20983 : โครงการฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/12/2566 23:40:26
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  560  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา ศิษย์เก่า นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เด็กด้อยโอกาส เด็กกำพร้า ในโรงเรียน/ชุมชน เขตอำเภอเมือง, อำเภอสันทราย, อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์
นาง อารีรักษ์  วิชัยศรี
น.ส. เบญจรัตน์  ศุภอุดมฤกษ์
นาง เยาวภา  เขื่อนคำ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคมชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67 AP 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67 AP 2.3.1.2 ส่งเสริมและผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยคาดว่าจะกลายเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มมากที่สุดในโลก (United Nation, 2019) ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 (มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด๗ และคาดการณ์ว่าจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete-aged Society) ภายในปี 2566 เนื่องจากมีประชากรสูงวัยประมาณ ร้อยละ 20.1 อีกทั้งกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-aged Society) ภายในปี 2577 เมื่อมีสัดส่วนของประชากรสูงวัย สูงถึงร้อยละ 28.1 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งโครงสร้างสังคมสูงวัย ทำให้จำนวนวัยแรงงานลดลง รวมถึงทำให้อัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐจำเป็นต้องพิจารณาการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้เต็มศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่ยังมีสุขภาพดี เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรี นอกจากนี้ ประชาชนคนไทยยังประสบกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรง (IPCC, 2018) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดย OECD ได้คาดการณ์ว่า หากไม่มีการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะทำให้ภายใน พ.ศ. 2603 ความเสียหายอันเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมูลค่าถึงร้อยละ 1.0-3.3 ของ GDP โลก และมูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.0-10.0 ภายใน พ.ศ. 2643 โดยภาคการเกษตรจะได้รับความเสียหายมากกว่าภาคการผลิตอื่นๆ เนื่องจากภาคการเกษตรต้องพึ่งพาสภาพอากาศและฤดูกาลตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลง ยิ่งกว่านั้นพื้นที่การเกษตรบางส่วนที่ประสบกับภัยแล้งยาวนาน หรือน้ำท่วมซ้ำซากจะไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย จากข้อมูลที่กล่าวมา จะเห็นว่าปัจจัยภายนอกเหล่านี้ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะคนในวัยแรงงานที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูสมาชิกในบ้าน ซึ่งประชากรในจังหวัดเขียงใหม่ก็เช่นเดียวกัน จากการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2566 พบว่ามีประเด็นปัญหา/ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ที่สำคัญ คือ 1. ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้น้อย อีกทั้งยังมีคนว่างงาน 2. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ชาวบ้านในพื้นที่อยากมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว โดยอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดโครงการฝึกอบรมอาชีพเสริมให้กับให้กับคนในชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชม จากรานงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำปี 2566 เปิดเผยว่ามีเด็กไทยอยู่ใต้เส้นความยากจนถึง 2.8 ล้านคน ความยากจนเป็นอุปสรรคที่ทำให้เด็กบางคนมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและการดำรงชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคตของประเทศไทย รัฐจึงควรมุ่งเป้าและให้ความสำคัญกับเด็กที่ไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเปราะบาง เด็กที่ขัดสน เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ อีกทั้งการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ก็จะให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่สูงมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ สำหรับปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ออกจากกับดักรายได้ปานกลางภายในปี 2579 รัฐจำเป็นต้องลงทุนในทุนมนุษย์ เพื่อบรรลุการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อคนให้ถึง 40 % ทุนมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่ฐานภาษีที่กว้างและลึกขึ้น ทำให้ประเทศสามารถมีภาษีนำไปลงทุนโครงสร้างและหมุนเวียนได้มากจชขึ้ร นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกินความจำเป็นส่งผลให้แมลงผสมเกสรในสภาพธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โดยในบางพื้นที่เกษตรกรสำรวจไม่พบแมลงผสมเกสรเลย ส่งผลกระทบให้การผสมเกสรของพืชต่างๆ มีประสิทธิภาพไม่ดี ทำให้ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ในการปลูกพืชในสภาพโรงเรือน ซึ่งเป็นระบบปิด มีความต้องการสื่อผสมเกสรเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดการติดผลผลิตที่ดี ซึ่งแต่เดิมใช้แรงงานคนในการผสมเกสร แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างของประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการคลาดแคลนแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสรรหาสื่อผสมเกสรที่มีคุณภาพมาทำหน้าที่แทน ซึ่งได้แก่แมลงผสมเกสร โดยเฉพาะแมลงในกลุ่มของผึ้งที่ไม่มีเหล็กไน หรือชันโรง ที่จะนำมาใช้เป็นสื่อผสมเกสร จากงานวิจัยทั่วโลก แสดงให้เห็นศักยภาพของชันโรงในด้านการเป็นสื่อผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพสูงมากชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันการประเทศไทยมีจำนวนรังชันโรงทั่วประเทศที่เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆเพาะเลี้ยงๆไว้ มีเพียงประมาณ 15,000 รัง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความต้องการจะนำชันโรงไปใช้ประโยชน์ในด้านการผสมเกสรให้แก่พืชต่างๆ ดังนั้นชันโรงจึงเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงในเชิงการค้าเพื่อเสริมสร้างรายได้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไม่มีความยุ่งยาก และไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายรังไปหาแหล่งอาหารแหล่งอื่นๆ ขนาดของรังไม่ใหญ่ น้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า อาชีพการเพาะเลี้ยงชันโรง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างรายได้ ซึ่งฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรและชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นแนวทางที่ประชาชนในชุมชนทุกเพศทุกวัยสามารถเรียนรู้และดำเนินการได้ด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนในพื้นที่ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน ตามแนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศ ไปสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน (Hi-Value and Sustainable Thailand)” โดยใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการยกระดับศักยภาพและพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยมีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักนำทางในการขับเคลื่อนและวางแผนพัฒนาประเทศ ประเด็นการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงในการพลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน ได้แก่ เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Hi Value –Added Economy) โดยมีหมุดหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คือ หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง โดยมีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการปรับเปลี่ยนประเภทการผลิตจากการผลิตที่มีคุณภาพเพิ่มต่ำ ไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด โดยส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาการผลิต และการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ด้วยการสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็น รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกร (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และสังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและทรัพยากรมนุษย์ของไทย ดังนั้นฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง จึงได้นำข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้ว มาจัดทำแผนบริการวิชาการ ประจำปี งบประมาณ 2567 โดยจะจัดอบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรงและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากผลผลิตที่ได้จากชันโรง ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แจ้งความต้องการเข้ามา จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาสในมูลนิธิบ้านร่มไม้ชายคา เชียงใหม่ (Children’s Shelter Foundation Chiangmai) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, Warm Heart Foundation อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่, และ เกษตรกร ผู้ที่สนใจทั่วไป อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับสังคม (Maejo Engagement) ให้เข้มแข็ง และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning University) ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน Organic University, เกษตรอินทรีย์ ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนเป้าหมาย สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ และ เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับชันโรงให้กับชุมชนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
2. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนในอำเภอเมือง อำเภอสันทราย และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่สามารถเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงเป็นอาชีพได้
3. เพื่อส่งเสริมการนำชันโรงไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
4. มีการบูรณาการฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงกับการเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : - คุณภาพผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงชันโรง - ชุมชนสามารถนำความรู้/เทคโนโลยีจากงานบริการวิชาการไปพัฒนาโครงการเพื่อหาแหล่งทุน/ต่อยอด - พัฒนาการเรียน บูรณาการกับงานบริการวิชาการ
KPI 1 : โรงเรียน/ชุมชนเป้าหมายที่กำหนด มีความรู้และสามารถเพาะเลี้ยงชันโรง/การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชันโรงเพื่อสร้างอาชีพได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 กลุ่ม 2
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 30 คน 60
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.0285 0.0215 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300 200 คน 500
KPI 6 : การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 รายวิชา 2
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 10 : จำนวนผลผลิต/ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 ผลิตภัณฑ์ 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : - คุณภาพผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงชันโรง - ชุมชนสามารถนำความรู้/เทคโนโลยีจากงานบริการวิชาการไปพัฒนาโครงการเพื่อหาแหล่งทุน/ต่อยอด - พัฒนาการเรียน บูรณาการกับงานบริการวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมระยะสั้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2567 - 31/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบญจรัตน์  ศุภอุดมฤกษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางเยาวภา  เขื่อนคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คนๆละ 100 บาท 1 มื้อ 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม) จำนวน 30 คนๆละ 35 บาท 2 มื้อ 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 4,200.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (20 หน้า/เล่ม) จำนวน 60 เล่มๆละ 30 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ขนาด A4 (สีและขาวดำ) จำนวน 3 เล่มๆละ 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 450.00 บาท 450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร ได้แก่ รังพ่อแม่พันธุ์ชันโรง และรังแยกขยาย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,200.00 บาท 0.00 บาท 10,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ บรรจุภัณฑ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,750.00 บาท 2,750.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
ชื่อกิจกรรม :
การบริการวิชาการเผยแพร่ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางอารีรักษ์  วิชัยศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
การบริการชันโรงเป็นสื่อผสมเกสรให้แก่เกษตรกร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
การบูรณาการการให้บริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกอบรมเป็นแบบออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ฐานเรียนรู้ชันโรง 2567
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
แมลงผสมเกสร
ช่วงเวลา : 01/01/2567 - 31/03/2567
ตัวชี้วัด
7.2 การพัฒนามหาวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยเรียนรู้
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล