21045 : โครงการ “4ดี วิถีแม่โจ้” : กายดี จิตดี กินดีในสิ่งแวดล้อมที่ดี
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  695  คน
รายละเอียด  1. ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้จำนวน 300 คน (บูรณาการร่วมกับงานเกษตรแม่โจ้) 2. สตรีตั้งครรภ์ /สามี-ผู้ดูแล (10 คน) ที่มาฝากครรภ์ ณ หน่วยฝากครรภ์ รพ.สันทราย รวมจำนวน 10 คน 3. พยาบาลในหน่วยฝากครรภ์ คลอดและหลังคลอดจำนวน 15 คน 4. ครูและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ จำนวน 40 คน 5. ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้จำนวน 50 คน 6. ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะวิตกกังวล/เครียด จำนวน 20 คน 7 . ประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ ที่มีความต้องการได้รับการอบรมช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (ประชาชนทั่วไป 240 คน พระสงฆื 20 รูป) จำนวน 260 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะพยาบาลศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2567 2567 330,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จริยาพร  ศรีสว่าง
อาจารย์ หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง
อาจารย์ สุรัช  สุนันตา
อาจารย์ สุทธิลักษณ์  จันทะวัง
อาจารย์ ศุภวรรณ  ใจบุญ
นาง รัตนา  กันตีโรจน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาง มาลี  ล้วนแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพยาบาลศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.2.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.2 ส่งเสริมกิจกรรมกศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี SPO
เป้าประสงค์ พยบ67-1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด พยบ67-1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย (ม.1.1.1)
กลยุทธ์ พยบ67-1.1 ขับเคลื่อนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้กำหนดไว้
เป้าประสงค์ พยบ67-1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco. University) (GO. Eco U.)
ตัวชี้วัด พยบ67-1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University) (ม.1.2.1)
กลยุทธ์ พยบ67-1.2 สนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
ตัวชี้วัด พยบ67-1.2.3 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University) (ม.1.2.3)
กลยุทธ์ พยบ67-1.2 สนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก MOC
เป้าประสงค์ พยบ67-2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับชาติ
ตัวชี้วัด พยบ67-2.1.5 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21 (ม-2.1.9)
กลยุทธ์ พยบ67-2.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาล
เป้าประสงค์ พยบ67-2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับชุมชน/ชาติ
ตัวชี้วัด พยบ67-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ (ม-2.3.1)
กลยุทธ์ พยบ67-2.3 สนับสนุนและขับเคลื่อนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ตัวชี้วัด พยบ67-2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ (ม-2.3.2)
กลยุทธ์ พยบ67-2.3 สนับสนุนและขับเคลื่อนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ตัวชี้วัด พยบ67-2.3.3 จำนวนชุมชน/หน่วยงาน ที่ได้รับบริการวิชาการจากคณะ
กลยุทธ์ พยบ67-2.3 สนับสนุนและขับเคลื่อนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ดังนั้น การดูแลสุขภาพของกลุ่มประชากรทุกช่วงวัยควรเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งแต่ละช่วงวัยจะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยในสตรีตั้งครรภ์ พบปัญหาภาวะโลหิตจางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2563 คิดเป็นร้อยละ 16.05, 16.44, 15.08 ตามลำดับ ซึ่งเกณฑ์เป้าหมายในการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กกำหนดให้สตรีตั้งครรภ์มีอัตราการเกิดโรคภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 10 (วรรณพร คำพิลาและคณะ, 2565) ภาวะโลหิตจาง ส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกเป็นอย่างมาก โดยมารดาเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดและส่งผลทำให้ทารกน้ำหนักตัวน้อย นอกจากนี้ อาจเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะแท้ง น้ำคร่ำน้อย ตกเลือดหลังคลอดและติดเชื้ออีกด้วย เช่นเดียวกับทารกในครรภ์ อาจทำให้อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้น คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำ อาการตัวเหลืองและติดเชื้อ (วรรณพร คำพิลาและคณะ, 2565) ดังนั้น การเตรียมครรภ์คุณภาพ ด้วยการเตรียมความพร้อมในการคลอด จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สตรีตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพและเด็กในครรภ์สามารถเติบโตได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน โครงการ “มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต” เป็นการสร้างรากฐานการมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างทุนมนุษย์ เพราะเป็นที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ จดจำและมีการเจริญเติบโตอย่างสมวัย ซึ่งการที่เด็กจะมีพัฒนาการที่สมวัยนั้น ภาวะโภชนาการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากอาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็กเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาวต่อไป (ดวงนภา ปงกา, ปวีณภัสสร์ คล้ำศิริและสุปวีณา พละศักดิ์, 2565) สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวและได้เริ่มขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน แรกของชีวิต ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการในคลินิกฝากครรภ์และคลินิกเด็กสุขภาพดี ผลจากการขับเคลื่อนโครงการมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้สถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพของแม่และเด็กในภาพรวมของประเทศดีขึ้น เด็กอายุ 0-2 ปีที่สูงดีสมส่วนในปีงบประมาณ 2562 อยู่ที่ 59.1 % ของจำนวนประชากรเด็กอายุ 0–2 ปีทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2559 ที่ 57.2 % ทำให้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมอนามัยจึงได้ขับเคลื่อนการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตในกลุ่มเด็กปฐมวัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565–2569 เพื่อส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กในช่วง 1,000 วันแรก ของชีวิต ต่อเนื่องไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี ในการส่งเสริมให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กปฐมวัยเติบโตเต็มศักยภาพ (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2565) ดังนั้น จึงเป็นบทบาทของพยาบาลในการให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมการตั้งครรภ์คุณภาพ ลดภาวะซีดในสตรีตั้งครรภ์และเพื่อให้ทารกในสามารถเติบโตอย่างเหมาะสมตั้งแต่ในครรภ์และมีพัฒนาการที่สมวัย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพของประชากรทั่วโลก จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากโรค NCDs ในปี 2559 คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลกโดยกลุ่มโรค NCDs ที่พบการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (17.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44) รองลงมาคือ โรคมะเร็ง (9.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (3.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9) และโรคเบาหวาน (1.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4) ซึ่งในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปี มากถึง 15 ล้านคน โดยร้อยละ 85 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง (อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ภาณุวัฒน์ คำวังสง่าและสุธิดา แก้วทา, 2563) การเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นกิจกรรมที่เฝ้าติดตามเมื่อประชากรมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แบ่งเป็น ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อายุ พันธุกรรม เพศ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ นั้นคือ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม อ้วนลงพุง การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น (วิฑูรย์ โล่สุนทร, 2563) อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โดยการวัดเส้นรอบเอว ประเมิน BMI คัดกรองระดับน้ำตาลปลายนิ้ว และประเมินระดับความดันโลหิต รวมถึงคัดกรองสารพิษในเลือด รวมถึงการได้รับคำแนะนำอย่างเหมาะสมจะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเบื้องต้นได้ สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย เช่น ตามัว ข้อเข่าเสื่อม การทรงตัวและการเคลื่อนไหวไม่มั่นคงรวมถึงการรับรู้ของระบบประสาทสัมผัสลดลง เป็นปัจจัยทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วนปัจจัยภายนอกที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มหรือความไม่ปลอดภัยของผู้สูงอายุ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ครอบคลุมถึงที่อยู่อาศัย สถานที่สาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน จากสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2565 มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม 2,707 คนต่อปี เป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าครึ่ง คือ 1,605 คน (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2566) จากแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580) ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการย่อย 4 แผน โดยมีแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุ 2 แผนปฏิบัติการย่อย ได้แก่ แผนปฏิบัติการย่อยที่ 1 การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุ มาตรการที่ 5 คือ มาตรการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุและเพิ่มโอกาสในการปรับสภาพที่อยู่อาศัย และแผนปฏิบัติการย่อยที่ 2 ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม มาตรการที่ 4 ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสภาพแวดล้อม มีตัวชี้วัดและเป้าหมายคือ สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับหรือมีการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย ร้อยละ 30 การให้ความรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มภายในบ้านและวิธีป้องกัน และการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติในแผนปฏิบัติการย่อยที่ 1 มาตรการที่ 5 จึงเป็นแนวทางการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม และการจัดสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนำไปปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม นอกจากสุขภาพทางร่างกายแล้ว การดูแลทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ จากสถิติของกรมสุขภาพพบว่า วัยสูงอายุมีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากเป็นอันดับสอง รองจากกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งสาเหตุมาจากความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด โรคเรื้อรังทางกาย และโรคซึมเศร้าตามลำดับ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและสมองเสื่อมถอยลง จึงทำให้ความสามารถในการทำงานลดน้อยลง รวมทั้งอาจมีข้อจำกัดในการปรับตัว ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการดำรงชีวิต ความพึงพอใจในชีวิตลดลง ดังนั้น การคัดกรองวิตกกังวลของผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น เพื่อป้องกันการฆ่าตัวในผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีปรัชญาคือมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมปัญญา อดทน สู้งาน มีจิตอาสา โดยมีพันธกิจหลัก 4 พันธกิจ ทั้งการผลิตบัณฑิตพยาบาล การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นจัดทำโครงการบริการวิชาการโดยให้บริการในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ โดยมีประเด็นสำคัญในโครงการคือ “4ดี วิถีแม่โจ้” : กายดี จิตดี กินดีในสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นโครงการที่ส่งเสริมสุขภาพให้แก่บุคคลทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพโดยจัดให้มีการให้ความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพ 4 ด้าน “กายดี” เน้นด้านร่างกายของบุคคลเพื่อป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้ความรู้แก่วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพ การให้การปรึกษาทางสุขภาพ “จิตดี” เน้นด้านจิตใจเน้นการคัดกรองความเครียดและวิตกกังวลรวมถึงการจัดการกับความเครียด “กินดี” เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพ “อยู่ดี” เน้นการดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้มีการบูรณาการกับรายวิชาจิตวิทยาพัฒนาการตามวัย รายวิชาระบาดวิทยาและชีวสถิติ และรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบบริการสุขภาพและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 อันประกอบด้วย ความสามารถในการอ่าน ความสามารถในการเขียน ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม ทักษะความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม การมีภาวะผู้นำ ทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ เพื่อให้ก้าวนำการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อให้ประชาชนทุกวัยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ คัดกรองภาวะสุขภาพและให้คำแนะนำด้านสุขภาพแก่ประชาชนทุกช่วงวัย ในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองตามช่วงวัยอย่างเหมาะสมตามแนวพระราชดำริ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองตามช่วงวัยอย่างเหมาะสม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพ และได้รับการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองตามช่วงวัยอย่างเหมาะสมตามแนวพระราชดำริ
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพและได้รับคำแนะนำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝึกอบรม มีความรู้และทักษะเพื่อเตรียมการคลอดเพิ่มขึ้นหลังเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการอบรมมีการวางแผนการคลอด (Birth Plan)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ "สมาธิบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลและภาวะเครียดในผู้สูงอายุ" มีความวิตกกังวลลดลง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของสตรีตั้งครรภ์ มีความวิตกกังวล/กลัว ต่อการคลอดลดลง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนผู้รับบริการในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ ที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพคัดกรองภาวะสุขภาพและให้คำแนะนำด้านสุขภาพตามช่วงวัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300 395 คน 695
KPI 9 : ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการ มีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 11 : ร้อยละของครูและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนที่ได้รับการอบรม "เตี้ย อ้วน ผอม ไอคิวต่ำ พัฒนาได้ด้วยโภชนาการอาหารปลอดภัย" มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นก่อนเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 12 : ร้อยละของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลของผู้เข้าอบรม "พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ป้องกันได้" สามารถจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 13 : ค่าใช้จ่ายตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0336 0.0006 0.1714 0.1244 ล้านบาท 0.33
KPI 14 : ร้อยละของพยาบาลในหน่วยฝากครรภ์ คลอดและหลังคลอด มีความรู้เพิ่มขึ้นภายหลังเข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80
KPI 15 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพ และได้รับการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองตามช่วงวัยอย่างเหมาะสมตามแนวพระราชดำริ
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 1 การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ การประเมินดัชนีมวลกาย ประเมินระดับความดันโลหิต ประเมินระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) ประเมินสารพิษในเลือดและประเมินความเครียด และให้ความรู้ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (บูรณาการในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปีแม่โจ้ จำนวน 9 วัน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/12/2566 - 24/12/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วรรณภา  พิพัฒน์ธนวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางมาลี  ล้วนแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุทธิลักษณ์  จันทะวัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เบญจมาศ  ถาดแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์บุษกร  ยอดทราย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์วารุณี  ผ่องแผ้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุรัช  สุนันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร  ศรีสว่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อมรเลิศ  พันธ์วัตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เจนนารา  วงศ์ปาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.3x3.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ A4 ลวดเย็บกระดาษ คลิปหนีบกระดาษ แฟ้มใส เป็นต้น เป็นเงิน 3,100 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น ที่ตรวจน้ำตาลในเลือด สำลีแอลกอฮอล์ สำลีแห้ง ก๊อซ ผ้าพันแผล น้ำยาใส่แผล ชุดแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือดสำหรับเครื่องตรวจน้ำตาล Sinocear เข็มสำหรับเจาะเลือดสำหรับเครื่องตรวจน้ำตาล ชุดหายาฆ่าแมลงในเลือดจำนวน เป็นเงิน 25,000 บาท
- วัสดุไฟฟ้า เช่น ปลั๊กพ่วง เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพริ้น เป็นต้น เป็นเงิน 2,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
33,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 34200.00
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 2 อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะเพื่อเตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อการคลอด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร  ศรีสว่าง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์เจนนารา  วงศ์ปาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อมรเลิศ  พันธ์วัตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.3x3.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม/วิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 15 คน 1 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,050 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม/วิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 25 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,750 บาท
- อาหารกลางวันจำนวน 25 คน 1 มื้อๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือเตรียมคลอด จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,550.00 บาท 0.00 บาท 10,550.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร มิใช่บุคลากรภาครัฐ (ทฤษฏี) จำนวน 1 คนๆละ 1200 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง (1ครั้ง) เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ/มิใช่บุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 6 คนๆละ 300 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง (1 ครั้ง) เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ทฤษฏี) จำนวน 1 คนๆละ 600 บาท จำนวน 1ชั่วโมง (2ครั้ง) เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 5 คนๆละ 300 บาท จำนวน 2 ชั่วโมง (2 ครั้ง) เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ลวดเย็บกระดาษ ที่เจาะรูกระดาษ แม็คเย็บกระดาษ แฟ้มใส่เอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 7,490 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น แอลกอฮอล สำลี โมเดลอาหาร เสื้อจำลองน้ำหนักครรภ์และตุ้นน้ำหนัก ถุงมือทางการแพทย์ เป็นต้น เป็นเงิน 10,000 บาท
- วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น หมอนครึ่งวงกลมสำหรับสอนให้นมแม่ เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท
- วัสดุกีฬา เช่น Birth Ball ที่กดนวดลดปวดคลอด เบาะโยคะ เป็นต้น เป็นเงิน 13,340 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 35,830.00 บาท 0.00 บาท 35,830.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 62580.00
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เตี้ย อ้วน ผอม ไอคิวต่ำ พัฒนาได้ด้วยโภชนาการอาหารปลอดภัย”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์บุษกร  ยอดทราย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.3x3.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรมวิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท
- อาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมวิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน 1 มื้อๆละ 150 บาท 1 วัน เป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าเช่าสถานที่ประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (บรรยาย) จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 5 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด สายวัด ดินสอสี ปากกา กระดาษพรูฟ กระดาษ 100 ปอนด์ ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น เป็นเงิน 9,350 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น ปลั๊กพ่วง เป็นต้น เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,350.00 บาท 0.00 บาท 12,350.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 31650.00
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการ "พลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ป้องกันได้"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์สุทธิลักษณ์  จันทะวัง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางมาลี  ล้วนแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เบญจมาศ  ถาดแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.3x3.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม/เจ้าหน้าที่/วิทยากร) จำนวน 60 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (ผู้อบรม/เจ้าหน้าที่/วิทยากร) จำนวน 60 คน 1 มื้อๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม 2 ครั้งๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 34,400.00 บาท 0.00 บาท 34,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (บรรยาย) จำนวน 2 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง (เช้า 1 คน/ บ่าย 1 คน) เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ปฏิบัติ) จำนวน 2 คน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ปฏิบัติ) จำนวน 2 คน 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกา แฟ้มใส ลวดเย็บกระดาษ แม็ค สติกเกอร์สะท้อนแสง เป็นต้น เป็นเงิน 6,350 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาตร์และการแพทย์ เช่น แอลกอฮอล์ สำลี ถุงมือทางการแพทย์ เป็นต้น เป็นเงิน 6,080 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น ปลั๊กพ่วง เป็นต้น เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพริ้น เป็นต้น เป็นเงิน 2,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 17,030.00 บาท 0.00 บาท 17,030.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 58630.00
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 5 การอบรมเชิงปฏิบัติการ "สมาธิบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลและภาวะเครียดในผู้สูงอายุ"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์สุรัช  สุนันตา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วารุณี  ผ่องแผ้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.3x3.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 26 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท 1 วัน เป็นเงิน 1,820 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 26 คน 1 มื้อๆละ 35 บาท 2 วัน เป็นเงิน 1,820 บาท
- อาหารกลางวัน จำนวน 26 คน 1 มื้อๆๆละ 150 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,900 บาท
- ค่าเช่าสถานที่จัดประชุม 3 ครั้งๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 11,540.00 บาท 0.00 บาท 11,540.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ภาคบรรยาย) จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 2 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกา แฟ้มใส ลวดเย็บกระดาษ แม็ค เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงขยะ เป็นต้น เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18540.00
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 6 อบรม CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชนและพระสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 31/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์สุทธิลักษณ์  จันทะวัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางมาลี  ล้วนแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เบญจมาศ  ถาดแสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์บุษกร  ยอดทราย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์วารุณี  ผ่องแผ้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุรัช  สุนันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร  ศรีสว่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อมรเลิศ  พันธ์วัตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์เจนนารา  วงศ์ปาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วรรณภา  พิพัฒน์ธนวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.3x3.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรมวิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 230 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท 1 วัน เป็นเงิน 16,100 บาท (อบรมให้ประชาชน)
- อาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมวิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 230 คน 1 มื้อๆละ 150 บาท 2 วัน เป็นเงิน 34,500 บาท (อบรมให้ประชาชน)
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรมวิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท (อบรมให้พระสงฆ์)
- อาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมวิทยากรและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน 1 มื้อๆละ 150 บาท 1 วัน เป็นเงิน 7,500 บาท (อบรมให้พระสงฆ์)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 62,600.00 บาท 62,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (บรรยาย) จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 8 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากรภาครัฐ (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 3 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,500.00 บาท 13,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกา แฟ้มใส ลวดเย็บกระดาษ แม็ค เป็นต้น เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น ชุดทำแผล น้ำเกลือล้างแผล ผ้าก็อซปิดแผล ผ้าพันแผล สำลี แอลกอฮอล เป็นต้น เป็นเงิน 30,000 บาท
- ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น ปลั๊กพ่วง เป็นต้น เป็นเงิน 1,700 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพริ้น เป็นต้น เป็นเงิน 2,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,100.00 บาท 36,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 112200.00
ชื่อกิจกรรม :
ที่ 7 ประชุมสรุปและวิเคราะห์ประเมินผลโครงการในภาพรวม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร  ศรีสว่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศุภวรรณ  ใจบุญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์หยาดพิรุณ  เสาร์เป็ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ลวดเย็บกระดาษ แฟ้มใส เป็นต้น เป็นเงิน 8,000 บาท
- วัสดุคอมพิวเตอรื เช่น หมึกพริ้น เป็นต้น เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,200.00 บาท 12,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคโควิด 2019 โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
- ใช้มาตรการ universal precaution ในการให้บริการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
- การเฝ้าระวังโรคและป้องกันโรค บูรณาการในรายวิชา 11701 217 ระบาดวิทยาและชีวสถิติ และวิชาจิตวิทยาพัฒนาการตามวัยในงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566
ช่วงเวลา : 16/12/2566 - 24/12/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล