21111 : โครงการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ประชาชนทั่วไปในชุมชนบ้านทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรรณิการ์  กาญจันดา
อาจารย์ ดร. วรรณอุบล  สิงห์อยู่เจริญ
อาจารย์ กรรณิการ์  มอญแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 67-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 67-3.1.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-3.1.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของส่วนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการเติบโตในทิศทางบวก นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งให้ความสนใจกับการเดินทางไปสัมผัสความจริงแท้ดั้งเดิมของพื้นที่ต่างๆ ในไทยเพิ่มมากขึ้น การท่องเที่ยวไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ หากมีการกระจายตัวสู่ชุมชนส่งผลให้ท้องถิ่นหลายแห่งตั้งรับการมาถึงของนักท่องเที่ยว นำการท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ขณะเดียวกันภาครัฐยังให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากขึ้น มีการประกาศให้การท่องเที่ยววิถีไทยเป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวฉบับแรกของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาในระดับชุมชน เป็นหลักเพื่อให้เกิดการกระจายประโยชน์จากการท่องเที่ยวไปสู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “การท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทย พัฒนาสู่สากลอย่างมีเอกภาพบนฐานการรักษา และจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนแห่งความสุข” การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งสร้างพลังให้ชุมชน โดยให้อำนาจแก่ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวได้บริหารจัดการ ดำเนินงาน นำเสนอประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิต อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นประโยชน์ร่วมกัน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน รวมถึงเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการให้บริการสินค้าและบริการให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน โดยมีหลักการสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดังนี้ 1) ชุมชนเป็นเจ้าของ 2) ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ 3) ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง 4) ยกระดับคุณภาพชีวิต 5) มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม 6) ชุมชนยังคงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น 7) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่าง คนต่างวัฒนธรรม 8) เข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 9) เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น และ 10) มีการกระจายรายได้ สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน ชุมชนท้องถิ่นในชนบทกลายเป็นหมุดหมายใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวผู้อยากสัมผัสวิถีวัฒนธรรมของชาวบ้านอย่างแท้จริง "การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ถือเป็นทิศทางใหม่ที่สำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางในการกำหนดทิศทาง คิดค้นกิจกรรม และนำมาสู่การพัฒนาคน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยวในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิต เข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจ หวงแหน สืบทอดและรักษาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชนของคนในท้องถิ่น รวมทั้งยังเกิดการจ้างงานในชุมชน เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน และลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่น ยุทธศาสตร์ชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) มีวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้มีการออกแบบมาจากฐานคิดรวม 4 ประการ 1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) ความสามารถในการที่จะล้มแล้วลุกให้ไว เดินไปข้างหน้าให้ได้ 3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และ 4) การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยเป้าหมายหลักของแผนฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดหลัก 5 ประการ 1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2) การพัฒนาคนสู่โลกยุคใหม่ 3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม 4) การเปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และ 5) การเสริมสร้างความสามารถของไทยในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้โรคอุบัติใหม่ ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมหาวิทยาลัย ได้กำหนดเส้นทางยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่สอดคล้องกันกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในด้านการเกษตร มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ คือ เป็นการเกษตรที่เคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติลด ละ เลิกการใช้สารเคมี มีการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและรับผิดชอบ ในด้านกายภาพ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย สีเขียว โดยการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยและชุมชน ให้มีความสมดุลกับธรรมชาติตามเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ทางสายกลาง ความไม่ประมาท ไม่ฟุ่มเฟือย คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยมีใจความสำคัญคือสติ ปัญญา และความเพียร ซึ่งเป็นบันไดสู่ความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง บ้านทุ่งศรี หมู่ที่ 3 ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 32 หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนการท่องเที่ยว สะท้อนถึงวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน หรือโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมในหมู่บ้านมีจุดเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ แบบ New Normal ของนักท่องเที่ยว เช่น ฐานบ้านดอกไม้จากใยบัว ,ฐานบ้านขยะ 3R , ฐานบ้านห่มดินฯ , ฐานบ้านตัดตุง , ฐานธนาคารเดินได้ , ชมนิทรรศการการท่องเที่ยววิถีชุมชน และมีจุดชมวิวเช็คอินต่างๆ ที่สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยว โดยในหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มและศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญ ๆ หลากหลาย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดอกไม้จากใยบัว, ผลิตภัณฑ์ขยะรีไซเคิล, น้ำหมักมูลไส้เดือน,น้ำหมักจุลินทรีย์,ส้มโอ, ยาสีฟันสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติและอื่น ๆ ภายใต้การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มสมาชิกต้องมีความรู้และความเข้าใจในการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง การอธิบายถึงกระบวนการ และขั้นตอนการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจในเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีพันธกิจในการจัดการเรียน การสอน วิจัย และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว โดยชุมชนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยการส่งเสริมให้ชุมชนนำมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี ของแต่ละชุมชนซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมดั้งเดิม มาเพิ่มมูลค่า สร้างความเข้มแข็งและรายได้ให้แก่ชุมชนในรูปแบบการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ และมีการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการ อีกทั้งโครงการมีการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชน และผลิตคู่มือเส้นทางท่องเที่ยวตำบลทุ่งศรี ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุน รวมถึงการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
3. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในการอธิบายผลิตภัณฑ์ชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชุมชนสามารถนำความรู้/เทคโนโลยีจากงานบริการวิชาการไปพัฒนาโครงการเพื่อหาแหล่งทุน/ต่อยอด
KPI 1 : จำนวนคู่มือเส้นทางท่องเที่ยวตำบลทุ่งศรีฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 คู่มือ 1
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนภาษาอังกฤษในการอธิบายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.032 0.018 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชน และผลิตคู่มือเส้นทางท่องเที่ยวตำบลทุ่งศรี เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุน รวมถึงการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : จำนวนเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เส้นทาง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชุมชนสามารถนำความรู้/เทคโนโลยีจากงานบริการวิชาการไปพัฒนาโครงการเพื่อหาแหล่งทุน/ต่อยอด
ชื่อกิจกรรม :
1. อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชน ระดมความคิดกำหนดอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลทุ่งศรี วางแผนกำหนดรูปแบบของคู่มือท่องเที่ยว ลงพื้นที่สำรวจบริบทชุมชน ด้านกายภาพ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต รวบรวมข้อมูล จัดทำแผนที่แสดงเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชน และผลิตคู่มือเส้นทางท่องเที่ยวตำบลทุ่งศรี ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วรรณอุบล  สิงห์อยู่เจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิล (ขนาด 1.50X3 เมตร พร้อมออกแบบ) จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้มพลาสติก ปากกาลูกลื่น สมุดเส้น ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 4,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17000.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุน รวมถึงการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์กรรณิการ์  มอญแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้มพลาสติก ปากกาลูกลื่น สมุดเส้น ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 3,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในการอธิบายผลิตภัณฑ์ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์  กาญจันดา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าจ้างเหมาทำรูปเล่มรายงาน (รายงานครึ่งปีและฉบับสมบูรณ์) จำนวน 6 เล่ม ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,700.00 บาท 0.00 บาท 8,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้มพลาสติก ปากกาลูกลื่น สมุดเส้น ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 3,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมาร่วมโครงการไม่ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทำการนัดหมาย ประชาสัมพันธ์ และประสานผู้นำชุมชนรวม ทั้งอธิบายถึงความสำคัญของโครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
1. ศท 245 ภาษาอังกฤษเชิงสังคมศาสตร์ จำนวน 29 คน ฝึกฝนการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่แสดงเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชน 2. ศท 344 ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยว 1 จำนวน 7 คน 3. ศท 243 ภาษาอังกฤษเชิงเกษตร 1 จำนวน 10 คน 4. 10300405 การคำนวณทางธุรกิจและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ให้มีความรู้คุณลักษณะและทักษะของผู้ประกอบการ วิเคราะห์และประเมินโอกาสทางธุรกิจเพื่อพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ การศึกษาความเป็นไปได้และการแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรก
ช่วงเวลา : 01/11/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล