21117 : การสร้างนวัตกรรมการแปรรูปเห็ดเยื่อไผ่ให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฟังก์ชันเพื่อสุขภาพมูลค่าสูง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/1/2567 13:55:14
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้ปลูกเห็ดเยื่อไผ่ วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ SME ผู้สนใจทั่วไป ผู้ที่รักษาสุขภาพ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีระพล  เสนพันธุ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.3.1. EN67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เห็ดเยื่อไผ่หรือเห็ดร่างแห (Dictyophora indusiata Fisch.) จัดเป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ได้ในสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นและอยู่ในกลุ่มของเห็ดที่เป็นยา มีประวัติการใช้งานทางการแพทย์แผนโบราณของจีนมาเป็นเวลายาวนานนับพันปี ปัจจุบันเห็ดเยื่อไผ่ได้รับความนิยมและได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดเยื่อไผ่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคจึงส่งผลให้เห็ดชนิดนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างสูง จากการวิจัยพบว่าเห็ดเยื่อไผ่มีสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลทางชีวภาพ เช่น พอลิแซ็คคาไรด์และสารไดโอไทโอโฟริน เอและบี ทั้งยังมีอะดีโนซีน โปรตีน สเตอรอล โพลีแซคคาไรด์ เบต้ากลูแคน (Beta 1,3 และ Beta 1,6 D-glucan) และกรดไฮยารูโรนิค (hyaluronic acid) ที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆได้เป็นอย่างดี (Lin et al., 2012) และมีนิวคลีโอไซด์มากกว่า 10 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสามารถช่วยในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Kim et al., 2010) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (Kiho et al.,1994) สารพอลิแซ็กคาไรด์และไดโอไทโอโฟรินเอ และ บี ในเห็ดเยื่อไผ่พบมากที่สุดในส่วนของดอกเห็ด (Fruiting body) รองลงมา คือ เส้นใยเห็ด (Mycelium) จึงได้มีนำเห็ดเยื่อไผ่ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกึ่งสำเร็จรูป ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจนำเห็ดเยื่อไผ่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวดโดยใช้แนวความคิดสร้างสรรค์ การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิต และบรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุในบรรจุภัณขวดแก้วปิดสนิท ที่สามารถฆ่าในระดับสเตอร์ริไลส์ได้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่สามารถกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร (Nutrient faction claim) มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณภาพดี และมีอายุการเก็บรักษายาวนาน 1 ถึง 2 ปี หากประเทศไทยสามารถส่งเสริมการเพาะปลูกและส่งเสริมการแปรรูปเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยให้สามารถบริโภคภายในประเทศ และส่งออกตลาดต่างประเทศจะสามารถประหยัดเงินตราอย่างมหาศาลในการนำเข้าเห็ดเยื่อไผ่จากประเทศจีนและเป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกรไทย รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ที่สามารถนำไปลงทุนและต่อยอดเชิงพาณิชย์ ให้มีรายได้ที่มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืนในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์นต้นแบบ และศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวดให้เป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันเพื่อสุขภาพที่มีมูลค่าสูงและมีอายุการเก็บรักษานาน
เพื่อทดสอบแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด
ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปเห็ดเยื่อไผ่เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฟังก์ชันมูลค่าสูงเชิงพาณิชย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ต้นแบบกระบวนการผลิตและต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด
KPI 1 : ต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 2 : บทความวิจัยที่สามารถตีพิมในวารสารวิชาการระดับชาติ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : องค์ความรู้ต้นแบบกระบวนการผลิตและต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 4 : อนุสิทธิบัตรคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 5 : ต้นแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กระบวนการ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ต้นแบบกระบวนการผลิตและต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด
ชื่อกิจกรรม :
ต้นแบบกระบวนการผลิตและต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล  เสนพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และคุณภาพของเห็ดเยื่อไผ่สด จำนวน 5 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 2,000 บาท (5 x 2,000 บาท) 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาในการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามิน จำนวน 5 สูตร สูตร ละ 2,000 บาท (5 x1,000 บาท) 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาในการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 20,000 บาท (1 x 10,000 บาท) 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาในการวิเคราะห์คุณภาพและการยอมรับของผู้บริโภคของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ละ 20,000 บาท (1 x 20,000 บาท) 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์การทดสอบการวางแผนธุรกิจผ่าน Business Model Canvas (BMC) ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เสริมคอลลาเจนและวิตามินสเตอริไลส์บรรจุขวด จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ละ 20,000 บาท (1 x 20,000 บาท) 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าอาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น Tryptic soy agar, Eosin methylene blue agar และ Nutrient broth 35,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 35,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าสารเคมี เช่น Hexane, Ethyl acetate, Methanol 35,000 บาท
น้ำยาทดสอบชนิดต่างๆ Crystal violet, methylene blue, iodine, safranin 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าเครื่องแก้ว เช่น บิกเกอร์ กระบอกตวง ขวดรูปชมพู่ หลอดทดลอง 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุทางการเกษตร เช่น ผักและสมุนไพรอินทรีย์ 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซีน น้ำมันดีเซล หรือ ก๊าซโซฮอล 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร หมึกพิมพ์ คลิปและปากกา 5000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 200000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล