21094 : โครงการฐานเรียนรู้ลำไยแม่โจ้ (แม่โจ้ : ศาสตร์แห่งลำไย)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.พรสวรรค์ ดวงจันทร์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1100  คน
รายละเอียด  จำนวน 1,100 คน ประกอบด้วย จำนวนผู้เยี่ยมชมและศึกษาดูงานฐานเรียนรู้ลำไยแม่โจ้ จำนวน 1,000 คน และจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 100 คน (ผู้รับบริการ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจทั้วไป)
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการฐานเรียนรู้ลำไยแม่โจ้ (แม่โจ้ : ศาสตร์แห่งลำไย) 2567 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง จิรนันท์  เสนานาญ
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนุช  เจริญกิจ
น.ส. พรสวรรค์  ดวงจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน  มะโนชัย
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ วส67-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ วส67-1.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด วส67-9. ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดในแผนแม่บทบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ วส67-1.3.1 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศแก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สาเหตุหนึ่งของปัญหาการผลิตลำไยในปัจจุบัน คือเกษตรกรผู้ปลูกลำไยขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ คุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด องค์ความรู้ซึ่งเป็นเทคโนลยีพร้อมใช้ ศึกษาวิจัยโดยบุคลากรที่ทำงานภายใต้ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย และเป็นการให้บริการแบบให้เปล่า โดยไม่คิดค่ามูลค่า โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพัฒนาจนเทคโนโลยีมีความแม่นยำและสามารถนำไปใช้ได้ในหลายพื้นที่โดยให้ผลเช่นเดียวกัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาภายใต้ความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2549 และได้รับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมบริการวิชาการผ่านโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ ปี 2551 และได้รับทุนสนับสนุนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากผลงานเป็นที่ยอมรรับทั้งในทางวิชาการและบริการวิชาการ ด้านการสนองงานตามแนวพระราชดำริ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย ได้เริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนองงานพระราชดำริ โดยเริ่ม ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา โดยนำองค์ความรู้ด้านลำไย เช่น การตัดแต่งกิ่งลำไย การพัฒนาคุณภาพผลลำไย การผลิตลำไยนอกฤดู และการให้บริการห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลลำไยของโครงการมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านดอยก้อม อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และยังนำองค์ความรู้ไปพัฒนาสวนลำไยของเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่โครงการสหกรณ์การเกษตรบ้านโรงวัว จำกัด ในที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยส่งเสริมการพัฒนาช่อผลลำไยโดยการตัดช่อผลให้มีคุณภาพ เกรด AA 65 ผล/1 กิโลกรัม โดยส่งจำหน่าย ณ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ยังได้ส่งเสริมอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ การจัดฝึกอบรมให้กับเกษตรกรบริเวณโดยรอบ เช่น การจัดการสวนลำไยให้ได้คุณภาพ การขยายพันธุ์ไม้ผล เป็นต้น ในปี 2567 กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการจะเน้นทางด้านการให้บริการวิชาการที่เคยได้ทำมาเป็นปกติ แต่จะเพิ่มปริมาณงานบริการด้านฐานข้อมูลงานวิจัยและการพัฒนาเว็บไซด์เพื่อให้บริการวิชาการที่สามารถสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตได้ ทั้งนี้จะยังเป็นการให้บริการที่อาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร, สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย เป็นต้น การสนับสนุนโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สามารถพัฒนาการให้บริการของศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ได้ การให้บริการวิชาการด้านลำไยก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักกับคนทั่วไปอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ลำไยแบบครบวงจร
2. เพื่อสนองงานตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (มูลนิธิชัยพัฒนา)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โคงการฐานเรียนรู้ลำไย (แม่โจ้ : ศาสตร์แห่งลำไย)
KPI 1 : จำนวนผู้เยี่ยมชมและศึกษาดูงานฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 200 400 400 คน 1000
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0.1 0 0 ล้านบาท 0.1
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการโครงการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 50 50 0 คน 100
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โคงการฐานเรียนรู้ลำไย (แม่โจ้ : ศาสตร์แห่งลำไย)
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ลำไยแบบครบวงจร
1.1 การผลิตต้นพันธุ์ลำไยเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน
1.2 ร่วมการจัดนิทรรศการลำไย ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางจิรนันท์  เสนานาญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.พรสวรรค์  ดวงจันทร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาขยายกิ่งพันธ์ุลำไย
1. ขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอดลำไยในโรงเพาะชำลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ เบี้ยวเขียวป่าเส้า โคฮาล่า ใบหยก ดอแก้วยี่ กรอบกะทิ ดอหลวง ดอสุขุม ดอคำราง จูเหลียง จัมโบ้ สีชมพู อีดอ พวงทอง และแห้ว โดยใช้วิธีการเสียบลิ่มเมื่อลำไยเสียบติดรอยแผลประสานแล้ว นำต้นลำไยเปลี่ยนดินใส่ถุงขนาด 4 x 10 นิ้ว (จำนวน 350 ต้น ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 8,750 บาท)
2. นำต้นลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ เบี้ยวเขียวป่าเส้า โคฮาล่า ใบหยก ดอแก้วยี่ กรอบกะทิ ดอหลวง ดอสุขุม ดอคำราง จูเหลียง จัมโบ้ สีชมพู อีดอ พวงทอง และพันธุ์แห้ว ที่เสียบยอดออกจากถุงอบ ขนาด 30 x 50 นิ้ว แล้วนำลงปลูกในกระถางขนาด 15 นิ้ว โดยทำการผสมดินดำกับขี้เถ้าแกลบ และแกลบดิบให้เข้ากันในอัตราส่วน 1:1:1 และตักดินใส่กระถางและนำต้นลำไยลงปลูก และจัดเรียงกระถาง รดน้ำให้ชุ่ม ติดป้ายชื่อพันธุ์ทุกกระถาง (จำนวน 350 กระถาง ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 12,250 บาท)
3. ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งลำไยในบ่อซีเมนต์พื้นที่บริเวณอาคารปฏิบัติการ 25 ปีไม้ผล พันธุ์เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ เบี้ยวเขียวป่าเส้า โคฮาล่า ใบหยก ดอแก้วยี่ กรอบกะทิ ดอหลวง ดอสุขุม ดอคำราง จูเหลียง โดยใช้วิธีการนำคีมตอนกิ่งควั่นเพื่อลอกเปลือกไม้ออก แล้วนำตุ้มมะพร้าวมาหุ้มรอยแผลมัดด้วยตอก (จำนวน 400 กิ่ง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท)
4. หลังตอนกิ่งลำไย 45 วัน กิ่งตอนลำไยที่ออกรากเป็นสีขาวปนน้ำตาล ทำการตัดกิ่งลำไย พันธุ์เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ เบี้ยวเขียวป่าเส้า โคฮาล่า ใบหยก ดอแก้วยี่ กรอบกะทิ ดอหลวง ดอสุขุม ดอคำราง จูเหลียง ลงปลูกในกระถาง 15 นิ้ว โดยทำการผสมดินดำกับขี้เถ้าแกลบ และแกลบดิบให้เข้ากันในอัตราส่วน 1:1:1 และตักดินใส่กระถางและนำต้นลำไยลงปลูก และจัดเรียงกระถาง รดน้ำให้ชุ่ม ติดป้ายชื่อพันธุ์ทุกกระถาง (จำนวน 400 ต้น ๆ ละ 26.25 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำแผ่นพับองค์ความรู้ด้านลำไย 1. แผ่นพับ เรื่อง การผลิตลำไยนอกฤดู จำนวน 500 แผ่น ๆ 7 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 2. แผ่นพับ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพผลลำไยโดยการตัดแต่งช่อผลลำไยฯ จำนวน 500 แผ่น ๆ ละ 7 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ไม้ไผ่ ไม้ดอกไม้ประดับ ดินปลูก แกลบดิบ จอบ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,700.00 บาท 0.00 บาท 3,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ เทบโฟม 2 หน้า, ตลับชาด, ตรายางวันที่, ปากกาน้ำเงิน แดง, กระดาษถ่ายเอกสาร A4, ตะกร้าใส่เอกสาร, ซองขยายข้าง A4, ซองขยายใหญ่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกปริ้นส์เตอร์เลเซอร์, External Harddisk 2.5", Flash Drive128GB
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 25,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 83200.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : โครงการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี
เช่น การจำหน่ายลำไยระบบออนไลน์ การผลิตลำไยนอกฤดู การตัดแต่งกิ่ง เป็นต้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางจิรนันท์  เสนานาญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.พรสวรรค์  ดวงจันทร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
- จำนวน 50 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
- จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ (ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 100 x 200 ซม. จำนวน 2 ผืน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
- จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรที่ไม่ใช่ของรัฐ) ภาคบรรยาย
- จำนวน 1 คน จำนาน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 7,800 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,800.00 บาท 7,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บก67-02
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล