20923 : โครงการการจัดการของเสียและกลิ่นจากการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อสร้างอาชีพในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการการมีส่วนร่วมของชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนบ้านห้วยแก้ว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/11/2567 11:00:47
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร / วิสาหกิจชุมชน /เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิราภรณ์  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ดร. ณิชมน  ธรรมรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 4.1.7 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัย บริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเลี้ยงปศุสัตว์นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้และเป็นอาชีพที่มีความสำคัญของเกษตรกรไทย โดยรูปแบบการเลี้ยงปศุสัตว์ของไทย ในปัจจุบันได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน กล่าวคือจากระบบการเลี้ยงแบบพื้นบ้านปรับเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงแบบการค้า หรือ อุตสาหกรรมมากขึ้น อันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางวิชาการ และด้านเทคโนโลยีส่งผลให้ปศุสัตว์มีอัตราการรอดมากขึ้น หากพิจารณาโครงสร้าง การผลิตปศุสัตว์ในปัจจุบัน พบว่า การเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทยมีรูปแบบการเลี้ยงอยู่ 3 ประเภท ได้แก้ผู้เลี้ยงปศุสัตว์รายอิสระ ผู้ประกอบการปศุสัตว์แบบครบวงจร และผู้เลี้ยงปศุสัตว์พันธะสัญญากับผู้ประกอบการครบวงจรทั้งแบบรับจ้างเลี้ยง และแบบประกันราคา โดยสัดส่วนการผลิตกว่า 52.4% ยังคงเป็นการเลี้ยงปศุสัตว์ในรูปแบบของผู้เลี้ยงรายอิสระขณะที่การเลี้ยงปศุสัตว์ของผู้ประกอบการแบบครบวงจรมีสัดส่วนการผลิต 47.6% ของการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้แม้ว่าสัดส่วนการผลิตในกลุ่มของผู้ประกอบการแบบครบวงจรจะอยู่ ในระดับต่ำกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงอิสระ แต่ก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นออย่างต่อเนื่อง ผลจากการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีการลงทุนสูงอีกทั้งธุรกิจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านระดับราคาที่ผันผวนและปัญหาโรคระบาด ทำให้ผู้เลี้ยงปศุสัตว์อิสระบางรายต้องประสบกับภาวะขาดทุนและเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก หรือในบางรายต้องปรับการเลี้ยงมาอยู่ในรูปแบบพันธะสัญญากับผู้ประกอบการครบวงจรแทน (สำนักวิจัยธุรกิจ, 2557) การเลี้ยงปศุสัตว์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ฟาร์มจะต้องจัดให้มีระบบกำจัดหรือบำบัดของเสียที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียงหรือสิ่งแวดล้อมล้อม ประกอบด้วย 1) ขยะมูลฝอย ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 2) ซากปศุสัตว์ ฟาร์มต้องมีการจัดการกับซากปศุสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะอนามัย 3) มูลปศุสัตว์ นำไปทำปุ๋ยหรือหมักเป็นปุ๋ยโดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือก่อความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง 4) น้ำเสีย ฟาร์มจะต้องมีระบบเก็บกักหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมทั้งนี้ น้ำทิ้งจะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด (กรมปศุสัตว์, 2558) ปัจจุบันกิจกรรมเลี้ยงปศุสัตว์ในชุมชนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือทั้ง จ.เชียงใหม่ จ.เชียงรายและ จ.ลำปาง ส่วนใหญ่ทำฟาร์มปศุสัตว์ที่เป็นกิจการภาคเอกชนเป็นการจ้างเลี้ยงแต่โครงสร้างโรงเลี้ยงเป็นผุ้เลี้ยงลงทุนเอง ซึ่งจะต้องลงทุนสูงโดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือแหล่งทุน โดยเป็นการทำฟาร์มปศุสัตว์ร่วมหุ้นกับเอกชน ที่มุ่งสู่ภาคการผลิตเนื้อปศุสัตว์เพื่อป้อนตลาดอุตสาหกรรมอาหารและการส่งออก ที่มีความแน่นอนเรื่องการตลาด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมลภาวะจากการเลี้ยงปศุสัตว์แบบอุตสาหกรรมและแบบพื้นบ้านที่พบโดยทั่วไป คือ มีกลิ่นเหม็นรำคาญ เป็นที่สะสมเชื้อโรค หนอน แมลงวัน ยุง และเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งมีผลกระทบต่อ คน สัตว์ และทำลายสิ่งแวดล้อมในฟาร์มรวมทั้งบริเวณใกล้เคียง ปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงปศุสัตว์จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในเขตที่มีการเลี้ยงปศุสัตว์อย่างหนาแน่น โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดมลพิษที่สำคัญได้แก่ มูล ปัสสาวะ และน้ำล้างคอก (กรมปศุสัตว์, 2548) เกิดความขัดแย้งในระดับชุมชน เกษตรกรบางส่วนที่ประสบปัญหาจึงได้หาแนวทางในการแก้ไข้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพอย่างยังยื่น โดยอาศัยหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ พระเจ้าอยู่หัวในรัชการลที่ 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ในการประกอบอาชีพด้วยใช้หลักการอย่างพอเพียงเพื่อให้ดำรงอยู่ในวิถีเกษตรกรรมการพึ่งตนเองและกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน โดยทำการปศุสัตว์แบบไม่มุ่งหวังผลกำไรมากนักและให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2558) หากมีการน้อมนำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในชุมชมเพื่อให้รวมเป็นองค์กรระดับชุมชนโดยการพึ่งพาอาศัยกัน “บวร” (บ้าน-วัด-โรงเรียน) กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก (มูลนิธิชัยพัฒนา, มปป.) สอดคล้องกับการพัฒนาการเกษตรและเกษตรยั่งยืนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) และมุ่งเน้นให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเผยแพร่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยให้ความสำคัญกับระบบเกษตรกรรมและปศุสัตว์เพิ่มขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ที่เลี้ยงในชุมชน จึงมีการกำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของฟาร์มปศุสัตว์ โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ต้องไม่เพิ่มต้นทุนและนำของเสียเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด (Zero waste) ในการจัดการของเสียจากฟาร์มในระดับชุมชนนั้น ยังประสบปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูงในการทั้งบำบัดและต้นทุนการเลี้ยง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการจัดการของเสีย และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการเลี้ยงได้อย่างยั่งยืนอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการใช้จุลินทรีย์กลุ่มย่อยแก๊สแอมโมเนีย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาของกลิ่นที่เหม็นรำคาญได้ภายใน 3 วัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียจากปศุสัตว์ให้สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตแก๊สมีเทนจากการมหมักได้ประสิทธิภาพขึ้นอย่างน้อย 30% ซึ่งได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาที่มีองค์ความรู้ในการนำมาถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน (สวทช.ภาคเหนือ, 2558) รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนเกิดการพัฒนาอาชีพได้อย่างอิสระ “ยั่งยืน” กิจกรรมระดมสมองกลุ่มเป้าหมาย คณะผู้ดำเนินงานได้มีการลงพื้นที่ในการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการของกลุ่มเกษตรกรในการทำฟาร์มสุกร จากการดำเนินงานกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นจากฟาร์มสุกรด้วยการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่น ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน พบว่า สภาพการทำฟาร์มสุกรส่วนใหญ่ยังมีกลิ่นเหม็นและน้ำทิ้งที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการของเสียจากฟาร์มสุกรและการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มเป็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนบ่อยครั้ง เนื่องจากเกษตรกรขาดองค์ความรู้ในการจัดการกลิ่นเหม็นอย่างถูกวิธี และทิศทางการยกระดับสู่กระบวนการเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐานการเลี้ยงสุกร คณะผู้ดำเนินงานจึงได้จัดเวทีประชาคมขึ้นเพื่อให้เกษตรกร ผู้นำชุมชน และท้องถิ่นใกล้เคียง นำเสนอข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรได้ข้อสรุปคือ 1) เกษตรกรต้องการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีการจัดการของเสียของฟาร์มสุกร เช่น การยกระดับการเลี้ยงสุกรที่ปลอดภัยด้วยการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้ 2) เกษตรกรต้องการองค์ความรู้ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองและยั่งยืน 3) เกษตรกรต้องยกระดับระบบการนำของเสียมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดนั่นคือนำกลับมาทำเป็นพลังงานทดแทน หลังจากการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการของกลุ่มเกษตรกรในการทำการเกษตร คณะผู้ดำเนินงานได้มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชนท้องถิ่นที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นของกลุ่มเกษตรปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นในการบำบัดของเสียจากฟาร์มสุกรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่น สวทช. หน่วยงานราชการราชการในพื้นที่ให้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกร (ศูนย์เครือข่าย) เพื่อให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นที่มีความสนใจเข้ารับการอบรมการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกรที่ปลอดภัยและยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้ดำเนินงานเล็งเห็นความจำเป็นในการที่จะจัดทำโครงการวิจัยในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำองค์ความรู้ต่อยอด พัฒนาหลักการของการจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยรูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาระบบเกษตรปลอดภัยด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างฐานความรู้ พื้นที่สาธิตในชุมชน การใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างระบบเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 3 หมู่บ้านเป็นฟาร์มนำร่องและเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆของจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีความสอดคล้องกับ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2560-2564) ภายใต้ยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อการปฏิรูประบบการวิจัยของประเทศ เพื่อการบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะด้วยยุทธวิธีที่เข้าถึงประชาชนและประชาสังคมอย่างแพร่หลาย อันจะก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และฉบับที่ 12 ที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยฯ สู่ภาคเกษตรกรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ ในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ และกำจัดกลิ่นเหม็นรำคาญจากฟาร์ม
2. เพื่อสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและกำจัดกลิ่นในระดับหมู่บ้านต้นแบบ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. เพื่อเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐ และชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ลดปัญหาเรื่องของเสียและกลิ่นจากการฟาร์มปศุสัตว์อย่างยั่งยืน
KPI 1 : - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : - จำนวนแหล่งเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 3 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : - ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ลดปัญหาเรื่องของเสียและกลิ่นจากการฟาร์มปศุสัตว์อย่างยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 การติดต่อประสานงาน
1.1 สำรวจพื้นที่และจัดเตรียมข้อมูล
1.2 การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/01/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การฝึกอบรม
2.1 จัดเตรียมอุปกรณ์
2.2 การฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี“การใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับฟาร์มปศูสัตว์”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2567 - 31/03/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (50 หน้า/เล่ม) จำนวน 30 เล่มๆ ละ 70 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด A1 (594X841 มิลลิเมตร) พร้อมขาตั้ง จำนวน 3 ผืนๆ ละ 1,350 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,050.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,050.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 4 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คนๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถัง 100 ลิตร ปั้มเติมอากาศ ถังน้ำ สายยาง แกลลอนบรรจุหัวเชื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมี อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เครื่องแก้ว อุปกรณ์สิ้นเปลืองในห้องปฎิบัติการ ฯลฯ
เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32650.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 ติดตามการดำเนินงาน
3.1 ติดตามผลของการดำเนินงานของเกษตรกรในการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
3.2 สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรูปเล่ม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 2,850 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,850.00 บาท 0.00 บาท 2,850.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ ค่าอาหารเลี้ยงเชื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร ค่าแกลลอนบรรจุหัวเชื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17350.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจจะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้การลงพื้นที่มีอุปสรรค์ หรือปัญหา ทำให้การทำงานล่าช้าไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
อาจจะต้องมีการอบรมและติดตามผลในรูปแบบ online ในบางส่วน และต้องได้ผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนโครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล