตชาวเขาเผ่าเมี่ยนและชาวบ้านทั่วไปนิยมนำห้อมมาต้นดื่มกินได้เพื่อเป็นการบำรุงร่างกายและป้องกันรักษาโรค แต่ปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้ได้เลือนหายไปแล้วเนื่องจากเชื่อแต่ว่าห้อมสามารถแค่ใช้มาย้อมผ้าเท่านั้นหรือแค่นำมาใช้ย้อมผ้ายังเริ่มลดน้อยลงไปด้วยซ้ำ เนื่องจากกระบวนการ ทางสีสังเคราะห์เข้ามาแทนที่ พืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ ได้แก่ ครามฝักตรง ครามฝักงอ ห้อมใบใหญ่บ้านนาตอง ห้อมใบใหญ่บ้านนาคูหา ห้อมใบเล็กบ้านนาตอง และใบเบิก การพัฒนาพฤกษาเคมีพร้อมใช้ของห้อมพัฒนาจากห้อมผงในระดับห้องปฏิบัติการชีวนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โดยเริ่มต้นจากกระบวนการเก็บเกี่ยวห้อมจนถึงกระบวนการผลิตห้อมผงให้ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นห้อมผงพร้อมใช้ซึ่งสิ่งที่ต้องตรวจวิเคราะห์ คือ ค่าสีด้วยระบบ Hunter Lab (L*, a* และ b*) ด้วยเครื่องวัดสี ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของแข็งที่ละลายทั้งหมด ความหนืด (cP) ความชื้น (ร้อยละ) ความหนาแน่นจำเพาะ (กรัมต่อลิตร) อัตราการละลาย (วินาที) ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (ด้วยวิธี DPPH, ABTS และ MDA) ปริมาณรูติน ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนนอยด์ ปริมาณรวมฟินอลิก (TPC) ปริมาณอินดิโกบลู ปริมาณอินดิรูบิน ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (CFU ต่อกรัม) โคลิฟอร์ม (MPN ต่อกรัม) ยีสต์และรา (CFU ต่อกรัม) และความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่ผิวหนังบางชนิด โดยได้ทำการหาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ด้วยเทคนิคโครมาโทกราพฟี เพื่อหาฤทธิต้านอนุมูลอิสระ DPPH, ABTS และ MDA และค่า IC50 หาปริมาณรวมฟินอลิก (TPC) ปริมาณฟลาโวนนอยด์ ปริมาณแคโรทีนอยด์ ปริมาณอินดิโกบลู และปริมาณอินดิรูบริน จากนั้นนำมาพัฒนาพฤกษเคมีพร้อมใช้จากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ เช่น สีผสมอาหาร สมุนไพร (ยา) อาหารและเครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง (สบู่ เซรั่ม ยาสระผม) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงมีความประสงค์ที่ต้องการสร้างฐานเรียนรู้การปลูกพืชอนุรักษ์อื่น ๆ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อให้บริการวิชาการให้แก่ นักวิจัยคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ต่อไป โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ที่ปลูกในสภาพพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อรวบรวม รักษา จัดทำคู่มือเกี่ยวกับ พืชให้สีครามจังหวัดแพร่ และผลิตภัณฑ์ รวมถึงนวัตกรรมการผลิตที่ได้ จากพืชสีคราม และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนา เช่น ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากพฤกษเคมีพร้อมใช้จากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ เช่น สีผสมอาหาร สมุนไพร (ยา) อาหารและเครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง (สบู่ เซรั่ม ยาสระผม) หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชให้สีคราม เช่น ห้อมผง ห้อมเปียก ผลิตภัณฑ์ชุด kit เสื้อ ชุด kit ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น เพื่อขยายพันธุ์พืชอนุรักษ์ให้มากขึ้นด้วยชีวนวัตกรรมและหลัก BCG model ดังนั้น ในปี 2567 นี้ จึงได้จัดทำโครงการต่อเนื่องเพื่อเพาะขยายพันธุ์พืชให้เพิ่มมากขึ้น และนำไปแจกจ่ายให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ เกษตรจังหวัด เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง วิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ เครือข่าย Young Smart Farmer และเครื่อข่าย Biz club phare รวมถึงร้านค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ร้านหม้อห้อมป้าเหงี่ยม ร้านป้าวิภา ร้านหม้อห้อมธรรมชาติ เป็นต้น) เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูกพืชห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ให้มากขึ้น และจะจัดทำหนังสือคู่มือห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อเพาะขยายพันธุ์และกระจายพันธุ์พืชห้อมและพืชให้สีครามให้แต่ละหน่วยงาน และเป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชท้องถิ่นของจังหวัดแพร่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
KPI 1 : จำนวนพืชห้อม 3 สายพันธุ์ ที่เพาะขยายพันธุ์เพื่อแจกจ่ายกระจายพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3000 ต้น 3000
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.114 0.036 0.05 ล้านบาท 0.2
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ามาศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : จำนวนพืชเบิกที่เพาะขยายพันธุ์เพื่อแจกจ่ายกระจายพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1000 ต้น 1000
KPI 6 : จำนวนพืชสีครามที่เพาะขยายพันธุ์เพื่อแจกจ่ายกระจายพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1000 ต้น 1000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามรอยพระราชดำริและพัฒนาปรับปรุง/ดูแลศูนย์เรียนรู้การปลูกห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 45,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น ดินดำใช้สำหรับปลูก ถุงดำ ปุ๋ยคอกจากวัว ซาแลนพลางแสง 70% ปุ๋ย PGPR เป็นต้น เป็นเงิน 69,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 69,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 69,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 114000.00
ชื่อกิจกรรม :
การถ่ายทอดความรู้การปลูกห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ โดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการปลูก การใช้ประโยชน์จากห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับต้นกล้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เพื่อใช้ในการเตรียมเชื้อจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ Nitrogen –Free Medium, KH2Po4, CaCl2, NaSO4, K2HPO4 เป็นต้น จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 18,000 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 36000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำหนังสือคู่มือห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำหนังสือคู่มือห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ จำนวน 500 เล่ม ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การเรียนการสอน นำไปบูรณาการในการเรียนการสอนวิชา ทช 271 เทคโนโลยีชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น (เลือกเสรี) จำนวน 25 คน
ช่วงเวลา : 18/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล