21029 : โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีเครื่องสีและอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดชุมชุนเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้แก่ชุมชนบ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/12/2566 9:02:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  จำนวน 30 คน ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปาเกอญอบ้านป่าตึงงาม เจ้าหน้าที่ หน่วยงานพัฒนาในพื้นที่ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สราวุธ  พลวงษ์ศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุลักษณา  มงคล
รองศาสตราจารย์ ดร. ชวโรจน์  ใจสิน
รองศาสตราจารย์ ดร. อัครินทร์  อินทนิเวศน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รจพรรณ  นิรัญศิลป์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  มณีชูเกตุ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฑาภรณ์  ชนะถาวร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตข 67-2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันภาคเกษตรยังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดรายได้แล้ว ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังมีอาชีพทำการเกษตร และผลการพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา พบว่ารายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยรวมดีขึ้น แม้แต่ในช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจ และสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ผ่านมา ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ดังนั้นเกษตรกรจึงยังคงมีความต้องการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ชุมชนบ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 100 กิโลเมตร พื้นที่ตั้งที่ระดับความสูง 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นชุมชนแหล่งต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำป๋าม ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง ปัจจุบันมีชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) มีจำนวน 122 หลังคาเรือน ประชากรรวม 583 คน ด้วยวิถีชนเผ่าปกาเกอะญอ จะมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทำอาชีพการเกษตร เลี้ยงสัตว์ งานหัตถกรรม และสิ่งทอ มีการดำรงชีพบนวิถีชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกพืชเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ปลูกข้าวเพื่อบริโภค แบ่งไว้ทำพันธุ์ และเก็บไว้ใช้ในธนาคารข้าว เป็นการออมเพื่อนำมาใช้เป็นกองทุน ในยามขาดแคลน หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติ เหลือกินจะขายเป็นรายได้ และมีการเชื่อมโยงห่วงโซ่อาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหาร อีกทั้งชุมชนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ตามแนวพระราชดำริ จนทำให้ชุมชนได้รับการยกย่อง และได้รับรางวัลในระดับชาติให้เป็นชุมชนต้นแบบด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และมีชุมชนอื่น ๆ มาศึกษาดูงานอย่างมากมาย ที่ผ่านมาชุมชนบ้านป่าตึงงาม ได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อนำมาวางแผนบริหารจัดการน้ำของชุมชนที่เหมาะสมตามสภาพภูมิสังคม และเป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญกับ คน ในชุมชนได้อาศัยอยู่ร่วมกับ ป่า ได้อย่างยั่งยืน และนำมาเป็นกรอบคิดในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งทำให้ชุมชนมีน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งผลิตและสะสมอาหารปลอดภัย และพืชสมุนไพร ไว้บริโภคตลอดทั้งปี ซึ่งแนวพระราชดำริที่ชุมชนนำไปประยุกต์ใช้ มีดังนี้ 1) ฝายชะลอความชุ่มชื้น ฝายดักตะกอน และฝายกักเก็บน้ำ สร้างฝายระบบกรองธรรมชาติ 3 ชั้น โดยสร้างฝายชั้นที่ 1 ฝายชั้นกรองหยาบในรูปแบบฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำหน้าที่ช่วยกรองเศษใบไม้ กิ่งไม้ ดินตะกอนต่างๆ ทำให้เกิดการทับถมของอินทรียวัตถุหน้าฝาย สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่รอบฝาย กักเก็บความชุ่มชื้นสู่ชั้นดิน ชะลอการไหลของน้ำในฤดูน้ำหลาก ฝายชั้นที่ 2 ฝายชั้นกรองละเอียดในรูปแบบฝายประยุกต์ ทำหน้าที่กรองตะกอนหินขนาดเล็ก ทรายละเอียด ตะกอนดินละเอียด และฝายชั้นที่ 3 ฝายกักเก็บน้ำในรูปแบบฝายกึ่งถาวร (ฝายหินก่อ) ในพื้นที่ปลายน้ำ บริเวณลำห้วยที่สามารถต่อเข้าใช้ในชุมชน ทำหน้าที่เป็นโอ่งเก็บน้ำใบใหญ่จำนวนมาก เพิ่มปริมาณน้ำสำรองให้กับชุมชน 2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 โดยที่ขั้นที่ 1 เน้นการผลิตโดยการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเองด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกิน และขั้นที่ 2 การรวมพลังกันเป็นกลุ่ม ร่วมแรงร่วมใจกันในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในราคาต่อหน่วยที่สูงขึ้น 3) ประยุกต์ใช้นวัตกรรมจัดการน้ำ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน ได้น้อมนำกรอบคิด และหลักทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ในเรื่องพึ่งพาตนเอง ประหยัด และเหมาะสมกับพื้นที่ คือ ทำให้ง่ายและได้ประโยชน์สูงสุด ทำได้เอง หาได้เองในท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีที่พอเหมาะ และเหมาะสมกับพื้นที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ o ปลูกต้นไคร้น้ำในบริเวณตามแนวตลิ่งของแม่น้ำป๋าม ซึ่งจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของตลิ่ง o ระบบเกษตรน้ำหยด เทคโนโลยีปลูกพืชใช้น้ำน้อย มาใช้ในแปลงเกษตร o ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ราคาถูก ติดตั้งง่าย ใช้ได้จริง และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 4) โครงการธนาคารอาหารชุมชน พัฒนาให้เป็นธนาคารอาหารชุมชน ซึ่งจะเป็นแหล่งผลิตและสะสมอาหารที่มีกระบวนการผลิตเป็นอาหารปลอดภัย ชุมชนมีพืชเศรษฐกิจหลัก คือ ข้าว ซึ่งมีทั้งข้าวนา และข้าวไร่ ที่ปลูกแบบปล่อยตามธรรมชาติเน้นความเป็นเกษตรปลอดภัย เนื่องจากบ้านป่าตึงงามเป็นชุมชนต้นน้ำ การรักษาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะส่งผลถึงผู้ใช้น้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปถึงปลายน้ำ ในแต่ละปีบ้านป่าตึงงามสามารถผลิตข้าวเปลือกรวมกันได้ประมาณ 200 ตันต่อปี โดยจะเก็บไว้บริโภค และเก็บไว้ในธนาคารข้าวของชุมชน ซึ่งจะเหลือจากการบริโภคและธนาคารข้าว ประมาณ 100 ตันต่อปี เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสารหรือข้าวกล้อง จะเหลือประมาณ 20-30 ตัน ในปัจจุบัน “ข้าว” ที่เก็บในยุ้งฉางและธนาคารข้าวของชุมชน โดยที่โครงการธนาคารข้าว มีหลักการคือชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะเอาข้าวมาฝากไว้ในธนาคารข้าวซึ่งมีอยู่ 4 ยุ้งฉาง ผ่านคณะกรรมการกองทุนธนาคารข้าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือขายข้าวให้กับเพื่อนบ้าน หรือพ่อค้า และสมาชิกสามารถยืมข้าวที่สะสมไว้นำไปจำหน่ายได้เอง โดยต้องนำข้าวมาคืนแก่ธนาคารข้าวพร้อมดอกผล และสมาชิกสามารถเบิกข้าวไปบริโภคได้โดยไม่มีคิดดอกผล เมื่อสมาชิกประสบปัญหาภัยพิบัติในแปลงนาข้าว อีกทั้งเมื่อยามเกิดภัยพิบัติในบ้านเมือง ชุมชนจะนำข้าวที่อยู่ในธนาคารไปช่วยเหลือชุมชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้จะเป็นข้าวที่ทำเกษตรแบบธรรมชาติ ไม่ได้พึ่งพาสารเคมีใดๆ และข้าวมีรสชาติอร่อย แต่ยังขายข้าวเปลือกได้ในราคาถูก กิโลกรัมละ 10 บาท เพราะมีข้าวเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก และต้องรอเพื่อนบ้านชุมชนอื่นหรือพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่ชุมชน เมื่อเก็บข้าวไว้นาน ข้าวยิ่งเก่า ราคายิ่งถูกลง ดังนั้นในปี 2562 ชุมชนจึงมีแนวคิดเพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในยุ้งฉางและธนาคารข้าวของชุมชน โดยการแปรรูปข้าวเป็นข้าวสารหรือข้าวกล้อง นำไปแพ็คสุญญากาศ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และสร้างตราสินค้า เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาชุมชน และในปี 2564 ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปาเกอญอบ้านป่าตึงงาม เพื่อเป็นตัวกลางที่จะจัดจำหน่ายออกสู่ตลาดต่อไป โดยที่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่จะเพิ่มมูลค่า โดยในเบื้องต้นมีข้าว 3 สายพันธุ์ คือ - สายพันธุ์บือปอโละ เป็นข้าวพันธุ์นิยมที่มีเมล็ดโต หุงขึ้นหม้อ อร่อย มีความต้องการสูง - สายพันธุ์บือบอ เป็นข้าวพันธุ์ที่มีความนิ่ม และหนึบ - สายพันธุ์บือเนอมู เป็นข้าวพันธุ์ที่มีความหอม เมล็ดเต็ม เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้นำข้าวสายพันธุ์บือบอ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ที่มีความนิ่ม และหนึบ มาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น คือจากเดิมชุมชนขายข้าวเปลือกได้ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท หลังจากที่เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แล้ว ราคาขายผลิตภัณฑ์ข้าวป่าตึงงาม แพ็คสุญญากาศ น้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อถุง สามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 80 บาท ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้ อย่างไรก็ตามกลุ่มวิสาหกิจพบปัญหาเรื่องการแปรรูปข้าว เนื่องจากชุมชนได้ซื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็กมาเพื่อมาใช้สีข้าวในชุมชน แต่พบว่าการสีข้าวสารแบบขัดสีแล้วข้าวหักเป็นจำนวนมาก อีกทั้งข้าวที่นำมาสียังมีความชื้นสูงทำให้ข้าวสารที่สีได้ไม่มีคุณภาพ จำนวนที่สามารถแพ็คขายได้น้อยลง อีกทั้งยังมีต้นทุนเรื่องค่าไฟฟ้าที่สูงประมาณ 20-30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน มีอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการวิจัยและทำงานร่วมกับชุมชนในเรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในงานด้านเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง และมีประสบการณ์และองค์ความรู้ด้านโรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมห้องอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ จึงได้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชนและลงสำรวจปัญหาในพื้นที่ จากการลงสำรวจพื้นที่และสอบถามข้อมูลพบว่า เครื่องสีข้าวที่ใช้งานอยู่มีชุดหัวขัดที่ยังไม่เหมาะกับข้าวที่มีขนาดเมล็ดโต และสีข้าวได้ปริมาณน้อย อีกทั้งยังใช้ไฟฟ้าจากสายส่งทำให้ต้นทุนในการผลิตข้าวค่อนข้างสูง หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวและลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้าในการสีข้าวจะสามารถทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นในปีงบประมาณ 2567 วิทยาลัยพลังงานทดแทนจึงมีแนวคิดที่จะจัดทำ “โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีเครื่องสีและอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดชุมชุนเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้แก่ชุมชนบ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” โดยกลุ่มเป้าหมายจะได้เรียนรู้แนวพระราชดำริ ในเรื่อง เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 คือเน้นการผลิตโดยการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเองด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกิน และเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 คือการรวมพลังกันเป็นกลุ่ม ร่วมแรงร่วมใจกันในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยใช้เครื่องสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องอบข้าวเพื่อไล่ความชื้นพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน รวมไปถึงองค์ความรู้ในการสร้างผู้ประกอบการ และสร้างตราสินค้า จัดหาช่องทางการจัดจำหน่าย และวางแผนการตลาด อย่างครบวงจร จากประสบการณ์ของคณะทำงานของวิทยาลัยพลังงานทดแทน ทำให้มั่นใจว่า จะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีแก่เกษตรกรให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตและการดำเนินงาน เกิดผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณ และคุณภาพต่อชุมชน ทั้งทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ รวมทั้งนำเป็นตัวอย่างความสำเร็จขยายผลให้ชุมชนอื่นได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
6.1 เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเครื่องสีและอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดชุมชุนเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้แก่ชุมชน และองค์ความรู้การสร้างผู้ประกอบการแก่ชุมชนบ้านป่าตึงงาม
6.2 เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เน้นการรวมพลังกันเป็นกลุ่ม ร่วมแรงร่วมใจกันในการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรของชุมชน โดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องสีและอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดชุมชุนเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้แก่ชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เผยแพร่เทคโนโลยีเครื่องสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ เกิดการใช้งานสามารถเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายสินค้าของชุมชนได้มากขึ้น มีกำไรเพิ่มขึ้น ในชุมชนเกษตรกรรม
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : หลักสูตรฝึกอบรมเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 ร่วมกับเทคโนโลยีเครื่องสีและอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ และการสร้างผู้ประกอบการ และการวางแผนการตลาด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หลักสูตร 1
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เผยแพร่เทคโนโลยีเครื่องสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ เกิดการใช้งานสามารถเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายสินค้าของชุมชนได้มากขึ้น มีกำไรเพิ่มขึ้น ในชุมชนเกษตรกรรม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 สำรวจข้อมูลพื้นที่ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่ดำเนินการ ความต้องการเทคโนโลยี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  พลวงษ์ศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณา  มงคล (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวโรจน์  ใจสิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์  อินทนิเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย  มณีชูเกตุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ  นิรัญศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์  ชนะถาวร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่ายานพาหนะ พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คันๆละ 1วันๆ 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 2 การถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเครื่องสีและอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดชุมชน การสร้างผู้ประกอบการตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 และการใช้งานเทคโนโลยีที่รับการถ่ายทอด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  พลวงษ์ศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณา  มงคล (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวโรจน์  ใจสิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์  อินทนิเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย  มณีชูเกตุ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ  นิรัญศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์  ชนะถาวร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 35 คนๆละ 1 มื้อๆละ 150 บาท จำนวน 1 ครั้ง) สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,250.00 บาท 0.00 บาท 5,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 35 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท บาท จำนวน 1 ครั้ง) สำหรับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,450.00 บาท 0.00 บาท 2,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 (60 หน้า) จำนวน 30 เล่มๆ ละ 70 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1.5*2 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่ายานพาหนะ พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คันๆละ 1วันๆ 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม กระจก ลวดเชื่อม และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ แฟ้มงาน แฟ้มเอกสาร ค่าถ่ายเอกสาร และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ บอร์ดควบคุม เซ็นเซอร์ หลอดไฟ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,900.00 บาท 0.00 บาท 8,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 47500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
mjumju1 บก67-02-อบรม-RiceMillSolar 67_12-12-66
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล