20920 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโน และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ฝ่ายสนับสนุน นักวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาโท นักศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ปฏิบัติงานภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ และเกษตรกรที่มีโอกาสในการประยุกต์ใช้งานเทคนิคการวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโนเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. วิรันธชา  เครือฟู
อาจารย์ ดร. กีรติญา  จันทร์ผง
อาจารย์ ดร. กิตติคุณ  พระกระจ่าง
อาจารย์ ดร. พัชรี  กองภาค
อาจารย์ ดร. สุรีย์พร  สราภิรมย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 4.1.7 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัย บริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตร โดยเน้นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น University of Life ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน Organic University ด้าน Green University และด้าน Eco. University การเตรียมความพร้อมในด้านกำลังคนและเทคโนโลยีให้สอดรับกับโครงสร้างการพัฒนาของมหาวิทยาลัยนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการวางแผนในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยทางหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์นั้นได้เล็งเห็นความสำคัญด้านการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านการเกษตรอัฉริยะ การนำเอาเทคโนโลยีนาโนมาใช้พัฒนาวัสดุ ปรับปรุงคุณภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมี รวมทั้งการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยเพื่อการเกษตรแม่นยำ ดังนั้นจึงจะต้องมีการเริ่มต้นและวางแผนการพัฒนาในระยะเวลา 20 ปี ไปพร้อม ๆ กับนโยบายของประเทศและมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังได้น้อมนำเอาโครงการพระราชดำริเข้ามาเป็นแนวทางและแบบแผนในการริเริ่มที่จะนำความรู้เข้าไปเพื่อพัฒนาชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย โดยโครงการในพระราชดำริที่ทางหลักสูตรฯ นั้นได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานได้แก่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโป่ง อำเภอสันทราย พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2535 และ โครงการทดสอบและขยายพันธุ์พืชเมืองหนาวแม่สาใหม่ บ้านดอยแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 โดยเริ่มจากระยะแรกเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีที่จะเป็นเทคโนโลยีอนาคต เพื่อให้ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ เกิดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการนำเทคโนโลยีนาโนในการประยุกต์ใช้ ซึ่งประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงเป็นกุญแจสำคัญประการหนึ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการทดสอบและวิเคราะห์องค์ประกอบและสมบัติต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ อาทิ การวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของสสาร การวิเคราะห์สมบัติทางไฟฟ้า การนำความร้อน และสมบัติทางแสง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูงทางนาโนเทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นยิ่งเพื่อเข้าถึงโครงสร้างและสมบัติเชิงลึกที่ต้องการของวัสดุ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้และเข้าถึงเครื่องมือวิเคราะห์ดังกล่าวนี้เป็นได้ค่อนข้างยากและถูกจำกัดเพียงเฉพาะกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยในภาครัฐและเอกชนเท่านั้นเนื่องด้วยราคาเครื่องมือที่สูง จึงทำให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่สนใจไม่สามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมยุคใหม่นั้น ยังต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์สมบัติของวัสดุได้อย่างถูกต้องและแม่นยำอันนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านนาโนเทคโนโลยี เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโนเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราทราบถึงรายละเอียดโครงสร้างและสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์สมบัติต่าง ๆ ของวัสดุระดับนาโนที่ใช้กันทั่วไปทั้งในแวดวงวิชาการ สถานประกอบการ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตร ล้วนแต่ต้องมีแผนกวิจัยและพัฒนาเพื่อดำเนินการวิเคราะห์สมบัติของสารตัวอย่างทั้งสิ้นเพื่อให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการโดยมีวิศวกรและช่างเทคนิคคอยควบคุม ดูแล และใช้เครื่องมือวิเคราะห์ เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าเครื่องมือวิเคราะห์ที่มีราคาแพง จึงทำให้หลายอุตสาหกรรมมีจำนวนเครื่องมือวิเคราะห์ที่จำกัด ทำให้การวิเคราะห์สมบัติบางประการไม่สามารถดำเนินการได้ การสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่างอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มากไปกว่านั้น การเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้และเข้าถึงเครื่องมือวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องนั้น ยังเป็นการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้เครื่องมือและวิเคราะห์อีกด้วย นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโนต้องเน้นการฝึกปฏิบัติทั้งในส่วนของการปฏิบัติการโดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงความชำนาญในเทคนิคพื้นฐานและการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาอย่างถูกต้อง เพื่อสามารถนำไปใช้ในการทำปัญหาพิเศษในระดับปริญญาตรีหรือการทำวิจัยในระดับสูง รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ในประกอบอาชีพ ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือห้องปฏิบัติการทั้งของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโน จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว อีกทั้งบุคลากรมีองค์ความรู้ความสามารถในด้านเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโนที่พร้อมจะให้ความรู้ความเข้าใจ และมีความพร้อมของเครื่องมือวิเคราะห์ ในการสาธิตวิธีการทดสอบ การวิเคราะห์ผล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุน หรือปรับปรุงคุณภาพสินค้า ทางคณะผู้จัดอบรมจึงได้กำหนดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น จำนวน 1 ครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องของเทคโนโลยีเครื่องมือวิเคราะห์ทางนาโน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ และควบคุมการปฏิบัติงานด้านการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานในหน่วยงานต้นสังกัดต่อไปได้ ทั้งนี้โครงการได้นำองค์ความรู้ เรื่อง เทคนิคเครื่องมือวิเคราะห์ และวิชาทางด้านการประยุกต์ใช้งานวัสดุนาโนเพื่อการเกษตร และสิ่งแวดล้อม มาบริการวิชาการ รวมทั้งได้นำผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาบริการวิชาการ ดังนี้ 1) P. Leangtanom, N. Chanlek, V. Yordsri, A. Wisitsoraat, A. Tuantranont, K. Jaruwongrangsee, S. Phanichphant and V. Kruefu, Enhanced NO2-Sensing Properties of Cu-Loaded SnO2 Nanoparticles Synthesized via Precipitation and Impregnation Methods, Physica Status Solidi (a), 2022, 2100797. 2) V. Kruefu, P. Leangtanom, N. Chanlek, A. Wisitsoraat and S. Phanichphant, Highly Sensitive and Selective Detection of Hydrogen Sulfide Gas Using CuO/SnO2 Films, submitted in Nanoscale. Res. Lett., 2021. 3) P. Leangtanom, A. Wisitsoraat, K. Jaruwongrangsee, N. Chanlek, S. Phanichphant and V. Kruefu, Highly sensitive and selective ethylene gas sensors based on CeOx-SnO2 nanocomposites prepared by a Co-precipitation method, Materials Chemistry and Physics., 2020, 254, 1–11. 4) T. Thurakitseree, C. Kramberger, N. Chanlek, H. Nakajima, Possibility of doping nitrogen into single-walled carbon nanotubes by γ-irradiated N2 molecules, Radiation Physics and Chemistry, Vol. 186, 109524.

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเครื่องมือวิเคราะห์ทางนาโนสำหรับบุคคลทั่วไป อาจารย์ นักศึกษา โดยมุ่งเน้นกลุ่มเกษตรกร บริษัท รัฐวิสาหกิจชุมชน ผู้นำกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า นักศึกษาและอาจารย์ต่างสาขาวิชา ที่ต้องการพัฒนาตนเอง เป็นต้น เพื่อให้เปิดมุมมองและนำไปถ่ายทอดต่อไป
2. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ ได้เรียนรู้งานด้านเทคโนโลยีนาโน การปฏิบัติงานทางเครื่องมือวิเคราะห์ และการฝึกหัดการวิเคราะห์ ทดสอบ
3. เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ของประเทศให้มีทัศนคติและมุมมองที่ดีในงานด้านเทคโนโลยีเครื่องมือวิเคราะห์ทางนาโน และเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
4. เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางนาโน และผู้สนใจ ให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์อันนำไปสู่การพัฒนางานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง (up-skill และ re-skill)
5. เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การปรับปรุงสมบัติของวัสดุให้สามารถประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวิภาพได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรมมีความรู้ทางด้านการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีในระดับไมโครและนาโน
KPI 1 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : - จำนวนหน่วยงานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ภาครัฐหรือเอกชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หน่วยงาน 1
KPI 3 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : - ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 8 : - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรมมีความรู้ทางด้านการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีในระดับไมโครและนาโน
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรม เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโน และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 1,750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คนๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 5 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 1.5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 5 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,250.00 บาท 2,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา โฟมแผ่น กระดาษแข็ง กระดาษสี ฯลฯ เป็นเงิน 3,550 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,550.00 บาท 3,550.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าถ่ายเอกสาร ขนาด A4 ขาว-ดำ เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์ แผ่นซีดี ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องแก้วต่างๆ (บีคเกอร์ แท่งคนสาร กระจกสไลด์ ฯลฯ) ถุงมือ ทิชชู่ไม่มีขลุย เอทานอล เมทานอล อนุภาคนาโน ฟิล์มบางนาโน ฯลฯ เป็นเงิน 29,650 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 29,650.00 บาท 29,650.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงดำ แก้วน้ำ กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ เป็นเงิน 1,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,300.00 บาท 1,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโน รศ.วิรันธชา pdf
ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ รศ.ดร.วิรันธชา เครือฟู
ย 002 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโน รศ.ดร.วิรันธชา เครือฟู
บก.67-02 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคโนโลยีนาโน รศ.ดร.วิรันธชา word
ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงประมาณการค่าใช่จ่าย โครงการบริการวิชาการฯ 2567 (โครงการอบรมนาโน )
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ได้แก่ การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน (โดยขอให้ระบุรายวิชา ตาม มคอ. และระบุจำนวนคน) นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ และระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโน ได้ฝึกฝนตนเอง และมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานบริการวิชาการนี้ ประกอบด้วยรายวิชาต่าง ๆ ดังนี้ นท 523 วิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโนทางเคมี, นท 526 วิธีทางเคมีสำหรับการสังเคราะห์วัสดุนาโน, นท 532 เทคโนโลยีการเตรียมอนุภาคและฟิล์มบางระดับนาโน, นท 536 นาโนเซ็นเซอร์ , นท 5
ช่วงเวลา : 01/05/2567 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล