21044 : โครงการ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการท่องเที่ยวและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากโดยชุมชน ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/12/2566 15:55:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ เกษตรกร และนักเรียน ในเขตพื้นที่ตำบลแม่ทราย จำนวน 30 คน 2. กลุ่มนักเรียน ในเขตพื้นที่ตำบลแม่ทราย จำนวน 30 คน 3. กลุ่มคณะกรรมการป่าชุมชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ในพื้นที่ตำบลห้วยหม้าย จำนวน 20 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
อาจารย์ อโนชา  สุภาวกุล
อาจารย์ อุบลวรรณ  สุภาแสน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 67-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 67-3.1.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-3.1.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของส่วนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา รูปแบบการจัดทำแผนเพื่อวางกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่าง มีนัยสำคัญ โดยมาตรา 65 ภายใต้หมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ได้กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนระดับ 2 และ 3 ตลอดจนการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบนั้น ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเป็น แผนระดับที่ 1 จะทำหน้าที่เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในภาพใหญ่ที่ครอบคลุมการสร้างสมดุล ระหว่างการพัฒนาประเทศด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ตำบลแม่ทราย เป็นอีกตำบลที่อยู่มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีทั้งหมดจำนวน 4 หมู่บ้าน พื้นที่ชุมชนส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มกันตามถนนสายต่างๆ ทั้งถนนสายหลักและตามซอยในหมู่บ้าน ประเภทที่อยู่อาศัยจะมีลักษณะอาคารเป็นไม้ เป็นส่วนใหญ่ จะอยู่รวมตัวกันหนาแน่น มีสถานที่ราชการเช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทราย โรงเรียนบ้านแม่ทราย (คุรุราษฎร์เจริญวิทย์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ทราย วัดแม่ทราย จะตั้งอยู่ติดกันส่วนใหญ่ โรงสี โรงบ่ม ใบยา จะอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ บริเวณเกษตรกรรมจะอยู่รอบๆชุมชนพักอาศัย มีแหล่งธรรมชาติในพื้นที่ตำบลแม่ทราย ได้แก่ 1) อ่างเก็บน้ำแม่หยวก เป็นอ่างเก็บน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จมาทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำแม่หยวกนี้มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีชายหาดสำหรับ ลงเล่นน้ำได้ 2) อ่างเก็บน้ำแม่ยางหลวง เป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่บริเวณท้ายหมู่บ้าน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ2 กิโลเมตร บริเวณรอบอ่างมีต้นไม้โดยรอบ ซึ่งรถยนต์ไม่สามารถเข้าไปรอบอ่างได้ ต้องใช้วิธีการเดิน ใช้รถจักรยาน หรือรถจักรยานยนต์ เนื่องจากเป็นหางแคบ 3) อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ทราย เป็นอ่างเก็บน้ำแห่งใหม่ที่มีการสร้างเสร็จเมื่อไม่นาน มานี้เคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีบริการแพ และตกปลา เคยมีประชาชนเลี้ยงปลาในกระชังขายในเทศกาลวันสงกรานต์ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ พื้นที่ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นพื้นที่ที่อยู่ต้นลำน้ำยม ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักในการหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรในจังหวัดแพร่ ในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ ให้ความสำคัญกับนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการในพื้นที่ มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นฐานการผลิต และการพัฒนาภูมิคุ้มกันให้กับสังคมและเศรษฐกิจในชุมชน อีกทั้งในปี พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริในการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่ลำน้ำยม เนื่องจากยังไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ พระองค์ท่านจึงพระราชทานแนวทางในการสร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำให้กับเกษตรกรในกระบวนการเกษตร และในปีพ.ศ. 2525 พระองค์ท่านพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จมาเปิดอ่างเก็บน้ำห้วยเป๊าะ ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เมื่อเสร็จพิธีสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดำริว่า อยากให้รักษาป่าและสัตว์ป่าแห่งนี้ให้เป็นการถาวร เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารเพื่อการกสิกรรมของราษฎรต่อไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงจัดทำโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดแพร่ โดยการคำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนแนวคิดการบริหารจัดการมุ่งสู่ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของชุมชนและสังคม อีกทั้ง การยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน เป็นพื้นฐานของการพึ่งตนเอง รวมทั้งเสริมสร้างทุนทางสังคม และรักษาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างความมั่นคงทางรายได้ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และใช้ประโยชน์ร่วมกัน ร่วมกันค้นหาปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข และการปกป้องทรัพยากรในระดับชุมชน อีกทั้งมุ่งเน้นการสร้างคุณค่า และความยั่งยืน สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยื่นต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและสื่อประชาสัมพันธ์โดยชุมชน
2. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดล BCG
3. เพื่อพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นคุณค่า สร้างความยั่งยืน และเพิ่มรายได้
4. เพื่อพัฒนายุวมัคคุเทศก์ในการรองรับการท่องเที่ยวชุมชน
5. เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามระบบเศรษฐกิจฐานราก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คุณภาพผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนตำบลแม่ทราย อ.ร้องกวาง และตำบลห้วยหม้าย อ.สอง จ.แพร่
KPI 1 : จำนวนพื้นที่ป่าชุมชนที่ได้รับการพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พื้นที่ 1
KPI 2 : จำนวนกิจกรรมการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 โปรแกรม 1
KPI 3 : จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 สื่อ 2
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 50 คน 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0247 0.0253 ล้านบาท 0.05
KPI 11 : จำนวนยุวมัคคุเทศก์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คุณภาพผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนตำบลแม่ทราย อ.ร้องกวาง และตำบลห้วยหม้าย อ.สอง จ.แพร่
ชื่อกิจกรรม :
1. อบรมเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว และการผลิตสื่อเพื่อการท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษบรู๊ฟ ปากกา กระดาษA4 ฯลฯ เป็นเงิน 6,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 24700.00
ชื่อกิจกรรม :
2. อบรมเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ชุมชนแม่ทราย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อโนชา  สุภาวกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
3. ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา จำนวน 3 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12800.00
ชื่อกิจกรรม :
3. อบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยผู้นำชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 20 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,400.00 บาท 0.00 บาท 3,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น หัวเชื้อเห็ดป่าไมคลอไรซ่า เป็นต้น เป็นเงิน 4,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,600.00 บาท 0.00 บาท 4,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์โรคอุบัติใหม่โควิด-19
ความต้องการชุมชนที่ต่างกัน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดกิจกรรมกลุ่มย่อย
การคัดเลือกวัตถุดิบที่จะมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยชุมชน มีส่วนร่วม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา ทท 372 การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตร รายวิชา ปม541 การประยุกต์หลักภูมิสังคมกับการจัดการป่าไม้ การปฏิบัติในด้านการวิจัยและพัฒนา เทคนิคและกระบวนการในการวางแผนที่สอดคล้องกับภูมิสังคมในการจัดการป่าไม้ การประยุกต์ความรู้ทางภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และ“ศาสตร์พระราชา” เพื่อให้เข้าใจหลักของการพัฒนาการจัดการป่าไม้ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการถอดบทเรียนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามโมเดล BCG
ช่วงเวลา : 01/11/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล