20919 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีและการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ฝ่ายสนับสนุน นักวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาโท นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสี ผู้ประกอบการ และเกษตรกรที่มีโอกาสในการประยุกต์ใช้งานเทคนิครังสีเพื่อการเกษตร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กีรติญา  จันทร์ผง
อาจารย์ ดร. พัชรี  กองภาค
อาจารย์ ดร. สุรีย์พร  สราภิรมย์
อาจารย์ ดร. กิตติคุณ  พระกระจ่าง
รองศาสตราจารย์ ดร. วิรันธชา  เครือฟู
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 4.1.7 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัย บริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตร โดยเน้นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น University of Life ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน Organic University ด้าน Green University และด้าน Eco. University การเตรียมความพร้อมในด้านกำลังคนและเทคโนโลยีให้สอดรับกับโครงสร้างการพัฒนาของมหาวิทยาลัยนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการวางแผนในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยทางหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์นั้นได้เล็งเห็นความสำคัญด้านการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านการเกษตรปลอดภัย ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค การนำเอาเทคโนโลยีทางด้านฟิสิกส์มาใช้พัฒนาการเกษตรที่ลดการใช้สารเคมี จึงจะต้องมีการเริ่มต้นและวางแผนการพัฒนาในระยะเวลา 20 ปี ไปพร้อม ๆ กับนโยบายของประเทศและมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังได้น้อมนำเอาโครงการพระราชดำริเข้ามาเป็นแนวทางและแบบแผนในการริเริ่มที่จะนำความรู้เข้าไปเพื่อพัฒนาชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย โดยโครงการในพระราชดำริที่ทางหลักสูตรฯ นั้นได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานได้แก่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโป่ง อำเภอสันทราย พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2535 และ โครงการทดสอบและขยายพันธุ์พืชเมืองหนาวแม่สาใหม่ บ้านดอยแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 โดยเริ่มจากระยะแรกเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีที่จะเป็นเทคโนโลยีอนาคต เพื่อให้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคเกิดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการเกษตรปลอดภัยอย่างไร รวมถึงความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน ทั้งผลต่อเกษตรกรและผลต่อผลิตภัณฑ์ พร้อมกันนี้การพัฒนางานวิจัยทางด้านการนำเอาเทคโนโลยีทางฟิสิกส์ที่มีการประยุกต์ด้านกายภาพก็เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในระยะกลาง และแผนการพัฒนาในระยะยาวนั้นควรจะเป็นการขยายกำลังการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการไปสู่การพัฒนาในระดับอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่ม ชุมชน รัฐวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น เพื่อผลักดันให้เกษตรกร สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อนำไปแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงได้ ซึ่งมุ่งเน้นในกลุ่มสินค้าระดับที่มีความปลอดภัยสูง ราคาดี ก่อน เมื่อเทคโนโลยีเกิดความแพร่หลายและนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมแล้ว จะทำให้สินค้าทางการเกษตรทุกอย่างสู่ความเป็นเกษตรปลอดภัยทั้งหมดในที่สุด ทั้งนี้การนำเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์งานทางด้านการเกษตรนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเทคนิคทางด้านกายภาพ เพื่อลดบทบาททางด้านการใช้สารเคมี เทคนิคทางด้านรังสีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งาน เช่น รังสีแกรมมา รังสีเอ็กซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประยุกต์ใช้งานในการปรับปรุงพันธุ์พืช การฆ่าเชื้อ การถนอมอาหาร เป็นต้น เทคนิคทางด้านรังสีนั้น นอกจากจะมีแหล่งกำเนิดมาจากสารรังสีอย่างที่เรารู้จักกัน เทคนิคไอออนบีม อิเล็กตรอนบีม และพลาสมานั้นยังเกี่ยวรวมอยู่ในกลุ่มทางด้านเทคนิครังสีนี้อีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการประยุกต์ใช้งานนั้นมีความหลากหลายยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้นมีเครื่องฉายรังสีที่เป็นเพียงหนึ่งเดียวในเขตภาคเหนือนั้น การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับทั้งบุคคลภายนอก นักศึกษา และบุคคลากรในมหาวิทยาลัยให้ได้รับความรู้และร่วมใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนั้นเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีบทบาทที่สําคัญในกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และ การศึกษาวิจัยในการนําเอาเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาบรูรณาการในงานนั้น ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการนําสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น การสร้างองค์ความรู้ และความเข้าใจจึงมีบทบาทสูงมากในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี อีกทั้งยังสามารถขยายขอบเขตของการนําไปประยุกต์ใช้ในงานของตนเอง แต่เนื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงต้องสร้างมาตรการการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานบางส่วนมีความหวาดกลัวอันตราย และบางส่วนเกิดความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน อันอาจจะส่งผลให้ได้รับอันตรายจากรังสีในที่สุด สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว อีกทั้งบุคลากรมีองค์ความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีที่พร้อมจะให้ความรู้ความเข้าใจ และมีเครื่องกำเนิดรังสี ที่พร้อมให้การสาธิตวิธีการและวิธีป้องกันตนเองได้ ทางคณะผู้จัดอบรมจึงได้กำหนดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น จำนวน 1 ครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องของเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี อีกทั้งยังสามารถป้องกันอันตรายขณะที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ และควบคุมการปฏิบัติงานด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานในหน่วยงานต้นสังกัดให้เป็นไปด้วยความปลอดภัย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านนิวเคลียร์และรังสีสำหรับบุคคลทั่วไป อาจารย์ นักศึกษา โดยมุ่งเน้นกลุ่มเกษตรกร บริษัท รัฐวิสาหกิจชุมชน ผู้นำกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า เป็นต้น เพื่อให้เปิดมุมมองและนำไปถ่ายทอดต่อไป
2. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป ได้เรียนรู้งานด้านรังสี การปฏิบัติงานทางรังสี และการฝึกหัดการตรวจวัดรังสี
3. เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ของประเทศให้มีทัศนคติและมุมมองที่ดีในงานด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ และเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
4. เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสีจากต้นกำเนิด เครื่องกำเนิดรังสีและผู้สนใจการใช้ ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในทางสันติ
5. เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าภาคอุตสาหกรรมอาหารให้มีอำนาจการแข่งขันเพิ่มขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรม มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร
KPI 1 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : -จำนวนเครือข่ายที่มีความร่วมมือทั้งภาคเอกชนหรือภาครัฐ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการรับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ที่มีความรู้ทางด้านการใช้รังสี การประยุกต์ใช้รังสีในด้านการเกษตร และการป้องกันอันตรายจากรังสี เพิ่มขึ้นจากเดิม (30 คน โดยวัดจากจำนวนคนและความรู้ที่เพิ่มขึ้น)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 8 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรม มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรม เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี และการประยุกต์ใช้งานทางการเกษตร”
- ความรู้เบื้องต้นของแหล่งกำเนิดรังสี
- การเลือกใช้หัววัดทางรังสี
- เทคนิคการป้องกันอันตรายจากรังสี
- ปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้รังสีสำหรับการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กีรติญา  จันทร์ผง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พัชรี  กองภาค (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุรีย์พร  สราภิรมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.กิตติคุณ  พระกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา  เครือฟู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 2 มื้อๆ ละ 35 บาท 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท 2,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน 1 มื้อๆ ละ 100 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 (120 หน้า) จำนวน 30 เล่มๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 5 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 1.5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 5 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,250.00 บาท 2,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน ๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา โฟมแผ่น กระดาษแข็ง กระดาษสี ฯลฯ เป็นเงิน 7,150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,150.00 บาท 7,150.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์ ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงดำ แก้วน้ำ กระดาษเช็ดมือ ถุงมือยาง ฯลฯ เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องแก้ว ถุงมือวิทยาศาสตร์ ถุงมือกันร้อนกันเย็น เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
มีการนำนักศึกษา วิชา ฟส 336 แหล่งกำเนิดไอออนและเครื่องเร่งอนุภาค ฟส 340 ชีวฟิสิกส์ 1, 10309260 เทคโนโลยีรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสี และ10309261 ปฏิบัติการเทคโนโลยีรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสี, 10309342 รังสีเกษตร และ ฟส 343 ไบโอพลาสมาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล