20978 : โครงการฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Universal Design: UD) (67-2.6.3)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/3/2567 8:40:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศิษย์เก่า ผู้นำชุมชน หน่วยงานภายนอก และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์
แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป
โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)
2567 60,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒิกานต์  ปุระพรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แต่จะมีประชากรวัยแรงงานเพียง 35.18 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวน 42.74 ล้านคน หรือลดลง 7.6 ล้านคน โครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการลดลงของจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าต่างๆ นอกจากนี้ การเพิ่มของจำนวนประชากรสูงอายุยังสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของภาระทางด้านการคลังจากจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความมั่นคงทางด้านรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มาจากพื้นฐานครอบครัวที่ยากจน นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาทักษะทั้งในการทำงาน และการดำรงชีวิตในสังคมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จากปัจจุบัน 2566 สถานการณ์ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจำนวนและสัดส่วน ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมโดยรวม การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป รวมถึงการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญ “การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับทุกคน” เป็นการเตรียมการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง โดยปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งเสริมให้ผู้ใช้มีอายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกคน (Universal Design Center) เครือข่ายภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสถาบันการศึกษาหลัก 3 สถาบัน ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (2) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ (3) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ได้จัดตั้ง “ฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทุกคน” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นต้นแบบด้านนวัตกรรม การออกแบบห้องน้ำและห้องนอน ที่รองรับพฤติกรรมผู้สูงวัย ผู้พิการและคนทุกคน อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษา ดูงาน ให้กับนักศึกษา เทศบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่น และผู้ที่สนใจ โดยกำหนดให้พื้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU UDC) เป็นศูนย์กลางในการจัดตั้งฐานเรียนรู้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นต้นแบบด้านนวัตกรรม การออกแบบห้องน้ำและห้องนอน ที่รองรับพฤติกรรมผู้สูงวัย ผู้พิการและคนทุกคน
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านการศึกษา ดูงาน ให้กับนักศึกษา เทศบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่น และผู้ที่สนใจ
เพื่อยกระดับการเป็น “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (ห้องน้ำ ห้องนอน และทางลาดคนพิการ)
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (ห้องน้ำ ห้องนอน และทางลาดคนพิการ)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐาน 1
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (ห้องน้ำ ห้องนอน และทางลาดคนพิการ)
ชื่อกิจกรรม :
ก่อสร้างห้องจำลองสภาพแวดล้อมห้องน้ำ/ห้องนอน สำหรับกลุ่มเปราะบาง เพื่อเป็นฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน Universal Design: UD

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/03/2567 - 30/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์  ปุระพรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาก่อสร้าง/ปรับปรุงฐานเรียนรู้การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล